"กมธ.คมนาคม" วุฒิสภา เชื่อ "ธงทอง" เคลียร์ปัญหา บีทีเอสได้

"กมธ.คมนาคม" วุฒิสภา เชื่อ "ธงทอง" เคลียร์ปัญหา บีทีเอสได้

กมธ.คมนาคม วุฒิสภา เชื่อ "ธงทอง" ช่วยเคลียร์ปัญหาบีทีเอสได้ พร้อมจ่อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ให้ "รัฐบาล" หารือ "กทม." เร่งแก้ปัญหา ชี้ทั้งต่อ-ไม่ต่อสัมปทานมีข้อดีและข้อเสีย ต้องดูให้รอบคอบ

            นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.กรรมาธิการ (กมธ.) การคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมวุฒิสภา วันที่ 21 มิถุนายน กมธ.จะเสนอรายงานพิจารณาศึกษา แนวทางการบริหารและจัดการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งตนเป็นประธานคณะทำงาน ทั้งนี้ยอมรับว่าในรายงานดังกล่าวไม่มีข้อสรุปที่ชี้ชัดให้แก้ปัญหาดังกล่าวในทิศทางใด แต่มีข้อเสนอใน 2 แนวทาง คือ กรณีขยายสัญญาสัมปทาน และ กรณีไม่ขายสัญญาสัมปทาน พร้อมเสนอข้อดีและข้อเสีย

 

 

            “การเสนอรายงานของกมธ. ต่อที่ประชุมวุฒิสภา เพื่อรับฟังความเห็นของส.ว.ท่านอื่นเพื่อให้รายงานามีความรอบคอบ จากนั้นจะขออนุมัติที่ประชุมก่อนเสนอต่อรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ดีผมมองว่าเนื้อหาของรายงานจะเป็นประโยชน์หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกทม. และ นายธงทอง จันทรางศุ ประธานบริษัทกรุงเทพธนาคมฯ คนใหม่ รับไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ” นายสุรเดช กล่าว

            เมื่อถามถึงกรณีที่มีการปรับบอร์ดบริษัทกรุงเทพธนาคมฯ ล่าสุด นายสุรเดช กล่าวว่า ตนเชื่อว่านายธงทอง และบอร์ดเคทีจะช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเดินรถบีทีเอสได้ ตามแนวทางและนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ 

 

 

            ผู้สื่อข่าวรายงานว่วาสำหรับแนวทางการบริหารและจัดการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่คณะทำงาน ในกมธ.การคมนาคมเสนอ มีสาระสำคัญ คือ 

 

            กรณีขยายสัญญาสัมทาน ระบุผลการพิจารณา ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการเดินทางจากการเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนขบวน , โครงการฯ มีเอกภาพในการบริหารและจัดการเดินรถ,จัดเก็บค่าโดยสารใช้โครงสร้างเดียวกันตลอดสาย, กทม. สามารถแก้ปัญหาภาระหนี้สินได้, ลดงบประมาณแผ่นดินเพื่ออุดหนุนค่าโดยสาของโครงกร, กทม. ได้รับส่วนแบ่งรายได้เพื่อชำระหนี้และได้ค่าตอบแทนเพิ่มเติมกรณีผลตอบแทนผู้ถือหุ้นของเอกชน ปีใดที่เกินกว่า 9.6%

            กรณีไม่ขยายสัญญาสัมปทาน  ระบุว่าการขอขยายสัญญา ไปอีก 30 ปี ต้องพิจารณาหนี้ที่บริษัทระบบขนส่งมมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี จะรับไปเมื่อเทียมกับอัตรารายได้จากการทำโครงการ, ระยะเวลาขอสัญญาสัมปทานมีเวลาอีกหลายปี เพียงพอที่คณะกรรมการจะพิจารณาให้รอบคอบทุกมิติ, การขยายสัญญาให้เอกชนเพียงรายเดียวแบบเจาะจง ขณะที่โครงการมีมูลค่าสูง อาจไม่เป็นไปตามหลักการของกฎหมายร่วมทุน,  หากมีการลงนามในสัญญาร่วมทุนและอนาคตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีผลพิจารณาว่ากทม. ทำสัญญาจ้างบริษัททีบีเอสซี ไม่สามารถทำได้ อาจทำให้เกิดมีปัญหาตามมา

 

            ทั้งนี้ในรายงาน ยังระบุถึงข้อเสนอต่อการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อเกิดประโยยชน์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน รวมถึงประหยัดค่าโดยสาร ว่า 1.รัฐบาลต้องหาาข้อยุติโดยยเร็วว ว่าจะต่อสัญญาสัมปทานให้กับบริษัทบีทีเอสซีหรือไม่ โดยต้องตอบโจทย์ประชาชนแนะข้อกฎหมาย ราคาค่าโดยสารและภาระหนี้สิน

 

            2.กรณีที่จะรอให้อายุสัมปทานหมดในปี  2572  แล้วดำเนินการประมูลตามกฎหมายร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ต้องพิจารณาการจัดเก็บค่าโดยสารจากการเดินรถ ซึ่งเดินบริษัทบีทีเอสซี ฐานะผู้ให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายที่2 ทั้งส่วนเหนือและส่วนใต้ ทั้งนี้หากต่อสัญญาสัมปทาน ประชาชนจะเสียค่าโดยยสาร 65 บาทตลอดสาย

 

            3.เร่งดำเนินระบบตั๋วร่วมกับบริษัทบีทีเอสซี เพื่อแก้ไขอุปสรรคในทางปฏิบัติ

 

            4.กทม.เร่งจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว

 

            5.กรณีไม่ขยายสัญญาสัมปทาน การจัดการหนี้สินของ กทม. ที่รับโอนจาก รฟม. ตั้งแต่ปี  2565- 2572 รัฐบาลควรสนับสนุนภาระหนี้ชั่วคราว จนกว่าจะหมดสัญญาสัปทาน ปี 2572 เพื่อรอให้ทรัพ์สินทั้งหมดของโครงการเป็นของกทม. จากนั้นกทม.ต้องวางแผนเพื่อชำระหนี้คืนแก่รัฐบาลต่อไป ขณะเดียวกันต้องเปิดให้ผู้ประกอบการเดินรถแข่งขัน โดยกทม.ควบคุมดำเนินการ 

 

            6.ภาระหนี้สินของบีทีเอสซี กับกทม. ที่เกิดจากการจ้างเดินรถและจัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณและระบบเดินรถต่างๆ ที่มีประเด็นหนี้ รัฐบาลและกทม. ต้องทบทวนและตรวจสอบเพื่อหหาข้อยุติร่วมกับรัฐบาลว่าจะชำระหนี้อย่างไร.