เปิดรายงาน "กมธ.งบฯ66" อัดงบเพิ่มให้ "กรมข้าว" 2,277ลบ.

เปิดรายงาน "กมธ.งบฯ66" อัดงบเพิ่มให้ "กรมข้าว" 2,277ลบ.

สภาฯเตรียมพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบฯ66 วาระสอง-สาม 17 - 19 สิงหา เปิดรายงานพบเพิ่ม "กรมข้าว" สูงสุด 2,277 ล้านบาท ตั้งข้อสังเกต มีภาระใช้หนี้ โครงการรัฐด้านเกษตร-เงินกู้ช่วยโควิดสูงสุด ขอให้หาทางเพิ่มงบ-ใช้งบลับให้มีประสิทธิภาพ

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ ได้นัดประชุมสภาฯ วัที่  17 - 19 สิงหาคม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566 วงเงิน  3.185 ล้านล้านบาท วาระสองและวาระสาม ซึ่งกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เป็นประธาน ได้พิจารณาแล้วเสร็จ

 

           ทั้งนี้ในรายงานของกมธ.ฯ มีสาระสำคัญ คือ งบประมาณที่ตั้งไว้ 3.185 ล้านล้านบาท  มีรายการปรับลดและรายการเพิ่ม ในรายการที่เท่ากัน คือ  7,644 ล้านบาท โดยเป็นน่าสังเกตว่าในการพิจารณาร่างพ.ร.ป.งบฯ66 นี้ ไม่มีรายการปรับลดที่นำไปแปรเพิ่มให้ในส่วนของงบกลาง ทำให้ปี2566 มียอดงบกลางที่จัดสรรรวม 5.9แสนล้านบาท

 

            สำหรับรายการของกระทรวงที่ถูกปรับ และเพิ่มขึ้น  ที่น่าสนใจ อาทิ  กระทรวงกลาโหม  ถูกปรับลดสูงสุด ถึง 2,778 ล้านบาท

 

            กระทรวงในกลุ่มของพรรคร่วมรัฐบาล ถูกปรับลดเช่นกัน เช่น กลุ่มของพรรคภูมิใจไทยเป็นเจ้ากระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข ปรับลด 42 ล้านบาท, กระทรวงคมนาคม ปรับลด 89 ล้านบาท, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปรับลด 32 ล้านบาท

 

            กลุ่มพรรคชาติไทยพัฒนา กรระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับลด 182 ล้านบาท

 

           กลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นเจ้ากระทรวง คือ กระทรวงพาณิชย์ ปรับลด 44 ล้านบาท, กระทรววงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรับลด 9 ล้านบาท

เปิดรายงาน \"กมธ.งบฯ66\" อัดงบเพิ่มให้ \"กรมข้าว\" 2,277ลบ.

เปิดรายงาน \"กมธ.งบฯ66\" อัดงบเพิ่มให้ \"กรมข้าว\" 2,277ลบ.

           ทั้งนี้มีความน่าสนใจในการปรับลดและแปรเพิ่มของบบประมาณ

            กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่พบว่า มติกมธ.ฯ ปรับลด จำนวน 205 ล้านบาท แต่กลับถูกการแปรงบเพิ่มเติมคืนให้สูงสุด ถึง  2,277 ล้านบาท โดยจัดสรรให้กับ กรมการข้าว เพียงหน่วยงานเดียว ซึ่งระบุในโครงการที่ได้งบเพิ่ม เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว  และปรับปรุงระบบผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์คัด-พันธุ์หลัก ซึ่งเป็นการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์

 

           กระทรวงมหาดไทย ถูกลดงบประมาณ 336 ล้านบาท  แต่พบว่าได้รับงบกลับคืน  กระทรวงมหาดไทย 24 ล้านบาท ให้กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นเงินอุดหนุนให้ อปท.

 

           ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ ถูกปรับลดงบประมาณ ลง 737 ล้านบาท แต่ในรายการปรับเพิ่มพบว่าได้รับงบคืนถึง  2,219 ล้านบาท ให้กับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักปลัด ในยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางการศึกษา

เปิดรายงาน \"กมธ.งบฯ66\" อัดงบเพิ่มให้ \"กรมข้าว\" 2,277ลบ.

 

           กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถูกปรับลดงบประมาณ 168 ล้านบาท แต่ได้รับงบคืน   18 ล้านบาทให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุทธศาสตร์ความเสมอภาคทางการศึกษา   

 

           กระทรวงวัฒนธรรม ถูกปรับลดงบประมาณ 14 ล้านบาท แต่ได้รับงบคืน จำนวน  1.8 ล้านบาท ให้กับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เพื่อใช้โครงการสนับสนุนการสึกษาระดับอนุบาล

 

 

           นอกจากนั้นในรายการเพิ่มงบยังจัดสรรให้  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน  4.1ล้านบาท  เป็นค่าอุดหนุนการศึกษาในโรงเรียน ตชด.,  สำนักงานพระพุทธศาสนา จำนวน  5.7ล้านบาท เงินอุดหนุนโรงเรียนพระปริยัติธรรม,  ศาลยุติธรรม  จำนวน  192 ล้านบาท, สำนักงาน ป.ป.ช. 154 ล้านบาท, อัยการสูงสุด 230 ล้านบาท , อปท. 1,926 ล้านบาท

 

           และจัดสรรให้กับ แผนงาน แก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 8.2 ล้านบาท , กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท และ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง  81 ล้านบาทในส่วนแผนงานบุคลากรภาครัฐ 

           ขณะที่ข้อสังเกตของกมธ. มีสาระสำคัญ คือ  การจัดทำงบประมาณไม่สอดคล้องกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน เนื่องจากมีภาระชดเชยหนี้ภาครัฐจำนวนมาก  และเพิ่มงบให้รัฐวิสาหกิจสูงถึง 1.62แสนล้านบาท  เพื่อใช้หนี้ กว่า 1.18 แสนล้านบาท เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้รับงบเพิ่ม 1.5หมื่นล้านบาท แต่ส่วนใหญ่ใช่เพื่อชดเชยหนี้จากโครงการประกันรายได้เกษตรกร โครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร หรือ ธนาคารออมสิน ได้รับงบเพิ่ม 4,296ล้านบาท  เพื่อชดเชยต้นทุนและภาระดอกเบี้ยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของ เอสเอ็มอี และชดเชยหนี้เสีย จากโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉินช่วงโควิด-19 ระบาด  

 

           ทั้งนี้งบประมาณรายจ่ายส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายตามกฎหมายหรืองบผูกพัน หากต้องการงบเพิ่มมเพื่อแก้ปัญหาแต่ละปีจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มและปรับโครงสร้างงบประมาณ และควรปรับปรุงการใช้เงินนอกงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ โดยปี 2566 คาดว่ารัฐบาลมีเงินนอกงบประมาณสูงถึง  4.5ล้านล้านบาท และใช้เงินนอกงบประมาณเพื่อสมทบโครงการต่างๆ สูงถึง  1.05แสนล้านบาท ทั้งนี้กมธ.ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีโครงการใดที่ใช้เงินนอกงบประมาณซ้ำซ้อนกัน ดังนั้นหากมีการใช้เงินนอกงบประมาณจำนวนมาก ปีต่อไป กมธ.จะขอตั้งอนุกมธ.พิจารณาเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ เป็นการเฉพาะ

 

           และยังมีข้อสังเกตไปยังหน่วยงานต่างๆ โดยความน่าสนใจอยู่ที่กระทรวงกลาโหม อาทิ ควรหาแนวทางปกป้องอธิปไตยของไทยแนวใหม่ เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประเทศมีฐานะการเงินที่ดี และจะสนับสนุนให้หน่วยงานจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ได้ตามที่หน่วยงานต้องการ, ทบทวนระบบเกณฑ์ทหารแบบภาคบังคับ, ควรวางตัวเป็นกลางท่ามกลางสถานการณ์ขัดแย้ง 

 

 

           สำหรับการสงวนความเห็นและคำแปรญัตติ พบว่ามีกมธ.สงวนความเห็น 30 คน และ ส.ส.สงวนคำแปรญัตติ จำนวน175 คน.