“นิด้าโพล” เผย ปชช. หนุน “อุ๊งอิ๊ง” นั่ง นายกฯ อันดับ1 “พท.“ ฮอต เรทติ้งนำโด่ง
“นิด้าโพล” เผย ผลสำรวจ คะแนนนิยมทางการเมือง ไตรมาสสุดท้าย ปชช. หนุน “แพทองธาร” เป็นนายกฯ มาอันดับ 1 ร้อยละ 34 “ประยุทธ์” อันดับ 2 ร้อยละ 14.05 ตามมาด้วย “พิธา” ร้อยละ 13.25 ด้าน พท. ป๊อปปูล่าร์ มาที่1 ร้อยละ 42.95 ที่2 กก. ร้อยละ 16.60 ส่วน รทสช. ที่ 4 ร้อยละ 6.95 นำหน้า ปชป.-ภท.-พปชร.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/2565” จากการสำรวจเมื่อถามถึง
บุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า
- อันดับ1 ร้อยละ 34.00 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคสามารถทำได้จริง ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
- อันดับ 2 ร้อยละ 14.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
- อันดับ 3 ร้อยละ 13.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ มีวิสัยทัศน์และแนวคิดแบบคนรุ่นใหม่ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
- อันดับ 4 ร้อยละ 8.25 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- อันดับ 5 ร้อยละ 6.45 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
เพราะ ชื่นชอบนโยบายของพรรค มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ
- อันดับ 6 ร้อยละ 6.00 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน
- อันดับ 7 ร้อยละ 5.00 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
เพราะ ชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
- อันดับ 8 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)
เพราะ มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
- อันดับ 9 ร้อยละ 2.60 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)
เพราะ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย เป็นคนพูดจริงทำจริง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
- อันดับ 10 ร้อยละ 2.30 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
เพราะ ชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และมีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ
- อันดับ 11 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย)
เพราะ มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ
ร้อยละ 4.35 อื่นๆ ได้แก่
- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
- พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)
- นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)
- น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา)
- นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ)
- นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์)
- นายเศรษฐา ทวีสิน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี)
- นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า)
- นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์)
- นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ(พรรคประชาธิปัตย์)
- นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- นางปวีณา หงสกุลนายอานันท์ ปันยารชุน
- ดร.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์
- นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/65 เดือนกันยายน 2565 พบว่า
ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ นายสมคิด และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร พลเอกประยุทธ์ นายพิธานายอนุทิน นายกรณ์ นพ.ชลน่าน และนายจุรินทร์ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
พรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า
- อันดับ 1 ร้อยละ 42.95 ระบุว่าเป็นพรรคเพื่อไทย
- อันดับ 2 ร้อยละ 16.60 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
- อันดับ 3 ร้อยละ 8.30 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย
- อันดับ 4 ร้อยละ 6.95 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
- อันดับ 5 ร้อยละ 5.35 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
- อันดับ 6 ร้อยละ 5.25 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
- อันดับ 7 ร้อยละ 4.00 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ
- อันดับ 8 ร้อยละ 3.40 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
- อันดับ 9 ร้อยละ 3.25 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
- อันดับ 10 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
- ร้อยละ 2.60 ระบุอื่น ๆได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคประชาชาติพรรคไทยศรีวิไลย์ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/65 เดือนกันยายน 2565 พบว่า
ผู้ที่ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ พรรคพลังประชารัฐ และไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคภูมิใจไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคชาติพัฒนากล้ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้น