"พรรคฝ่ายค้าน"" ถูก "ส.ว." สกัด แก้รธน.
"ส.ว." คาใจปมเลื่อนวาระ แก้รธน.แทน ร่างกม.ปฏิรูปสื่อฯ เสนอญัตติโหวต เปิดช่องให้นับองค์ประชุม ทำประชุมรัฐสภาล่ม เป็นครั้งที่3ในรอบปี
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้ผ่านการพิจารณาร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยการยยอมรรับร่วมมรายสาขาของอาเซียน สำหรับการตรวจประเมินตามมาตรฐานวิธีการในการผลิตยาแล้ว
ก่อนที่จะเข้าสู่วาระพิจารณาต่อไป คือ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ....ที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้แก้ไข มาตรา 159 และ ยกเลิกมาตรา 272 ว่าด้วยการตัดอำนาจส.ว.ร่วมการลงมติเลือกนายกฯ นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ฐานะวิปวุฒิสภา หารือต่อที่ประชุมต่อกรณีที่มีการเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุมโดยที่ส.ว. ไม่ทราบ เพราะตามวาาระพิจารณา คือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... และต่อด้วยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม แต่กรณีการเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระดังกล่าวถือว่าไม่ชอบ และเสนอญัตติให้ที่ประชุมพิจารณากรณีการเปลี่ยแปลงระเบียบวาระการประชุมว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้นายชวน ชี้แจงและยืนยันต่อการเปลี่ยนแปลงวาระการประชุมวว่าเป็นไปตามอำนาจของประธานรัฐสภา และเปลี่ยนแปลงวาระดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาการประชุมล่ม ซึ่งเพื่อการนัดประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นทำได้เพราะเป็นการนัดประชุมครั้งพิเศษ ทั้งนี้การชี้แจงและการเปลี่ยนระเบียบวาระของนายชวนนั้น ได้รับการสนับสนุนจากส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน พร้อมแย้งว่าการเสนอญัตติของนายสมชายนั้นไม่ชอบด้วยข้อบังคับ
อย่างไรก็ดีนายชวน ยืนยันให้ลงมติในญัตติที่เสนอ โดยถามว่าจะเห็นด้วยกับการเสนอญัตติดังกล่าวหรือไม่ ทำให้นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประท้วงการทำงานของนายชวน และมองว่ารัฐสภาไม่ควรกระทำเรื่องดังกล่าว ซึ่่งได้รับการสนับสนุนจากส.ส.ฝ่ายค้าน แต่ยังได้ย้ำว่าหากการแสดงตนเป็นองค์ประชุม ไม่ครบขอให้ใช้วิธีขานคะแนน เพื่อให้ประชาชนททราบและรู้เห็นว่าการประชุมเดินต่อไม่ได้เพราะเหตุใด
โดยนายชวน ชี้แจงด้วยว่าสำหรับการหารือเลื่อนระเบียบวาระนั้น เป็นข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านให้การประชุมรัฐสภาวันที่ 25 มกราคม มีเพียง 2 เรื่อง ซึ่งตนไม่ขัดข้องและหลังจากหารือได้แจ้งไปยังนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา รับทราบแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายชวน รอที่ประชุมแสดงตนเป็นองค์ประชุม กว่า 37 นาที ก่อนจะแจ้งว่าองค์ประชุมไม่ครบ เพราะมีผู้แสดงตน 275 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุมที่ต้องใช้ 337 คน นายชวนจึงปิดประชุม
โดยก่อนปิดประชุมนายชวน ได้กล่าวขอบคุณ พร้อมระบุว่า ฐานะเป็นสมาชิกคนหนึ่ง ตนขอร้องหลาเรื่องเพื่อรักษาชื่อเสียงและภาพพจน์ของสถานบัน สภาฯนี้อยู่ได้ ด้วยตนส่วนใหญ่ หากคนส่วนใหญ่เกเร ไม่รับผิดชอบ ทำไม่ได้4 ปีต้องให้เกียรติกับสมาชิก ทั้งนี้สิ่งที่เราอยู่ได้เพราะความร่วมมือจากทุกฝ่าย อาจจะขัดแย้งกันบ้าง
“ผมปรารถนาดีต่อทุกคน ฐานะเป็นนักการเมืองรู้ดีว่ากว่าจะเป็นผู้แทนนั้นยากเย็น ผมทราบดีไม่มีใครนอนมา ยกเว้นพระนำหน้า ทุกคนมาด้วยความเหนื่อยยาก ผมเป็นมา 16 สมัยไม่เคยสบาย ต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะ ด้วยความยุติธรรมไม่ซื้อเสียง ไม่โกงเลือกตั้ง เหนื่อยในยุคสมัยที่มีการใช้เงิน ทุกคนที่เข้ามาทำงานเหลือเวลาอีก 4-5 สัปดาห์ก่อนที่สภาฯจะหมดสมัย 23 มีนาคม เราต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เวลามีค่ามาก หากเราใช้ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ถือโอกาสฝากความปรารถนาดีไปกับทุกคน ขอบคุณที่มาร่วมประชุม” นายชวน กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าระหว่างการรอองค์ประชุม นายอนุสิษฐ คุณากร ส.ว. หารือต่อประชุมว่า ยอมรับว่าประเด็นการประชุมที่พบว่าองค์ประชุมไม่สมบูรณ์ ทำหน้าที่ไม่บริสุทธิ์ ถึงเวลาของการสร้างระเบียบและกฎเกณฑ์ใหม่ของสภาเพื่อประโยชน์ของสภาในอนาคต ให้เกิทดความเชื่อมั่น เชื่อถือ ได้รับการยอมรับ สิ่งที่เกิดขึ้นประชาชนไม่ทราบคือ การประชุมแต่ละครั้งประเทศเสียงบประมาณ 10 ล้านบาท
ทั้งนี้มีรายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการแสดงตนดังกล่าวพบว่ามีเฉพาะ ส.ส.ฝั่งฝ่ายค้าน ขณะที่ฝั่งส.ว.นั้นพบว่าอยู่ในห้องประชุมอย่างบางตา ส่วนฝั่งรัฐบาลนั้นมีรายงานข่าวแจ้งว่า มีคำสั่งให้ไม่กดบัตรแสดงตน และพบว่าส.ส.รัฐบาลส่วนใหญ่เดินทางออกจากห้องประชุม ไปตั้งแต่เวลา 12.30 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการประชุมรัฐสภาที่ล่มดังกล่าว ถือเป็นครั้งที่ 8 ของรัฐสภาปัจจุบัน และนับเป็นครั้งที่3 ในปี 2566.