"ผบ.ตร." แจงสภาฯ ไร้ระเบียบกลาง-อุปกรณ์ไม่พร้อม ต้องออก พ.ร.ก.
"ผบ.ตร." แจงเหตุผลหลายอย่างพร้อมปัญหาการทำงาน เป็นเหตุผล ต้องตรา พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย ย้ำไม่เพิกเฉยการทำงานที่โปร่งใส ด้าน "ฝ่ายค้าน"ติดใจยื่นศาลรธน. หวังยื้อการโหวต
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการประชุมสภาฯ เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอต่อสภาฯ เพื่อให้ลงมติว่าาจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติการบังคับใช้พ.ร.ก.ดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาต่อการชะลอใช้ มาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2566 หลังจากเดิมที่จะมีผลบังคับใช้แล้ว และกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐที่รับผิดชอบต่อการควบคุมตัว รวมถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามมการทรมาณฯ กำหนดมาตรการและกลไกที่เหมาะและมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงานให้เสร็จ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2566
โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม ชี้แจงในนามครม. เพื่อยืนยันถึงความจำเป็นที่ต้องตราพ.ร.ก.เพื่อละชอการบังคับใช้ บางมาตรา และพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
ขณะที่การอภิปรายของส.ส. นั้น ทั้งฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่านค้านแสดงความไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าเป็นการละเมิดหลักการคุ้มครองประชาชน และการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวไม่เข้าข่ายเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดพร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่าการไม่เตรียมพร้อมของหน่วยงานเพื่อเตรียมตัวการทำงานให้เป้นไปตามที่กฎหมายกำหนดนั้นเป็นการละเลยของหน่วยงาน ดังนั้นการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาให้กับหน่วยงานรัฐ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กฎหมายที่อาจจะมีผลกระทบต่อการสร้างความยุติธรรมให้ประชาชนที่ถูกจับกุม ดำเนินคดีหรือไม่
ทั้งนี้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ โดยย้ำว่าการตราพ.ร.ก.ดังกล่าวมีความจำเป็นเพื่อให้หน่วยงานได้เตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติงานที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้พ.ร.บ.ทั้ง 3 มาตราดังกล่าวทำให้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและตำรวจ ต้องบันทึกภาพและเสียงตลอดการจับกกุมในทุกคดี จากเดิมที่ในการปฏิบัติจะมีการบันทึกภาพและเสียง ในคดีที่มีบทลงโทษสูงเท่านั้น
“แม้ขณะนี้ ครม. จะอนุมัติงบประมาณเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ในการทำงาน แต่ยังมีปัญหา ซึ่งทุกหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายพบปัญหาเช่นเดียวกัน ทั้งอุปกรณ์บันทึกภาพ การจัดเก็บข้อมูลและการเชื่่อมโยงข้อมูลในการจับกุม เพื่อขยายผล หากการจับกุมต้องเดินทางระยะไกล หรือโดยสารเครื่องบินพาณิชย์ และที่สำคัญยังระเบียบกลางที่จะให้ทุกหน่วงานปฏิบัติยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เพราะหน่วยงานมีมาตรฐานของหน่วยงานไม่เหมือนกัน ซึ่งหากทำไม่เร็จอาจกระทบต่อความศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมได้ อีกทั้งยังมีประเด็นการซักซ้อม การจับคุม การรับแจ้งที่หลายหน่วยงานมีปัญหาเช่นเดียวกัน และมีปัญหาในทาางปฏิบัติ” ผบ.ตร. ชี้แจง
ผบ.ตร. ชี้แจงด้วยว่า ตามที่ส.ส.อภิปรายด้วยว่า ทำไมไม่ใช้โทรศัพท์มือถือไปพรางก่อน เป็นเพราะว่าการจับกุมทันท่วงทีต้องใช้สองมือในการจับกุมควบคุม หากมีอาวุธ ผู้ต้องหาต่อสู้ต้องใส่กุญแจมือ ขอให้นึกถึงการปฏิบัติงานว่าา มือหนึ่งถือโทรศัพท์ เพื่อบันทึกภาพ อีกมือต้องจับกุม รวมถึงกรณีที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยโทรศัพท์มือถือหากมีสายเข้า หรือแจ้งเตือนของโปรแกรม อาจทำให้ทำให้การบันทึกเสียงเสียไป ขณะที่การเก็บข้อมูลที่ต้องเก็บไว้จนกว่าคดีจะสิ้นสุดหรือ หมดอายุความ อาจมีปัญหาและต้องใช้งบประมาณ
"สำหรับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ของประชาชน ยังได้รับความคุ้มครอง สตช. ไม่นิ่งนอนใจหรือเพิกเฉย ต่อการทำงานให้โปร่งใส” ผบ.ตร. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมสภาฯ ได้อภิปรายอย่งาต่อเนื่อง จนถึงเวลา 12.00 น. ส.ส.ฝ่ายค้านลุกสอบถามถึงความชัดเจนต่อกรณีที่ส.ส. ลงชื่อเพื่อยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความตามการตราพ.ร.ก.ดังกล่าว เพราะถือว่าจงใจต้องการให้ พ.ร.ก.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย และเพื่อให้รอการพิจารณาและลงมติพ.ร.ก.ดังกล่าวตามขั้นตอน
ทั้งนี้นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯ คนที่สอง ชี้แจงว่าขณะนี้ยังไม่มีการยื่นเรื่องต่อประธานสภาฯ หากมีการยื่นแล้วจะต้องพิจารณาในรายละเอียดต่อไป พร้อมขอให้ส.ส.อภิปรายเนื้อหาต่อไป.