"สมชัย" จ่อเอาผิด "ชวน" ทำผิดรธน.173 ปมสั่งหยุดอภิปรายพ.ร.ก.ก่อนส่งศาลรธน.
"สมชัย" เตรียมหารือ พรรคร่วมรัฐบาล ยื่น ป.ป.ช. เอาผิด "ชวน" ทำผิดรธน.มาตรา 173 ปมสั่งสภาฯ หยุดอภิปราย พ.ร.ก.ชะลอใช้กม.อุ้มหาย ก่อนส่งศาลรธน.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนและนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย แถลงว่าตนเตรียมเสนอเรื่องให้พรรคร่วมฝ่ายค้านพิจารณาเพื่อยื่นเอาผิด นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ไม่เกินสัปดาห์หน้า กรณีพบการกระทำที่ส่อขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 ว่าด้วยกรณีการส่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เนื่องจากมีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า นายชวนสั่งให้ที่ประชุมสภาฯ ยุติการพิจารณาวาระดังกล่าว ก่อนที่ส่งเรื่องตามที่ส.ส.ฝั่งรัฐบาล จำนวน 100 คนเสนอความเห็น ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนายชวน สั่งให้ที่ประชุมรอการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อเวลา 13.19 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แต่ตามการลงเวลาในหนังสือราชการที่ส่งมายังกลุ่มงานประธานสภาฯ ที่เป็นลำดับตามขั้นตอนก่อนที่นายชวน จะลงลายมือชื่อเพื่อรับทราบและเห็นชอบ พบว่าลงเวลา 13.35 น.
“นายชวนเป็นคนที่มาก่อนการ 16 นาที เพราะการส่งเรื่องตามขั้นตอนที่นายชวนต้องลงนามเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามหนังสือราชการ ต้องเกิดขึ้นก่อนที่จะสั่งให้สภาฯ ยุติการพิจารณา พ.ร.ก. ตามบทบัญญัติของมาตรา 173 วรรคหนึ่ง กำหนดขั้นตอนว่า เมื่อส.ส. เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานสภาฯ ว่า พ.ร.ก.ไม่เป็นไปตามมาตรา 172วรรคหนึ่ง และให้ประธานสภา ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และให้สภารอการพิจารณาพระราชกำหนดไว้ก่อน แต่กรณีที่นายชวนสั่งให้ยุติก่อนส่งศาล ซึ่งปรากกฎหลักฐานในวันที่ 1 มีนาคม ว่านายชวนส่งเรื่องไปศาลวันดังกล่าว ถือว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ” นายสมชัย กล่าว
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า การกระทำของนายชวน สมารถยื่นเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วินิจฉัยได้ ซึ่งจะมีบทลงโทษคือ การถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต และอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปีได้ ส่วนกรณีที่อาจเกิดการตีความเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ มาตรา 173 ในขั้นตอนปฏิบัติจะ ต่างกันหรือไม่ เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่ต้องดำเนินการ
“ผมไม่ทราบว่ากระทำของนายชวนจะทำโดยสุริจตใจหรือไม่ แต่จุดคิด คือต้องยึดหลักการ หรือ ลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นหน้าที่ที่ ป.ป.ช.ต้องวินิจฉัย ส่วนจะวินิจฉัยวันไหนเป็นเรื่องของกระบวนการ เบื้องต้นอาจใช้เวลายาวนาน แต่เรื่องนี้เมื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญแล้ว อาจพิจารณาตัดสิทธิย้อนหลังได้หากจงใจปฏิบัติหน้าที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ” นายสมชัย กล่าว