“พลังป้อม” วูบ หายครึ่งพรรค “2 ส.” ปิดฉาก สลัดคราบ “2 ป.”
ช่วงโค้งสุดท้ายนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะมัดใจบ้านใหญ่ ที่ถือเป็นกำลังหลักสู้เลือกตั้ง ปี 66 ให้อยู่ครบหรือไม่
พรรคการเมืองที่เลือดไหลออกมากที่สุดพรรคหนึ่ง คงหนีไม่พ้น “พลังประชารัฐ” ส.ส.หลายต่อหลายคนทยอยทิ้งพรรคไปคนละทิศละทางตั้งแต่หลายเดือนก่อนหน้านี้ และเมื่อเข้าใกล้จังหวะยุบสภา ก็เป็นสัญญาณว่าการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายในยกสุดท้ายกำลังจะเกิดขึ้นอีก
หลังเลือกตั้ง ปี 2562 พลังประชารัฐ ได้ส.ส. 121 คน จากทั้งหมด 500 คน แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปบรรยากาศภายในพรรคที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ช่วงชิงการนำกันอย่างต่อเนื่อง ไม่จบไม่สิ้น สร้างความอึดอัดให้กับลูกพรรคจำนวนมาก
ตรงนี้เองที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พลังประชารัฐ ไม่น่าอยู่สำหรับบางคน บางคนย้ายออกเพราะมองว่ามีโอกาสเป็น ส.ส.อีกสมัยมากกว่าอยู่พลังประชารัฐ เพราะรู้ตัวดีว่า ได้เป็นส.ส.เพราะปัจจัยอะไร
บางคนที่ตัดสินใจทิ้งพรรค ก็เพราะเอือมระอากับบิ๊กคนสำคัญของพรรคที่มักตกปากรับคำลูกพรรค แต่สุดท้ายก็ลืม เป็นอย่างนี้บ่อยครั้ง และหลายคนก็เจอปัญหาเดียวกัน
ที่สำคัญ การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจไปสร้างดาวดวงใหม่ที่พรรครวมไทยสร้างชาติ แกนนำหลายคนที่อยู่พลังประชารัฐ ก็ตัดสินใจได้ทันทีว่า ต้องตามนายกฯ ไปด้วย เช่น กลุ่ม สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ที่พา ส.ส.ในสังกัดย้ายตาม อาทิ รณเทพ อนุวัฒน์อดีตส.ส.ชลบุรี ชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์ อดีตส.ส.ฉะเชิงเทรา สมพงษ์ โสภณ อดีตส.ส.ระยอง ฐนภัทร กิตติวงศา อดีตส.ส.จันทบุรี สาธิต อุ๋ยตระกูล อดีตส.ส.เพชรบุรี ไพลิน เทียนสุวรรณ อดีตส.ส.สมุทรปราการ เป็นต้น
รวมถึงกลุ่มของ เสธหิ หิมาลัย ผิวพรรณ ที่ขนลูกทีมไปอยู่รวมไทยสร้างชาติ ได้แก่ สัญญา นิลสุพรรณ อดีตส.ส.นครสวรรค์ สุรชาติ ศรีบุศกร อดีตส.ส.พิจิตร และ มานัส อ่อนอ้าย อดีตส.ส.พิษณุโลก
นอกจากนั้น ยังมี นิโรธ สุนทรเลขา อดีตส.ส.นครสวรรค์ ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ และประสิทธิ์มะหะหมัด อดีตส.ส.กทม. พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือแม้แต่ อนุชา นาคาศัย อดีตส.ส.ชัยนาท
รวมถึงสายใต้ อาทิ สายัณห์ ยุติธรรม อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช วัชระ ยาวอหะซัน อดีตส.ส.นราธิวาส และศาตรา ศรีปาน พยม พรหมเพชร อรุณ สวัสดี 3 อดีตส.ส.สงขลา
ขณะที่ อดีต ส.ส.พลังประชารัฐ ที่ย้ายไปภูมิใจไทย ถือว่ามีมากกว่าหลายพรรคอื่นๆ อาทิ สุพลฟองงาม อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ย้ายไปสร้างอนาคตไทย ก่อนวกมาภูมิใจไทย เอกราช ช่างเหลา อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ วัฒนา ช่างเหลา อดีตส.ส.ขอนแก่น
พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ อดีตส.ส.กทม. กรณิศ งามสุคนธ์รัตนา อดีตส.ส.กทม. ภาดาห์ วรกานนท์อดีตส.ส.กทม. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ อดีตส.ส.กทม. จักรพันธ์ พรนิมิตร อดีตส.ส.กทม.
ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ อดีตส.ส.ตาก ภิญโญ นิโรจน์ อดีตส.ส.นครสวรรค์ วีระกร คำประกอบ อดีตส.ส.นครสวรรค์ อนุชา น้อยวงศ์ อดีต ส.ส.พิษณุโลก ประทวน สุทธิอํานวยเดช อดีตส.ส.ลพบุรีสุชาติ อุสาหะ อดีตส.ส.เพชรบุรี กฤษณ์ แก้วอยู่ อดีตส.ส.เพชรบุรี
มณเฑียร สงฆ์ประชา อดีตส.ส.ชัยนาท สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ อดีตส.ส.ชัยภูมิ ปฐมพงศ์ สูญจันทร์อดีตส.ส.นครปฐม
ที่ไปยกจังหวัด ได้แก่ ธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ อดีตส.ส.กาญจนบุรี อัฎฐพล โพธิพิพิธ อดีตส.ส.กาญจนบุรี สมชาย วิษณุวงศ์ อดีตส.ส.กาญจนบุรี สมเกียรติ วอนเพียร อดีตส.ส.กาญจนบุรี
สมศักดิ์ พันธ์เกษม อดีตส.ส.นครราชสีมา ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ อดีตส.ส.สุรินทร์ ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ อดีตส.ส.อุบลราชธานี เจริญ เรี่ยวแรง อดีตส.ส.นนทบุรี วทันยา บุนนาค อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ ย้ายไปประชาธิปัตย์
ส่วนของเพื่อไทย ที่อดีตส.ส.พลังประชารัฐ ย้ายไป คือ กานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ อดีตส.ส.กทม. ภูดิท อินสุวรรณ์ อดีตส.ส.พิจิตร ชูศักดิ์ คีรีมาศทอง อดีตส.ส.สุโขทัย เชิงชาย ชาลีรินทร์ อดีตส.ส.ชัยภูมิ และสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา ในฐานะรองประธานสภาฯ ที่ตั้งท่าจะย้ายไปเพื่อไทย
นอกจากนี้ ที่ถูกจับตาอย่างมาก เพราะสัญญาณไปเพื่อไทยสูง คือสมศักดิ์ เทพสุทิน สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ส.ส.ชลบุรี และพรรณศิริ กุลนาถศิริ ส.ส.สุโขทัย พลังประชารัฐ ที่คาดหมายจะไปผนึกกำลังสร้างแลนด์สไลด์ ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า 2 บิ๊กเนม ทิ้งเก้าอี้รัฐมนตรี และเตรียมไปเปิดตัวกับเพื่อไทย 17 มี.ค.นี้
หรือแม้แต่รายที่ย้ายเข้า ย้ายออก อย่าง พิเชษฐ สถิรชวาล ที่มาจากพรรคประชาธรรมไทย เข้าพลังประชารัฐ ล่าสุด ก็ลาออกจากส.ส. ย้ายไปนั่งประธานยุทธศาสตร์ “พรรคเปลี่ยน” ของ พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ หรือ นอท กองสลากพลัส ที่ กกต.เพิ่งอนุมัติ จัดตั้งพรรคเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จะว่าไปแล้ว พลังประชารัฐ ก็พยายามเติมเลือด ดึงคนเข้ามาใหม่แทนคนเก่าอย่างต่อเนื่องพยายามเลี้ยงกระแส ซึ่งหลายคนที่เข้ามา ก็มีโอกาสชนะเลือกตั้งในหลายจังหวัด
ช่วงโค้งสุดท้ายนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะมัดใจบ้านใหญ่ ที่ถือเป็นกำลังหลักสู้เลือกตั้ง ปี 66 ให้อยู่ครบหรือไม่