สนธิรัตน์ เปิดนโยบายปฏิรูประบบสาธารณสุขครบวงจร ทันสมัย-ทั่วถึง-เท่าเทียม

สนธิรัตน์ เปิดนโยบายปฏิรูประบบสาธารณสุขครบวงจร ทันสมัย-ทั่วถึง-เท่าเทียม

“สนธิรัตน์” เผย พล.อ.ประวิตร ผู้นำพลังประชารัฐ ผลักดันนโยบายปฏิรูประบบสาธารณสุขแบบครบวงจร ทันสมัย-ทั่วถึง-เท่าเทียม ลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว ดันประเทศไทยก้าวสู่เมืองหลวงแห่งความมั่นคงด้านสุขภาพ

วันนี้ (6 พ.ค. 66)  นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ประธานยุทธศาสตร์การเมือง พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ได้เปิดนโยบายของพรรคพลังประชารัฐ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การสร้าง Medicopois เมืองหลวงแห่งความมั่นคงด้านสุขภาพ  

ด้วยการปฏิรูปบริการสาธารณสุขแบบครบวงจร ตามนโนบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ  ที่ให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันก่อนป่วย ไม่ให้เกิดโรคร้ายแรง ด้วยการดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ลดค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนและลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในระยะยาว หากเจ็บป่วยก็สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีทันสมัยใกล้บ้าน

สำหรับนโยบายการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางสุขภาพ เช่น Telemedicine พาหมอไปหา เอายาไปส่ง และ Health Link ระบบคลังข้อมูลผู้ป่วยป่วยที่ไหน สามารถรักษาตัวที่นั่น ในกรณีฉุกเฉิน เร่งด่วน  เพื่อการเข้าถึงประวัติการรักษาของคนไข้ได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือสั่งตรวจวินิจฉัยซ้ำ

สนธิรัตน์ เปิดนโยบายปฏิรูประบบสาธารณสุขครบวงจร ทันสมัย-ทั่วถึง-เท่าเทียม

ระบบข้อมูลนี้ ยังเชื่อมโยงถึงระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการทรัพยากรทางสาธารณสุข เช่น การกระจายยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงการเบิกจ่ายของกองทุนต่างๆ ทำให้ลดภาระงานของบุคลากรในการลงข้อมูลซ้ำซ้อน ทำให้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น

สนธิรัตน์ เปิดนโยบายปฏิรูประบบสาธารณสุขครบวงจร ทันสมัย-ทั่วถึง-เท่าเทียม

รวมไปถึงการยกระดับมาตรฐานของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีคุณภาพเทียบเท่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หากเจ็บป่วย เข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้ที่ รพ.สต. ใกล้บ้านทุกแห่ง มีเทคโนโลยีช่วยเชื่อมต่อการรักษา จาก รพ.สต. ถึงโรงพยาบาลใหญ่ ให้มีบทบาทมากขึ้น ทั้งการคัดกรองโรคและส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก พร้อมจัดสรรงบประมาณลงสู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพอย่างครบวงจร

                         

พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับบุตรหลาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือ เด็กในชุมชน ให้ได้เรียนแพทย์ เรียนพยาบาล เพื่อกลับมาดูแลพ่อแม่พี่น้องในบ้านเกิดตามมาตรการเชิงรุกป้องกันก่อนป่วย และขยายหมอชุมชน หรือ อสม. ให้เพียงพอกับประชาชนในพื้นที่

สอดคล้องกับการผลิตและฝึกอบรมอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียงที่มีอาการหนัก 200,000 คน ทั่วประเทศ และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว 

เร่งผลิตและฝึกอบรมอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นจำนวน 100,000 คน เพื่อดูแลผู้สูงอายุติดเตียงและติดบ้าน จำนวน 500,000 - 1,000,000 คน

มีการปรับค่าตอบแทน รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องดูดเสมหะ ที่นอนลม เครื่องผลิตออกซิเจน อุปกรณ์ทำแผลสายสวน