นับคะแนนเลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 ขั้นตอนประกาศผล วิธีตรวจสอบสิทธิก่อนเข้าคูหา
เลือกตั้ง 2566 ตรวจสอบกระบวนการขั้นตอนนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 การประกาศผลคะแนนล่าสุด ทั้งจากการเลือกตั้งปกติ เลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต นอกราชอาณาจักร และสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ รวมถึงการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ก่อนเข้าคูหา 14 พฤษภาคม 2566
เลือกตั้ง 2566 ตรวจสอบกระบวนการขั้นตอนนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 การประกาศผลคะแนนล่าสุด ทั้งจากการเลือกตั้งปกติ เลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต นอกราชอาณาจักร และสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ รวมถึงการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง ก่อนเข้าคูหาในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 นี้ อัปเดตจาก กกต.
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประจำปี 2566 กระบวนการนับคะแนนเลือกตั้ง 2566 และประกาศผลการนับคะแนน ซึ่งมีกระบวนการดังต่อไปนี้
1.ที่เลือกตั้ง ประกอบด้วยที่เลือกตั้งปกติ ที่เลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง นอกราชอาณาจักร และที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ (เฉพาะ 21 จังหวัด ที่มีความพร้อมในการจัดที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประสานมูลนิธิหรืองค์กรคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ในพื้นที่ว่ามีความพร้อมในการจัดที่เลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือไม่)
2.ที่เลือกตั้งปกติ การออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
- นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่หน่วยเลือกตั้งนั้นๆ
- ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/18 ติด ณ ที่เลือกตั้งนั้นๆทันทีที่นับคะแนนแล้วเสร็จ โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- จำนวนบัตรที่รับมา
- จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
- จำนวนบัตรที่ใช้ไป
- คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ
- คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ
- จำนวนบัตรดี
- จำนวนบัตรเสีย
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกพรรคการเมืองใด
- จำนวนบัตรที่เหลือ
3.ที่เลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง และที่เลือกตั้งกลางสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ (ออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566)
- นับคะแนนในวันเดียวกับหน่วยเลือกตั้งปกติ คือวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
- นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งประกาศกำหนด (บริเวณที่ทำการศูนย์อำนวยการเขตเลือกตั้งนั้น ๆ) ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/16 โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
- จำนวนบัตรที่รับมานับคะแนน
- คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ
- คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ
- จำนวนบัตรดี
- จำนวนบัตรเสีย
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกพรรคการเมืองใด
- จำนวนบัตรที่เหลือ
4.ที่เลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตเลือกตั้ง (ออกเสียงลงคะแนนวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566) และนอกราชอาณาจักร (ออกเสียงลงคะแนนตามวันที่เอกอัครราชทูตกำหนด)
- นับคะแนนในวันเดียวกับหน่วยเลือกตั้งปกติ คือวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
- นับคะแนนหลังจาก 17.00 น. โดยไม่ประวิงเวลา ที่คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งประกาศกำหนด (ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้น ๆ หรือบริเวณสถานที่อื่นในกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนจำนวนมาก)
ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ส.ส.5/17 โดยมีรายละเอียดครบถ้วน ประกอบด้วย
- จำนวนบัตรที่รับมานับคะแนน
- คะแนนที่ผู้สมัครแต่ละคนได้รับ
- คะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับ
- จำนวนบัตรดี
- จำนวนบัตรเสีย
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด
- จำนวนบัตรที่ไม่เลือกพรรคการเมืองใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- นับคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขต นอกเขต เลือกตั้ง 14 พ.ค.2566 เช็กที่นี่
- นับคะแนนเลือกตั้ง 2566 อัปเดตขั้นตอนล่าสุด มีรายงานผลแบบเรียลไทม์หรือไม่
- ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต 7 พ.ค.2566 ที่นี่ สิ่งที่ต้องเตรียม
5.คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตจะนำผลคะแนนของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทั้งหมดมารวมกัน ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้นๆ เมื่อแล้วเสร็จจะประกาศผลการนับคะแนนเรียงตามลำดับผู้ได้คะแนนสูงสุดทันที โดยผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนสูงกว่าคะแนนไม่เลือกผู้สมัครผู้ใดเป็นผู้รับเลือกตั้ง และจะนำผลการรวมคะแนนนั้นๆขึ้นแสดงบนป้ายขนาดใหญ่ ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้นๆ
6.คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตจะนำผลคะแนนของพรรคการเมืองที่สมัครแบบบัญชีรายชื่อทั้งหมดมารวมกัน ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้นๆ เมื่อแล้วเสร็จจะประกาศผลการนับคะแนนเรียงตามลำดับหมายเลขของบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองทันทีที่ผลคะแนนแล้วเสร็จ
และนำส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อรวมคะแนนทั้ง 400 เขต และคำนวณสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อต่อไป โดยจะนำผลการรวมคะแนนของเขตเลือกตั้งนั้นๆขึ้นแสดงบนป้ายขนาดใหญ่ ณ ที่ทำการศูนย์อำนวยการประจำเขตเลือกตั้งนั้นๆ
7.ผลการรวมคะแนน
ของผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และของพรรคการเมืองที่สมัครแบบบัญชีรายชื่อ คาดว่าคะแนนแรกจะสามารถเริ่มทยอยประกาศได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 18.30 น.เป็นต้นไป โดยจะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คาดว่าคะแนนสุดท้าย น่าจะทราบได้ภายในเวลาไม่เกิน 23.00 น.ของวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566
8.ความปลอดภัยของเอกสาร
การประกาศผลการนับคะแนนของแต่ละหน่วยเลือกตั้งจัดทำขึ้นมา 3 ฉบับ
- ฉบับที่ 1 ใช้สำหรับนำมารวมผลคะแนน
- ฉบับที่ 2 ใช้สำหรับปิดประกาศหน้าที่เลือกตั้งให้ประชาชนรับทราบ
- ฉบับที่ 3 บรรจุลงในหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมกับบัตรเลือกตั้งที่ใช้ในการลงคะแนนแล้ว และกระดาษขีดคะแนน
ผู้มีอำนาจสั่งให้มีการเปิดหีบบัตรเลือกตั้ง ต้องเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้น
9.ความโปร่งใสของเอกสาร
ประกาศผลการนับคะแนน ปิดประกาศบริเวณหน้าที่เลือกตั้ง หรือบริเวณหน้าที่นับคะแนนทุกแห่ง เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครทุกหน่วยเลือกตั้งภายใน 5 นับแต่วันเลือกตั้ง
กระบวนการกลั่นกรอง การประกาศผลการนับคะแนน
1.คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ของหน่วยเลือกตั้งปกติ และคณะกรรมการนับคะแนนของการเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง นอกเขตเลือกตั้ง และหน่วยเลือกตั้งสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ
2.คณะอนุกรรมการประจำอำเภอ สำหรับจังหวัดในส่วนภูมิภาค 76 จังหวัดและคณะอนุกรรมการประจำเขตปกครองสำหรับกรุงเทพมหานคร
3.คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ทั้ง 400 เขตเลือกตั้ง
4.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานครเป็นหัวหน้า
5.สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหัวหน้า
6.จะรายงานผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการทาง www.ectreport.com เพื่อประกาศผลอย่างเป็นทางการต่อไป
กระบวนการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ดำเนินการตรวจสอบและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง
การตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2566 โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ด้วยตนเอง ณ ที่เลือกตั้ง ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการเขตที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หรือเขตชุมชนใกล้บ้าน
- ตรวจสอบจากหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส. 1/6)
ช่องทางออนไลน์
- ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ที่เว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน (คลิก)
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
ระบบจะประมวลผลและพาเข้าถึงข้อมูลแสดงรายชื่อที่ตนมีสิทธิ วันที่เลือกตั้ง จังหวัดและเขตที่มีสิทธิ สถานที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ผ่านแอปพลิเคชั่น Smart Vote ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยช่องทางดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Smart Vote
- ระบบ iOS (คลิกที่นี่)
- ระบบ Android (คลิกที่นี่)
- เข้าแอปฯ Smart Vote กดที่เมนู "เลือกตั้ง ส.ส."
- เลือกเมนู "ตรวจสอบสิทธิ/แจ้งเหตุ และลงทะเบียนเลือกตั้ง"
- เลือกเมนู "ตรวจสอบรายละเอียดสิทธิเลือกตั้ง" และกด "ยืนยัน"
- ระบบจะพาเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของการตรวจสอบรายชื่อ
- กรอกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกด "ตรวจสอบ"
จากนั้นระบบจะแสดงรายละเอียดของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ประกอบด้วย ชื่อ จังหวัดที่มีสิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง วันที่เลือกตั้ง จังหวัด/สถานที่ที่จะไปใช้สิทธิ และลำดับในบัญชี
หลักฐานแสดงตนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง
1.บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุสามารถใช้แสดงตนได้)
2.บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราซการหรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เป็นต้น
3.หลักฐานภาพอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดผ่านแอปพลิเคชั่นของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กหรอนิกส์ โดยปัจจุบันสามารถใช้ได้ 3 แอปพลิเคชั่น คือ
- แอปฯ ThaiD บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์
- แอปฯ DLT QRLICENCE ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์
- แอปฯ บัตรคนพิการ บัตรประจำตัวคนพิการอิเล็กทรอนิกส์