เช็คอีกครั้ง 'เงินเดือน-สิทธิประโยชน์' 'ประธานสภา-รองประธานสภา-ส.ส.'
เช็คอีกครั้ง "เงินเดือน-ค่าตอบแทน-สิทธิประโยชน์" ประธานสภา-รองประธาน-ส.ส. พ่วงทีมงาน ฝ่าบทพิสูจน์การทำหน้าที่ ในฐานะ "สมาชิกผู้ทรงเกียรติ" อย่างคุ้มค่ากับเงินภาษีประชาชน
ผ่านพ้นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดแรกไปเมื่อวันที่4ก.ย. ณ วันนี้ เรามีประมุขฝ่ายนิติบัญญัติคนที่32 ที่ชื่อ "วันมูหะมัดนอร์ มะทา"
โดยหลังจากมีการโปรดเกล้าฯประธานสภาคนใหม่ ประธานสภาจะนัดประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในวันที่14ก.ค.
สำหรับ "ค่าตอบแทน" รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆของส.ส.ชุดที่26 ตามข้อมูลจากรัฐสภา โดยอ้างอิงจากหนังสือสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2556 หลังจากที่ "กรุงเทพธุรกิจ" ได้เคยเปิดเผยไปก่อนหน้านี้ ประมวลให้ดูอีกรอบจะพบว่า ตำแหน่งต่างๆจะได้รับค่าตอบแทนประกอบด้วย
- ประธานสภาผู้แทนราษฎร
- เงินเดือน 75,590 บาท
- เงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 50,000 บาท
รวมเป็นเงิน 125,590 บาท
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- เงินเดือน 73,240 บาท
- เงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 42,500 บาท
รวมเป็นเงิน 115,740 บาท
- ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
- เงินเดือน 73,240 บาท-
- เงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 42,500 บาท
รวมเป็นเงิน 115,740 บาท
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- เงินเดือน 71,230 บาท
- เงินประจำตำแหน่ง เดือนละ 42,330 บาท
รวมเป็นเงิน 113,560 บาท
นอกจากนี้ตำแหน่งต่างๆข้างต้น ยังสามารถตั้งคณะทำงาน ไม่ว่าจะเป็น
- ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ความ รับผิดชอบในการให้คำ แนะนำ ปรึกษาทางด้านวิชาการที่เป็นประโยชน์ ให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคน จะมีผู้เชี่ยวชาญประจำ ตัวได้1 คน
ค่าตอบแทน เดือนละ 24,000บาท
- ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่ ความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ประกอบการดำ เนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งศึกษา สภาพปัญหาและข้อร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อรวบรวม จัดทำ ญัตติกระทู้ถาม ข้อหารือ หรือข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนจะมี ผู้ชำนาญการประจำ ตัวได้2คน
ค่าตอบแทน เดือนละ 15,000บาท
- ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หน้าที่ช่วยดำเนินงานเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคน จะมีผู้ช่วยดำเนินงานได้5คน
ค่าตอบแทน เดือนละ 15,000 บาท
- คณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ที่ปรึกษาในคณะทำงานทางการเมือง มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ในการให้คำ ปรึกษาแก่ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร หรือผู้นำ ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี
นักวิชาการและเลขานุการในคณะทำงานทางการเมือง มีหน้าที่ ความรับผิดชอบตามที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร หรือผู้นำ ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณีเป็น ผู้กำหนด
โดยจำนวนคณะทำงานทางการเมืองแต่ละตำแหน่งประกอบด้วย
1. ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีคณะทำงานทางการเมือง จำนวน10อัตรา ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 10 อัตรา นักวิชาการ 3อัตรา เลขานุการ 3อัตรา
2. รองประธานสภาผู้แทนราษฎร 1 คน จะมีคณะทำงานทางการเมือง จำนวน 7 อัตรา ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 3อัตรา นักวิชาการ 2อัตรา เลขานุการ 2อัตรา
3. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มีคณะทำงานทางการเมือง จำนวน 10 อัตรา ประกอบด้วย ที่ปรึกษา 4 อัตรา นักวิชาการ 4 อัตรา เลขานุการ 2 อัตรา
ค่าตอบแทน
1. ที่ปรึกษา รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 16,000 บาท
2. นักวิชาการ รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 12,800 บาท
3. เลขานุการ รับค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 9,600 บาท
- ที่ปรึกษาและผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ
ค่าตอบแทน
ก. กรณีแต่งตั้งบุคคลที่มิได้เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ในอัตราเดือนละ10,000บาท
- ผู้ชำนาญการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 9,000บาท
- นักวิชาการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 8,000บาท
- เลขานุการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ในอัตราเดือนละ 6,000บาท
ข. กรณีแต่งตั้งบุคคลที่เป็นข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
- ที่ปรึกษาประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ในอัตราเดือนละ 7,500บาท
- ผู้ชำนาญการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทนในอัตราเดือนละ 6,500 บาท
- นักวิชาการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ในอัตราเดือนละ6,000บาท
- เลขานุการประจำ คณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ในอัตราเดือนละ 4,500 บาท
จำนวนตำแหน่งที่ปรึกษา ผู้ชำนาญการ นักวิชาการ และ เลขานุการประจำ คณะกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการสามัญประจำ สภาผู้แทนราษฎรแต่ละคณะ ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้กำหนด โดยคำนึงถึงงบประมาณสำ หรับปีงบประมาณนั้น ๆ
ขณะที่ "สิทธิประโยชน์" ที่สมาชิก รวมถึงทีมงานจะได้รับ จะมีทั้งการเบิกค่าทางโดยสารรถไฟ และรถยนต์ประจำทาง ให้มีผู้ติดตาม ได้หนึ่งคนในชั้นเดียวกัน
ส่วนการเดินทางโดยสารเครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ประจำทาง เป็นสิทธิเฉพาะตัว บุคคลอื่นจะนำไปใช้ไม่ได้
ขณะที่การเดินทางไปราชการต่างประเทศ ให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป ราชการในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวมา ใช้บังคับแก่การเดินทางไปราชการต่างประเทศของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับ นายกรัฐมนตรี รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำ ฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรองนายกรัฐมนตรี
ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับข้าราชการ ผู้ดำ รงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการ ระดับกระทรวง การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราวที่จะมีสิทธิได้รับ ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่งจะต้องได้รับอนุมัติเป็นหนังสืออจากประธานรัฐสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการเบิกค่ารักษาพยาบาลตามรายการ
ยังไม่นับรวมสิทธิประโยชน์อื่นๆทั้งเบี้ยประชุมกรรมาธิการ และ อนุกรรมาธิการ การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งของตนเองและคู่สมรส
รวมทั้ง"รวมกองทุนสงเคราะห์ผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา" หรือ "บำนาญส.ส." ที่มาชิกรัฐสภาต้องส่งเงินเข้ากองทุนเป็นประจำทุกเดือน โดยการหักเงินประจำตำแหน่งไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ซึ่งแต่ละคนจะได้รับบำนาญที่แตกต่างกันตามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
"ค่าตอบแทน" รวมถึง "สิทธิประโยชน์" ต่างๆเหล่านี้ แน่นอนว่า กำลังถูกจับตาจากประชาชนในฐานะผู้ใช้สิทธิเลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ในสภาฯ
ที่ผ่านมาหลายตำแหน่งถูกตั้งคำถามถึงความซ้ำซ้อน ความคุ้มค่า รวมถึงความจำเป็น
ไม่ต่างจากการทำหน้าที่ส.ส.อย่าง "คุ้มค่า" กับฉันทามติของประชาชนรวมถึงภาษีที่เสียไปในฐานะผู้แทนราษฎร ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น "สมาชิกผู้ทรงเกียรติ"