อำนาจ หน้าที่รองประธานสภาคนที่ 1 คนที่ 2 ต้องทำอะไรบ้าง แทนประธานสภา
อำนาจ หน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 คนที่ 2 ต้องปฏิบัติหน้าที่ทำอะไรบ้าง ไปดูกันว่า รองประธานฯ คนที่ 1 คนที่ 2 จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไร กรณีที่ประธานสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
อำนาจ หน้าที่รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 คนที่ 2 ต้องปฏิบัติหน้าที่ทำอะไรบ้าง ไปดูกันว่า รองประธานฯ คนที่ 1 คนที่ 2 จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไร กรณีที่ประธานสภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยการเลือกประธานสภาฯล่าสุด นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (วันนอร์) ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชาติ ได้ถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรเพียงชื่อเดียวโดยไม่มีผู้เสนอชื่อชิง
สำหรับในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ซึ่งจะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรก เพื่อเลือกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 คน นั้น
กรณีเสนอชื่อประธานสภา และรองประธานสภา คนที่ 1 และรองประธานสภา คนที่ 2 ชื่อเดียว ไม่มีคู่แข่ง ขั้นตอนการเลือกจะมี ดังนี้
- เปิดให้เสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานสภา รองประธานสภา คนที่ 1 รองประธานสภาคนที่ 2 ต้องมีผู้รับรอง 20 คน
- ผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อ แสดงวิสัยทัศน์
- หากเสนอชื่อเดียว ผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อจะได้ตำแหน่งนั้นๆ ทันที
กรณีเสนอชื่อประธานสภา และรองประธานสภา คนที่ 1 และรองประธานสภา คนที่ 2 หลายชื่อมีคู่แข่ง ขั้นตอนการเลือกจะมี ดังนี้
- เปิดให้เสนอชื่อผู้ที่จะเป็นประธานสภา รองประธานสภา คนที่ 1 รองประธานสภาคนที่ 2 ต้องมีผู้รับรอง 20 คน
- ผู้ที่ถูกเสนอรายชื่อ แสดงวิสัยทัศน์
- เปิดให้ลงมติ ตามขั้นตอนคือ คัดเลือกกรรมการตรวจนับคะแนน , ลงคะแนนโดยวิธีลับ , ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลงคะแนนครั้งละ 20 คน
จากนั้นสมาชิกฯ เขียนรายชื่อบุคคลที่ต้องการเลือกลงในกระดาษแล้วใส่ซอง หย่อนลงกล่องใส เมื่อลงคะแนนเสร็จ จะมีการนับคะแนน โดยผลจะขึ้นจอทันที และเมื่อนับครบแล้วจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือก สุดท้ายนำบัตรไปทำลาย ตามข้อบังคับการประชุม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ดูสด ถ่ายทอดสดประชุมสภาวันนี้ 4 กรกฎาคม 2566 โหวตเลือกประธานสภา รองประธานสภา
- ไร้คู่แข่ง! 'วันมูหะมัดนอร์ มะทา' ประธานสภา คนที่32
- "รทสช." ส่ง "วิทยา" ประลองกำลัง "ปดิพัทธ์" ชิงรองปธ.สภาฯคนที่1
อำนาจและหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา คนที่ 1 คนที่ 2 และหน้าที่ของเลขาธิการ
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2551 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และหน้าที่ของเลขาธิการไว้ในหมวด 2 อำนาจและหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา และหน้าที่ของเลขาธิการ ข้อ 8
หน้าที่และอำนาจประธานสภา
- เป็นประธานของที่ประชุมสภา
- กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา
- ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมสภา ตลอดถึงบริเวณสภา
- เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
- แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา
- อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไกในข้อบังคับนี้
หน้าที่และอำนาจรองประธานสภา
- ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภาหรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย
- เมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภา หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
กรณีที่มีรองประธานสภา 2 คน
- ให้รองประธานสภาคนที่ 1 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา
- ถ้ารองประธานสภาคนที่ 1 ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาคนที่ 2 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภา
หน้าที่เลขาธิการ
- นัดประชุมสภาและคณะกรรมาธิการครั้งแรก
- เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการ
- ช่วยประธานในการควบคุมการนับคะแนนเสียง
- จัดทำรายงานการประชุมและบันทึกการออกเสียงลงคะแนน
- ยืนยันมติของสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
- รักษาสรรพเอกสาร ข้อมูลและโสตทัศนวัสดุของสภา
- ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานสภากำหนด
- หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
- ปฏิบัติการอื่นตามที่ประธานสภามอบหมายเข้าปฏิบัติหน้าที่
สำหรับการชิงตำแหน่ง 'รองประธานสภา' คนที่ 1 มีการเสนอรายชื่อ 2 คน คือ นายปดิพัทธ์ ส้นติภาดา ส.ส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล และนายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ
ซึ่งเข้าเงื่อนไขเสนอรายชื่อมากกว่า 1 คน (มีคู่แข่ง) และจะต้องมีการลงคะแนนเป็นการลับผ่านบัตรลงคะแนน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการลงคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร