พิษปม 40 สว. กมธ.วงแตก ‘ดิเรกฤทธิ์’ลาออก

พิษปม 40 สว. กมธ.วงแตก ‘ดิเรกฤทธิ์’ลาออก

ปมสว. ยื่นถอดถอน “เศรษฐา-พิชิต” เห็นต่างในวงกรรมาธิการการเมือง ส่งผล “ดิเรกฤทธิ์” ไขก๊อกจากกรรมาธิการ ระบุไม่สะดวกใจในการปฎิบัติหน้าที่

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สว. ได้ทำหนังสือลาออกจากกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ซึ่งเขามีตำแหน่งเป็นรองประธาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ถึงประธานคณะกรรมาธิการฯ โดยให้เหตุผลว่า

เนื่องจากตนไม่สะดวกใจในการปฎิบัติหน้าที่ในคณะกรรมธิการบางประเด็นจึงขอลาออกจากคณะกรรมาธิการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

อนึ่งเนื่องจากฝ่ายเลขาธิการและคณะเจ้าหน้าที่ได้ช่วยปฏิบัติงาน และให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอดระยะเวลาประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา จึงขอขอบอย่างสูงมา ณ ที่นี้ ด้วย จึงเรียนมาเพื่อทราบ

พิษปม 40 สว. กมธ.วงแตก ‘ดิเรกฤทธิ์’ลาออก

พิษปม 40 สว. กมธ.วงแตก ‘ดิเรกฤทธิ์’ลาออก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการลาออกของนายดิเรกฤทธิ์ เกิดจากความขัดแย้งกรณีสว.ร่วมลงชื่อในการถอดถอนนายกเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากปัญหาคุณสมบัติ ที่มีความเห็นต่างกันในบรรดาสว.

ขณะที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.ที่ไม่ได้ร่วมลงชื่อ ในการยื่นถอดถอนทั้งสองคน ระบุว่า การที่ตนไม่ร่วมลงชื่อในเรื่องนี้เนื่องจากเป็นข้อกฎหมายที่ตนเห็นว่าในมาตรา 84 ที่ไปยื่น อ้างว่าตรวจสอบคุณสมบัตินั้น บทบัญญัติมาตรานี้กำหนดระยะเวลาการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสว. ในการตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกหรือของรัฐมนตรีครบ 5 ปีแล้ว จึงคิดว่าสว. ชุดนี้ไม่มีสิทธิ์ยื่น 

ในเบื้องต้นเราต้องดูว่าเรามีสิทธิ์ยื่นหรือไม่ ซึ่งมาตรา 84 เขียนว่า สิทธิ์ในการยื่นตรวจสอบความสิ้นสุดสมาชิกภาพ และเมื่อเทียบกับมาตรา 170 ที่บอกว่าเมื่อครบวาระของวุฒิสภาให้สว.ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีสว. ชุดใหม่ ฉะนั้นเค้าบอกให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ถ้ามีหน้าที่อะไรก็ทำต่อไป แต่ในเมื่อมาตรา 84 สิทธิ์ที่จะยื่น มันมีระยะเวลา 5 ปี ตนก็ดูตามตัวบทกฎหมายเท่านั้น และไม่ได้คิดว่าใครจะได้ประโยชน์เสียประโยชน์

ตนเป็นนักกฎหมาย ในแง่มุมทางกฎหมาย ก็ต้องดูว่า เราจะยื่น เรามีสิทธิ์หรือไม่ เพราะเราคบวาระแล้ว มันยื่นไม่ได้แล้ว ก็เป็นสิทธิ์ของเรา ที่อย่าไปยื่นในสิ่งที่เราคิดว่า ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญไม่เป็นไปตามกฏหมาย