ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’

200 สว.ใหม่ ได้เข้าสภาแล้ว หลัง "กกต." รับรอง ทว่าต้องจับตาการทำหน้าที่ครบวาระหรือไม่ เหตุ "สว.เก่า" ชงประเด็น "เขี่ย" สว.ใหม่ ตามมาตรา 46 ของ พ.ร.ป.สว.

KEY

POINTS

Key Point :

  • กกต. รับรอง 200 สว.ตัวจริง และ 99 สว.ตัวสำรองแล้ว
  • ฉากต่อไปของการเมืองคือ การเข้าไปทำหน้าที่ในสภาสูง 
  • ทว่า 200 สว.ชุดที่ 13 ไม่อาจไว้วางใจได้ว่า ตัวเองจะนั่งในตำแหน่งจนครบเทอม
  • เพราะยังมีปฏิบัติการสอยของ กกต. และกระบวนการตรวจสอบ ร้องเรียนจาก "พลเมืองดี" และ "อดีตผู้สมัคร สว."
  • และตามพ.ร.ป.ว่าด้วย สว. มีบทให้ลบชื่อบัญชีสำรอง ด้วยเหตุ "รู้เห็นเป็นใจ" ให้การเลือกไม่สุจริต
  • ซึ่ง สว.ชุดเก่า ตั้งใจชงประเด็นให้ สว.ชุดใหม่ ถูกเขี่ย เป็นรายบุคคลไว้แล้ว

คณะกรรมการ การเลือกตั้ง (กกต.) เลือกประกาศรับรองผลการเลือก “สว.” แล้ว แม้จะมีข้อร้องเรียนจาก “ผู้สมัคร สว.” และข้อทักท้วงจาก “สว.ชุดเก่า-นักวิชาการ” ว่า กระบวนการเลือกกันเองของกลุ่มอาชีพ และแบ่งเป็น 3 ระดับนั้น ยังมีเหตุอันควรสงสัยว่า “ไม่สุจริต เที่ยงธรรม”

แม้ “แสวง บุญมี” เลขาธิการ กกต.จะยืนยันในการทำหน้าที่ของ กกต.ว่าได้กำกับ ตรวจสอบ การเลือก ตามที่กฎหมายกำหนด เห็นได้จากการตรวจสอบคุณสมบัติ และตัดสิทธิผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติ และมีลักษณะต้องห้ามออกจากกระบวนการแล้วกว่า 3,000 คน

แน่นอนว่า “กกต.” ได้มั่นใจในการทำหน้าที่ของตนเอง ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ทำ

ทว่า ในอีกมุมของ “ฝ่ายตรวจสอบ กกต.” ยังยืนยัน และเห็นว่าไม่เป็นไปตามนั้น เพราะผลจากที่มี “ผู้เสียสิทธิ-ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม” ยื่นร้องต่อศาล และมีบางคนเตรียมยื่นเรื่องเอาผิด “กกต.” ในกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับและควบคุมการเลือกกันเองของ สว.ให้เป็นไปอย่างสุจริต เที่ยงธรรม ผลจากการ “ฮั้ว-บล็อกโหวต” ในกระบวนการเลือกที่ผ่านมา

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’ ทั้งนี้ ในมุมการเมือง กรณีที่ “กกต.” เลือกประกาศรับรอง 200 สว. และ 99 ตัวสำรองเมื่อ 10 ก.ค.67 ถูกมองว่า เพื่อตัดจบกระบวนการตรวจสอบที่ “วุฒิสมาชิกชุดเก่า” กำลังตั้งธงสอบ เพื่อหวังเปิดโปงข้อมูลต่อสาธารณะ และชี้นำให้สังคมเห็นว่า “สว.67” นั้น ไม่สมควรได้รับการยอมรับ สืบเนื่องจากการทำงานของ กกต.เอง

เพราะเมื่อ กกต.ประกาศรับรอง สว.ชุดใหม่ และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเท่ากับว่า “สว.ชุดเก่า” ต้องพ้นจากตำแหน่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

สำหรับคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญศึกษาการเลือก สว.2567 ของวุฒิสภา ที่ประชุมไปแล้วหนึ่งนัด เมื่อ 9 ก.ค.67 นอกจากเลือก “สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย” สว.เป็นประธาน กมธ.แล้ว ยังวางกรอบทำงาน ตั้งแท่นสอบกระบวนการเลือกสว. ที่เชื่อว่า “ไม่โปร่งใส ไม่สุจริต และไม่ปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง” พร้อมกับตั้งธงผลสอบว่า กกต.นั้นล้มเหลว ในการกำกับการเลือกให้โปร่งใส ทั้งที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้เป็นหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’ แม้ว่า “กมธ.” จะถูกตัดจบกระบวนการตรวจสอบหลังพ้นสถานะทางการเมือง ทว่า กระบวนการ “ตรวจสอบ กกต.” ยังไม่ตัดตอน เพราะ “อดีต สว.” และ “นักวิชาการ” ที่ร่วมเป็นอดีตกรรมาธิการ ยังมีสถานะเป็น “พลเมืองดี” และด้วยข้อมูลที่มี จากการรับเรื่องร้องเรียนก่อนหน้านั้น สามารถนำไปขยายผลได้ต่อทั้งในทางการเมือง และทางสังคม

ขณะเดียวกันในการประชุมนัดแรกของ กมธ.ศึกษาการเลือก สว. “สมชาย แสวงการ” บอกว่า ไม่สูญเปล่า เพราะมีรายละเอียดที่หารือถึงข้อร้องเรียน ซึ่งพรรคการเมืองสามารถใช้ช่องทางของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ยื่นเรื่องขอข้อมูลจาก “สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา” ได้

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’

นอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่ผู้สมัคร สว.ที่มีสิทธิยื่นเรื่องต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง แม้จะไม่ใช่ “ร้องการเลือกให้โมฆะ” เพราะ กกต. เลือกประกาศรับรองผลการเลือกแล้ว แต่สิ่งที่หวังได้คือ “เขี่ย” สว.67 ออกจากสมการ การเมืองของ “รัฐสภา”

ตามบทบัญญัติของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกสว. ฉบับปัจจุบัน มีบทกำหนดให้เลือก สว.ใหม่แทนตำแหน่งที่ว่าง ตามมาตรา 45 ในกรณีที่มี สว.เหลืออยู่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และอายุของสว.เหลืออยู่เกิน 1 ปี

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’ นั่นหมายความว่า หาก กกต.ทยอยสอย สว.ทั้ง “ตัวจริง” และ “ตัวสำรอง” เป็นจำนวนถึง 201 คน ต้องเข้าสู่กระบวนการ การเลือกกันเอง เพื่อแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่ง กกต.มีเวลาดำเนินการเรื่องนี้ยาวๆ ถึง 3 ปี

สำหรับเหตุผลที่จะนำมา “เขี่ย” สว.สายน้ำเงิน ได้อ้างถึงบทบัญญัติของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. มาตรา 46 ที่วางบทบัญญัติให้ กกต.ลบรายชื่อของบุคคลออกจากบัญชีสำรองในหลายกรณี คือ ตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม 

ทั้งนี้ ในประเด็นนี้ถูกฉายสปอตไลต์ไปที่ประเด็น “มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลในบัญชีสำรอง กลุ่มใดกระทำการใด หรือรู้เห็นเป็นใจด้วย กับการกระทำของบุคคลอื่น ทำให้การเลือกไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม”

เพราะในคราวที่ “วุฒิสภา” ชุดที่ 12 ประชุมนัดสุดท้าย มีผู้เปิดเผยข้อมูลทั้งการสัญญาให้เงิน 5 หมื่นบาท เพื่อแลกโหวต การเดินโพยฮั้วเลือก สว. ระดับประเทศ รวมถึงการสัญญาว่าจะให้ตำแหน่งใดๆ เพื่อแลกโหวต

ศึก ‘สภาสูง’ ยังไม่จบ ‘สว.เก่า’ ชงลูก เขี่ย ‘​สว.ใหม่’

เพียงแต่ว่า จะมี “การเมืองฝ่ายใด” สานต่อสิ่งที่ “วุฒิสภา” ชุดก่อน เปิดเกมเอาไว้หรือไม่ ต้องจับตา

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์