ประธาน​ ป.ป.ช. ไม่กดดัน​ ​สอบ​ 44 สส.อดีตก้าวไกล​ ผิดจริยธรรมลงชื่อแก้​ม.112

ประธาน​ ป.ป.ช. ไม่กดดัน​ ​สอบ​ 44 สส.อดีตก้าวไกล​ ผิดจริยธรรมลงชื่อแก้​ม.112

“ประธาน​ ป.ป.ช.”​ ไม่กังวล​ ถูกจับตา​ ปมสอบ​ 44 สส.อดีตก้าวไกล​ ผิดจริยธรรมหรือไม่​ หลังลงชื่อแก้​ม.112 คาด​ ส่งศาลฎีกาไม่ทันเกษียณ​

เมื่อเวลา 06.40 น. วันที่ 12 ส.ค. ที่สนามหลวง พล.ต.อ.วัชรพล​ ประสารราชกิจ​ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึงกรณีการพิจารณาคดี 44 สส.อดีตพรรคก้าวไกลที่ลงชื่อแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112​ ว่า​ เรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรม ซึ่งต้องให้มีการไต่สวน​ให้ปากคำชี้แจง เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องมาตรฐานจริยธรรม โดยทางป.ป.ช.จะยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง หลังจากนั้นศาลฎีกาจะดำเนินการไต่สวน
   

เมื่อถามว่าป.ป.ช.มีความเป็นห่วงในคดีดังกล่าวหรือไม่​ พล.ต.อ.วัชรพล​ กล่าวว่าไม่เป็นห่วง เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายและข้อเท็จจริง ซึ่งต้องมีการชี้แจง พร้อมยืนยันว่าป.ป.ช.จะให้ความเป็นธรรม ส่วนจะเรียกให้ 44 สส.มาชี้แจงเมื่อใดนั้น​ ตนคิดว่าคงไม่ช้า ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกระบวนการ

    เมื่อถามว่าป.ป.ช.มีความเป็นห่วงในคดีดังกล่าวหรือไม่​ พล.ต.อ.วัชรพล​ กล่าวว่าไม่เป็นห่วง เพราะทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายและข้อเท็จจริง ซึ่งต้องมีการชี้แจง พร้อมยืนยันว่าป.ป.ช.จะให้ความเป็นธรรม ส่วนจะเรียกให้ 44 สส.มาชี้แจงเมื่อใดนั้น​ ตนคิดว่าคงไม่ช้า ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกระบวนการ
   

    เมื่อถามว่า ไม่รู้สึกกดดันใช่หรือไม่​กับการพิจารณา​คดีดังกล่าวพล.ต.อ.วัชรพล​  ยืนยันว่า​ ไม่กดดัน​ พร้อมระบุว่า​เรามีหน้าที่ก็ทำไป แต่ข้อสำคัญทำแล้วต้องตอบได้ในกระบวนการไต่สวนเพื่อให้ความเป็นธรรม
   

    เมื่อถามย้ำว่า แสดงว่ายอมรับข้อวิจารณ์จากฝ่ายสนับสนุนผู้ที่จะถูกไต่สวนใช่หรือไม่​ พล.ต.อ.วัชรพล​ กล่าวว่า​ เวลาที่สังคมมอง และมีสื่อมวลชนให้ข้อคิดเห็น​ก็จะทำให้เราเห็นมุมมองสังคมด้านต่างๆ​ โดยเฉพาะการวินิจฉัยข้อมูลข้อเท็จจริง
   

    เมื่อถามว่า จะส่งเรื่องให้ศาลฎีกาได้เมื่อใด พล.ต.อ.วัชรพล​ กล่าวว่า ไม่สามารถตอบได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของสำนักไต่สวนป.ป.ช. แต่ถึงอย่างไรก็คาดว่าไม่น่าทันช่วงที่ตนยังดำรงตำแหน่งอยู่ เนื่องจากจะหมดวาระในช่วงอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า

พล.ต.อ.วัชรพล​ กล่าวต่อว่า ยังมีอีกหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนที่ตนจะหมดวาระ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้ามาตามวาระ จึงไม่อยากให้มองว่าใกล้เกษียณแล้วจะไม่ต้องเร่งรีบการพิจารณาคดี​ ทั้งนี้ ในปีนี้จะมีคณะกรรมการป.ป.ช.เกษียณอายุราชการอีก 2 คน ในช่วงปลายปี และหากรวมกับตนจะเป็น 3 คน ซึ่งคาดว่าแต่ละบุคคลเกษียณไปก็จะมีการเข้าสู่กระบวนการสรรหาคนใหม่ผ่านวุฒิสภา