เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.ฟัน 'เศรษฐา' เทียบตอนรับคำร้อง 'บรรจงศักดิ์' ตัวแปร

เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.ฟัน 'เศรษฐา' เทียบตอนรับคำร้อง 'บรรจงศักดิ์' ตัวแปร

เปิดเสียงข้างมาก-ข้างน้อยศาล รธน.มติ 5:4 วินิจฉัย 'เศรษฐา' พ้นเก้าอี้นายกฯ เทียบตอนรับคำร้อง 'บรรจงศักดิ์' ย้ายข้าง 'ปัญญา อุดชาชน-อุดม  สิทธิวิรัชธรรม-วิรุฬห์ แสงเทียน-จิรนิติ หะวานนท์' จุดเดิมแต่ต้น

เมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานภายหลังศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง วินิจฉัยให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน ดำรงตำแหน่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ ถือว่าไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างร้ายแรง เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน เป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ อาจจะกระทบกระเทือนต่อศรัทธาของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) นั้น

สำหรับ เสียงตุลาการข้างมาก 5 คน เห็นว่า ความเป็น รัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา  160  (4) และ (5) คือ

  1. นายปัญญา อุดชาชน
  2. นายอุดม  สิทธิวิรัชธรรม  
  3. นายวิรุฬห์ แสงเทียน
  4. นายจิรนิติ หะวานนท์
  5. นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน  4  คน เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 1 นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170  วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา  160  (4) และ (5) คือ

  1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
  2. นายนภดล เทพพิทักษ์
  3. นายอุดม รัฐอมฤต
  4. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ 

เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.ฟัน \'เศรษฐา\' เทียบตอนรับคำร้อง \'บรรจงศักดิ์\' ตัวแปร  

ก่อนหน้านี้เมื่อ 23 พ.ค.2567 ในตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องคดีดังกล่าว พบว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียง มีคำสั่งรับคำร้องผู้ถูกร้องที่ 1 ไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 54 โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย คือ

  1. นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
  2. นายอุดม รัฐอมฤต
  3. นายสุเมธ รอยกุลเจริญ 

สำหรับกรณีของผู้ถูกร้องที่ 2 ได้มีคำร้องของผู้ถูกร้องที่ 2 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 แจ้งว่า เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ผู้ถูกร้องที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (2) กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 51 

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 เสียง มีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2 ไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยคือ

นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม

เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.ฟัน \'เศรษฐา\' เทียบตอนรับคำร้อง \'บรรจงศักดิ์\' ตัวแปร

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีขอให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 82 วรรคสอง แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง

ในชั้นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ เสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องที่ 1 หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจ้งให้คู่กรณีทราบ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย คือ

  1. นายปัญญา อุดชาชน
  2. นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
  3. นายวิรุฬห์ แสงเทียน
  4. นายจิรนิติ หะวานนท์

เปิดชื่อตุลาการศาล รธน.ฟัน \'เศรษฐา\' เทียบตอนรับคำร้อง \'บรรจงศักดิ์\' ตัวแปร