ราชกิจจาฯ พ.ร.ฎ.พระราชทาน อภัยโทษ ทักษิณ ติดโผ พ้นโทษทันทีไม่ต้องรอ 31 ส.ค.

ราชกิจจาฯ พ.ร.ฎ.พระราชทาน อภัยโทษ ทักษิณ ติดโผ พ้นโทษทันทีไม่ต้องรอ 31 ส.ค.

ราชกิจจาฯ แพร่ พ.ร.ฎ.พระราชทาน อภัยโทษ โอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาฯ ด้าน 'ทักษิณ' ติดโผได้ด้วย พ้นโทษทันที ไม่ต้องรอ 31 ส.ค. 67 ไม่ต้องรายงานตัวเหมือนผู้ถูกคุมประพฤติอื่น

เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2567 ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศพระราชกฤษฎีกา พระราชทาน อภัยโทษ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีรายงานข่าวแจ้งว่า พระราชกฤษฎีกา พระราชทาน อภัยโทษ 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ จะมีผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ จำนวนประมาณ 50,000 ราย จากเรือนจำทั่วประเทศ ตามมาตรา 5

นอกจากนี้ ยังมีนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับสิทธิ เข้าหลักเกณฑ์ ลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวอีกกว่า 200,000 ราย โดยกรมราชทัณฑ์ได้เตรียมประชุมเตรียมความพร้อมรองรับผู้ต้องที่จะได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ

ทั้งนี้ภายหลังจากการออกพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2567 นาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าข่ายจะได้พ้นโทษ โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดโทษในวันที่ 31 ส.ค. เนื่องจากเป็นผู้ถูกคุมประพฤติ ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามมาตรา 3 ของพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2567 ฉบับนี้ ที่ระบุว่า ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องกักขัง(2) ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ (3) ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

 

ราชกิจจาฯ พ.ร.ฎ.พระราชทาน อภัยโทษ ทักษิณ ติดโผ พ้นโทษทันทีไม่ต้องรอ 31 ส.ค.

สำหรับกลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ ปล่อยตัวพ้นจากการเป็นผู้ถูกคุมประพฤติ ครั้งนี้ประมาณ 7,500 รายทั่วประเทศ นายทักษิณ เป็นหนึ่งในผู้ถูกคุมประพฤติ สามารถเดินทางไปรับใบบริสุทธิ์ จากเรือนจำได้ในภายหลัง เนื่องจากคนกลุ่มนี้ ไม่ได้อยู่ในเรือนจำ แต่ได้รับการพักโทษไปอยู่นอกเรือนจำแล้ว

 

ราชกิจจาฯ พ.ร.ฎ.พระราชทาน อภัยโทษ ทักษิณ ติดโผ พ้นโทษทันทีไม่ต้องรอ 31 ส.ค.

หมายเหตุท้าย พ.ร.ฎ.ระบุเหตุในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ คือในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่กลุ่มบุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ฎ.นี้

 

อ่านรายละเอียด: คลิกที่นี่