'พิธา' เปิดคอลัมน์ 'จดหมายจากฮาร์วาร์ด' คุยผู้นำ-อดีต ขรก.ต่างประเทศ

'พิธา' เปิดคอลัมน์ 'จดหมายจากฮาร์วาร์ด' คุยผู้นำ-อดีต ขรก.ต่างประเทศ

'พิธา' เผยบทบาทหลังพ้นตำแหน่งทางการเมือง หลังไปเป็นนักวิชาการประชาธิปไตยเตรียมเขียนบทความในคอลัมน์ 'จดหมายจากฮาร์วาร์ด' เล่าสารพัดเรื่องคุยกับอดีตผู้นำการเมือง-ข้าราชการต่างประเทศ 

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ระบุถึงบทบาทภายหลังพ้นจากตำแหน่งทางการเมือง และไปเป็นนักวิชาการประชาธิปไตยรับเชิญที่ ม.ฮาร์วาร์ด ว่า ไม่ต้องเดา เดี๋ยวเล่าให้ฟัง พิธามาทำอะไรที่บอสตัน กับการกลับมาของคอลัมน์ “จดหมายจากฮาร์วาร์ด” 15 ปีให้หลังจากครั้งแรก บน www.medium.com/@limjaroenrat และมติชนสุดสัปดาห์

ยกตัวอย่างของคนที่ได้มาเจอที่นี้ ได้คุยอดีตผู้นำการเมือง อดีตนายกนิวซีแลนด์และอดีต สส เวเนซุเอลา ผู้นำภาคประชาสังคมของบังคลาเทศ ข้าราชการจากจีน ข้าราชการแบงค์ชาติญี่ปุ่น อดีตทีมนโยบาย AI ของ VP Harris อดีตอาจารย์ที่เคยสอนผม อาจารย์คนใหม่ ๆ ที่มีข้อมูลแรงงานและสิทธิชาติพันธุ์ และที่สำคัญ น้อง ๆ คนไทย ที่มาเรียนที่บอสตันหลายคน บอกได้คำเดียวว่า เก่งกันมาก ๆ 

ยกตัวอย่างเรื่องเราคุยกัน

1. autocrats inc - ความเหมือนความต่างของไทย เวเนซุเอลา บังคลาเทศ ณ ปัจจุบัน

2. ผลกระทบต่อไทยจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ถ้าคนนี้ชนะ ผลกระทบที่น่าเกิดต่อไทยคืออะไร ถ้าคนนั้นชนะ ผลกระทบที่น่าเกิดคืออะไร

3. AI กับพรรคการเมือง กับประชาธิปไตย

4. โอกาสเศรษฐกิจใหม่ๆ ของไทยที่เกิดจาก policy change ของสหรัฐ

5. ผมจะลองติดต่อ Harvard Humanitarian Initiative ที่คาดว่ามีกระบวนการแก้ปัญหาภัยพิบัติ ผ่านหลักคิด “risk, resilience, and response” และการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาบริหารจัดการเวลา น้ำท่วม ไฟป่า โรคระบาด เขามีหลักคิดและแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร

ได้ความอย่างไร จะมาเขียนมาอภิปรายนอกสภาให้ฟังครับ