'นพดล' อวยสุดลิ่ม หนุน5ข้อ รัฐบาลรับมือ 'กำแพงภาษีทรัมป์'

'นพดล' อวยสุดลิ่ม หนุน5ข้อ รัฐบาลรับมือ 'กำแพงภาษีทรัมป์'

'นพดล' อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอวยสุดลิ่ม หนุน5ข้อรัฐบาลรับมือ 'กำแพงภาษีทรัมป์' แนะรัฐบาลแจฃชัดมาตรการระยะสั้น ฝันไทยเป็นฮัปผลิตอาหารสำคัญของโลก

การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรศึกษาและติดตามมาตรการการขึ้นภาษีนำเข้าของประเทศสหรัฐอเมริกา และเสนอแนวทางให้รัฐบาลไปพิจารณาดำเนินการ ซึ่ง นายอรรถกร ศิริลัทธยากร สส.ฉะเชิงเทรา พรรคกล้าธรรม เป็นผู้เสนอ  มีสมาชิกแสาดงความประสงค์อภิปราย จำนวน 38 คน

นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ อภิปรายเสนอแนะว่า การประกาศภาษีตอบโต้ ของโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้สร้างแรงสั่นสะเทือนนไปทั่วโลก ตนติดตามการขับเคลื่อนเรื่องนี้ของรัฐบาลขอชื่นชมนายกรัฐมนตรีที่ดำเนินการเรื่องนี้อย่างทันการและรอบคอบมีคนกล่าวหาว่ารัฐบาลเชื่องช้าสับสนไม่รู้ใครจะไปเจรจาระหว่างนายพิชัย องนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  และนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ หรือจะเป็นหัวหน้าทีมไทยแลนด์คือเอกอัคราชทูตประจำกรุงวอร์ชิงตันดีซี เป็นผู้เจรจา

ขอเรียนว่าเรื่องนี้ตนยังไม่เห็นว่าล่าช้า เพราะทันทีที่ทราบว่า โดนัล ทรัมป์ จะรับตำแหน่งรัฐบาลจนถึงขณะนี้ผ่านมากว่า 90วันได้มีการตั้งคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์รวมถึงข้าราชการและนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญร่วมทีม

นายนพดล ยังกล่าวว่า ตนอยากเสนอรัฐบาลแนวทางของรัฐบาลที่ระบุว่า จะใช้นโยบายต้อง "รวดเร็วและแม่นยำ" ตนอยากเสนอว่า ควรจะใช้นโยบาย "ไม่ชักช้า รวดเร็ว และรอบคอบ" การเจรจาทั่วไปต้องรู้เขาและรู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง แต่ถ้าเรารู้เราและแบไต๋ให้เขามารู้เราด้วยรบร้อยครั้งก็แพ้ร้อยครั้งหลายเรื่องที่เป็นไพ่ในมือรัฐบาลไม่สามารถมาแถลงข่าวรายวันได้ ตนจึงไม่เห็นด้วยกับกระแสวิพากษ์วิจารณืที่ว่ารัฐบาลไม่ทำอะไร 

ทั้งนี้ 5ประเด็นที่รัฐบาลจะเจรจา

1.รัฐบาลบอกว่าเราต้องรักษาความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกา และยกระดับเป็นกุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตนเห็นด้วยกัยการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมในอนาคต

2.การเปิดตล่ดลดภาษี ลดอุปสรรคให้สหรัฐอเมริกา

3.ปัญหาที่เกิดขึ้นคือประเทศไทยได้ดุลการค้าจากสหรัฐอเมริกา4.5หมื่นล้านเราต้องลดการขาดดุลระหว่างไทยและสหรัฐให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตราบใดที่ไม่กระทบต่อเศรษฐกิจของเรา ฉะนั้น การที่รัฐบาลจะนำเข้าพลังงาน สินค้าเกษตรอาทิถั่วเหลืองและข้าวโพด รวมถึงเครื่องบิน เรื่องนี้มีความกังวลต่อสมาชิกว่า การนำเข้าสินค้าการเกษตร อาทิ ข้าวโพดจะทำให้สินค้าการเกษตรมีราคาถูกลงหรือไม่ เชื่อว่ารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องจะมีคำชี้แจงให้กับประชาชนได้

4.มีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าสินค้าที่ไปจากประเทศไทยเป็นสินค้าของไทยทั้งหมดหรือไม่เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องไปดู และ5.การส่งเสริมการลงทุนของไทยในสหรับอเมริกา อาทิการลงทุนในท่อน้ำมันในอลาสก้าของบริษัทพลังงานชั้นนำ เป็นต้น
 

ภายใต้แนวทาง ทั้ง5 ข้อ ตนเห็นด้วย แต่การแก้ปัญหาในระยะสั้นชื่นชมรัฐบาลที่จะมีการส่งเสริมสินเชื่อให้กับผู้ส่งออกรวมถึงสินเชื่อสำหรับผู้ที่จะไปลงทุนในต่างประเทศแต่ทั้งนี้อยากจะทราบความชัดเจนจากรัฐบาลว่ามีจำนวนเงินเท่าไหร่ และมีผู้ประกอบการที่ขอความช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ดีเห็นว่าที่ผ่านมารัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่เป็นธรรม แต่ถ้าได้ฟังจะเห็นความรอบคอบและรัดกุมเรื่องนี้ต้องดำเนินการอย่างมียุทธศาสตร์

ตนมีข้อเสนอ

1.การเจรจาต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เกษตรกร และเอสเอ็มอีจะได้รับผลกระทบ

2.การเร่งหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิมต้องทำจริงจังครั้งนี้

3.การปรับโครงสร้างการผลิดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขั้นของไทยต้องมีความจริงจังเสียทีเราไม่สามารถเป็นฮัปทุกสิ่งทุกอย่างในโลกได้

4.ทีมไทยแลนด์ต้องมีภารกิจและKPIที่ชัดเจน

5.ตนฝันอยากจะเห็นประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลกในท้ายที่สุด