'คสช.' ช็อปอาวุธกระหน่ำ 3 ปี 70,000 ล้าน!!
"คสช." ช็อปอาวุธกระหน่ำ 3 ปี 72,714 ล้านบาท!!
พลันที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัตจัดซื้อเครื่องบินสำหรับฝึกนักบินขับไล่จากประเทศเกาหลีใต้ รุ่น ที-50 จากเกาหลีใต้เพิ่มอีก 8 ลำ ในวงเงิน 8.8 พันล้านบาท ทำให้สังคมต้องไปดูว่าที่ผ่านมาในยุคการครองอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ผ่านมากว่าสามปี ได้จัดซื้ออาวุธอะไรไปบ้างในวงเงินเท่าไหร่
รถถัง (38 คัน 6,985 ล้านบาท)
นับตั้งแต่การเข้าสู่อำนาจของ คสช. มีการอนุมัติซื้อรถถังสองครั้ง ในส่วนของ กองทัพบก โดย ครั้งแรกปี 2558 มีการอนุมติซื้อรถถังแบบ VT- 4 จากประเทศจีน จำนวน 28 คัน ในวงเงิน 4,985 ล้านบาท และในปี 2560 ก็มีการอนุมัติซื้อรถถังรุ่นเดียวกันในล็อตที่ 2 จำนวน 10 คัน มูลค่า 2,017 ล้านบาท
โดยรถถังดังกล่าว เป็นรถถังหลักรุ่นส่งออกที่มีระดับเทคโนโลยีที่สูงที่สุดที่ประเทศจีนมี และเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลตัดสินในใจซื้อรถถัง VT-4 ก็เนื่องจากเป็นการจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างไทยกับจีน ทั้งนี้เป็นการซื้อเพื่อทดแทนรถพังแบบ OPLOT จากประเทศยูเครนที่ส่งไม่ครบตามสัญญา
นอกจากนี้ตามแผนงานและรายงานข่าวระบุว่า จากนี้ไทยจะต้องซื้อรถถัง รถถัง VT-4 จากจีน อีก 11 คัน เพื่อให้ครบ 1 กองพัน (ซึ่งจะประกอบด้วยรถถัง 49 คัน) โดยคาดว่าจะใช้เงินอีกประมาณ 2,000 ล้านบาท
รถเกราะล้อยาง (34 คัน 2,300 ล้านบาท)
เมื่อเดือน มิถุนายน 2560 ทีผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง แบบ VN1 จากประเทศจีน โดยคาดว่าจะเข้าประจำการที่กองพลทหารม้าที่ 1 (พล.ม.1 ) ที่กองพันทหารม้าที่ 10 (ม.พัน.10) ค่ายสุริยพงษ์ จ.น่าน และกองพันทหารม้าที่ 7 (ม.พัน.7) ค่ายพิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ ทั้งนี้มีการระบุว่ารถเกราะรุ่นดังกล่าว มีความทันสมัยเป็นรุ่นล่าสุด บรรทุกกำลังพลได้ 1 หมู่ปืนเล็ก (13 คน)ใช้เทคโนโลยีที่บริษัทซื้อจากประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ ในยุโรป ตัวถังแบบปิดสนิท มีระบบป้องกัน นิวเคลียร์ ชีวะเคมี มีระบบปรับอากาศระบบสูบและปล่อยลมยางอัตโนมัติ มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และใช้ยางล้อแบบเพิ่มความปลอดภัย นอกจากนี้มีการกระบุด้วยว่า รัฐบาลจีนยินดีที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจะมาประกอบรถในประเทศไทย
เฮลิคอปเตอร์ (10 ลำ 8,083 ล้านบาท)
โดยในปี 2559 รัฐบาลได้อนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบลำเลียง รุ่น Mi-17V5 จำนวน 6 ลำ โดยแบ่งเป็นการจัดซื้อสองครั้ง โดยครั้งแรกซื้อสองลำ มูลค่า 1,698 ล้านบาท และครั้งที่สองจำนวน 4 ลำ 3,385 ล้านบาท
โดยเครื่องบินรุ่นดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้หลายภารกิจ ใช้ลำเลียงพลทั่วไป ขนส่งบุคคลหรือสิ่งของ งานธุรการ ใช้เพื่อโดดร่มสู่พื้นที่ โดยตัวเครื่องจะมีสมรรถนะที่ทนทานต่อกระสุนปืนเล็กจากพื้นดิน โดยเครื่องรุ่นนี้จะมีมีขนาดอใหญ่กว่า เฮลิคอปเตอร์แบบแบล็กฮอว์ก แต่เล็กกว่าเฮลิคอปเตอร์ชีนุก โดย MI-17V5 สามารถจัดที่นั่งให้ให้ผู้โดยสารพร้อมสัมภาระได้ 24 นายหรือบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 36 นาย
นอกจากนี้เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมามีรายงานว่ารัฐบาลได้อนุมัติให้จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ "แบล็กฮอว์ก" จำนวน 4 ลำ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้เครื่องแบบแบล็กฮอว์กเป็นที่รู้จักกันดีและมีใช้ในไทยมาเป็นเวลานาน แต่ถูกระงับการซื้อขายไปเมื่อรัฐบาลนี้เข้าสู่อำนาจ จนกระทั่วปีนี้นี่เองที่ สหรัฐยอมรับที่จะขายให้ไทยจำนวน 4 ลำ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง -เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง (10 ลำ 6,599 ล้านบาท)
2559 กองทัพเรือเดินหน้าสร้าง "เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งหรือ OPV (Off-shore Patrol Vessel)" จำนวน 1 ลำ ในวงเงิน 5,482 ล้านบาท โดยเป็นงบประมาณสร้างเรือ 2,832,930,000 บาท และงบประมาณในการจัดหาอาวุธ 2,650 ล้านบาท โดยเรือลำนี้ รองรับปฏิบัติการทางทหาร ในการป้องกันประเทศ การรักษากฎหมาย และการช่วยเหลือประชาชน โดยกองทัพเรือได้ลงนามในสัญญาซื้อขายแบบเรือและพัสดุ กับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงกลาโหม ทั้งนี้เรือลำดังกล่าวจะ ติดตั้งจรวดนำวิถีพื้นสู่พื้นจำนวน 8 ท่อยิง และสามาถรอบรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 11.5 ตันได้ด้วย
ในปี 2558 มีกาอนุมัติและเดินหน้าสร้าง "เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง" จำนวน 4 ลำ มูลค่า 490 ล้านบาท และในปี 2559 มีการอนุมัติและเดินหน้าต่อเรือตรวจการณ์ชายฝั่งอีก 5 ลำ ในวงเงิน 627 ล้านบาท
เรือดำน้ำ (3 ลำ 36,000 ล้านบาท)
ปี 2560 รัฐบาลอนุมัติให้กองทัพเรือ จัดซื้อเรือดำน้ำรุ่น S26T จากประเทศจีน 1 ลำ ในวงเงิน 13,500 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว เป็นโครงการแบบผูกพันที่ต้องจัดซื้อเรือดำน้ำทั้งสิ้น 3 ลำ ในวงเงิน 36,000 ล้านบาท ในระยะเวลา 7 ปี
โดยมีการะบุว่ามีความจำเป็นที่ต้องซื้อเรือดำน้ำมาใช้เพื่อประโยชน์อันหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ หรือการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนี้มีการระบุว่าเรือดำน้ำดังกล่าวเป็นเรือดำน้ำที่ราคาถูกที่สุดเท่าที่มีการเสนอมา แม้จะถูกท้วงติงว่าอาจเป็นเทคโนโลยีที่ค่อนข้างล้าสมัย นอกจากนี้ยังมีการร้องขอให้ตรวจสอบเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้ออีกด้วย ทั้งนี้มีการระบุว่าเป็นการจัดซื้อโดยใช้งบ
เครืองบินฝึกนักบินขับไล่ (12 ลำ 12,747 ล้านบาท)
ปี 2560 รัฐบาลอนุมัติ จัดซื้อเครื่องบินฝึกนักบินขับไล่เบื้องต้นจากเกาหลีใต้ แบบ T50 - TH จำนวน 8 ลำ รวมมูลค่า 8,997 ล้านบาทโดยเป็นงบผูกพัน 3 ปีของกองทัพอากาศ
นอกจากนี้ก่อนหน้านี้ในปี 2558 กองทัพอากาศก้ได้ลงนามจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวจำนวน 4 ลำ มูลค่า 3,750 ล้านบาท
สำหรับเครื่องบินขับไล่ รุ่น T-50TH ซึ่งเป็นเครื่องฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นเพื่อทดแทนเครื่อง L-39 ที่มีสถาพเก่าและใช้งานมานานกว่า 20 ปีรวมถึงระบบทางเทคโนโลยีไม่ทันสมัยและใกล้สิ้นสภาพเต็มที ส่วนเครื่องบินแบบ T-50 TH เป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง นอกจากนำมาเป็นเครื่องฝึก แล้วยังสามารถใช้ปฏิบัติการทางอากาศได้หลากหลายภารกิจเพราะมีเทคโนโลยีทันสมัยและมีประจำการอยู่ใน ประเทศเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย โดย คาดว่าวันที่ 29 ก.ค.นี้ จะเซ็นสัญญาผูกพันต่อไป
รวมถึงกระแสข่าวจากสื่อนอกที่ระบุว่าไทยกำลังติดต่อขอซื้อปืนใหญ่จากประเทศอิสราเอล โดยยังไม่ระบุงบประมาณและจำนวนอีกด้วย
ทั้งนี้หากนับตั้งแต่รัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศได้ซื้ออาวุธไปแล้วรวมเป็นเงิน 72,714 ล้านบาท
ขอบคุณภาพจาก สมาชิก pantip.com ชื่อ Maverickx5, ถูกใจ ความคิดเห็น แชร์, ตรงไปตรงมา และ thaidefense-news.blogspot.com