'นศ.ใต้-นักวิชาการ' ประสานเสียงแก้ รธน.ปี 60 ที่บกพร่อง

'นศ.ใต้-นักวิชาการ' ประสานเสียงแก้ รธน.ปี 60 ที่บกพร่อง

เสวนากลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย สรุปแนวทางรธน.ปี 60 ที่บกพร่อง อยากได้ รธน.ลดอำนาจ กอ.รมน.- ใช้การเมืองนำทหาร-กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้เสรีภาพวิจารณ์ข้อบกพร่องโดยไม่ถูกดำเนินคดี

ห้องประชุม 14 ตุลา ถ.ราชดำเนิน เมื่อเวลา 13.30 น. กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญ 2560 ที่บกพร่อง" โดย "นายปิยรัฐ จงเทพ" ผู้คัดคัาน รธน.ฉบับ คสช. ได้กล่าวถึงประเด็น รธน.ปี  2560 กับการทำหมันภาคประชาชนว่า เรื่องการฉีกบัตรประชามติช่วงวันที่ 7 ส.ค.59 เป็นจุดเริ่มต้นการเรียกร้องให้สังคมไม่ยอมรับกติกาซึ่งการได้มาร่าง รธน.ที่ไม่ชอบธรรม จึงไม่เข้าสู่กระบวนการรับร่าง รธน. เพราะเห็นว่าหากเราร่วมกระบวนการตั้งแต่ต้น ต่อไปเราไม่อาจจะวิจารณ์ข้อบกพร่องในส่วนร่วมภาคประชาชนได้ ซึ่งในการเรียกร้องไม่รับร่าง รธน.ครั้งนั้น ก็มีกลุ่มที่เรียกร้องให้โหวต No ด้วย ส่วนที่ตนไม่เห็นด้วยกับร่าง รธน.ที่ผ่านมาแล้วแต่ไปลงสมัครผู้แทนราษฎรในนามพรรคอนาคตใหม่ เพราะเห็นว่าไม่มีทางอื่นแล้ว นอกจากวิธีหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การแก้ไข รธน.ในสภา แต่ รธน.ฉบับนี้ ฉบับที่ 20 ถือว่าแก้ยากมากเหมือนที่เขาพูดกันว่า รธน.ฉบับนี้เพื่อฉีกมากกว่าแก้

157157647998

โดยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมีเพียง 3 ฉบับเท่านั้นที่ร่างแบบนานาอารยประเทศ ล่าสุดคือ รธน.ฉบับปี 2540 ที่เข้าข่ายประชาธิปไตยมากที่สุดแล้ว ส่วนเมื่อมีการัฐประหารปี 2549 แล้วมาออก รธน.ฉบับปี 2550  ที่บอกว่าผ่านประชามติมา และให้รับไปก่อนแล้วแก้ไข โดยเขาพูดกันว่าออกแบบดีไซน์มาเพื่อไล่นายทักษิณ ชินวัตร ไม่ให้กลับมามีอำนาจ และจัดการระบอบทักษิณ โดยลิดรอนสิทธิบางส่วน แต่สุดท้ายแล้วการ กระทำนั้นนำไปสู่วาทะกรรมทั้เรียกว่าเสียของ จนมีฮีโร่ตัวใหม่ออกมาเพียบ แล้วไม่ตอบสนองสิ่งที่พวกเขาต้องการทั้งหมด ซึ่งการเขียน รธน.ขึ้นมาแต่ละครั้งล้วนเขียนมาเพื่อตอบสนองกลุ่มของตน ส่วน รธน.ฉบับปี 2560 ที่เขียนขึ้นมาใหม่ จากการรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค.57 คราวนี้ถูกเรียกว่า รธน.ฉบับแก้แค้น แบบถอนรากถอนโค่น จากที่ รธน.ฉบับปี 2550 ซึ่งพวกเขารู้สึกว่าแก้ไม่สำเร็จ โดยืรธน.ปี 2560 นี้เหมือนถอยหลังกลับไปไกลมากถึงปี 2500 ก็ว่าได้ ซึ่ง รธน.ฉบับปี 2560 ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ที่เราไม่รู้ว่าอะไรทำถูกต้อง โดยเราทำอะไรก็ผิดแต่พวกเขาทำอะไรก็ไม่ผิด ซึ่งตั้งแต่ รธน.ชั่วคราวปี 2549 หลังรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ , รธน.ฉบับปี 2550 , รธน.ชั่วคราวปี 2557 หลังรัฐประหาร (รัฐบาลยิ่งลักษณ์) จนมาถึง รธน.ปี 2560 คือวิวัฒนาการของการได้มาซึ่งระบอบเผด็จการในรัฐธรรมนูญ โดยนำเผด็จการเข้าไปฝังใน รธน.บางคนอาจใช้คำว่าเผด็จซ่อนรูป สำหรับข้อเสนอในการแก้รัฐธรรมนูญฯ

ข้อแรกที่ยังมีความหวัง คือ การเข้าไปแก้ในสภาผู้แทนราษฎร อาศัยอำนาจของประชาชน ส่งต่อผ่าน ส.ส. นี่คือช่องทางสันติวิธีและเป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยที่สุด โดยลำดับแรกที่ต้องพิจารณาแก้ คือการยกเลิกมาตรา 279 ที่เรียกว่ามรดกบาป ซึ่งไปรับรองอำนาจออกคำสั่ง คสช. ต่างๆ ซึ่งเป็นคำสั่งล็อกแขน ล็อกขา และการแก้มาตรา 269-272 คือที่มาของ ส.ว. ที่เป็นการวางกลไกไว้ของ คสช.ซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ที่ถูกเรียกว่าสภานายพล คอยโหวตสวน ซึ่งการแก้ 2 ส่วนนี้ก็มองว่ายาก คงจะไม่ผ่าน เพราะเขาคงไม่แก้ ส่วนอีกช่องทาง คือเป็นไปได้ที่ประชาชนออกมาเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง รธน.ทั้งฉบับ โดยในต่างประเทศเขาก็เคยมี ซึ่งปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นเหล่านั้นไม่ใช่เกิดจากเรา แต่เกิดจากการกระทำของพวกเขาที่ไม่เอาผิดกลุ่มตัวเอง แต่เอาผิดอีกกลุ่มหนึ่งได้ เช่น กรณีการตรวจสอบจัดโต๊ะจีนของพรรคการเมือง ทั้งนี้ก็เป็นการมองถึงช่องทางต่างๆ ในหลักวิชาการที่อาจเป็นไปได้

157157651378

ขณะที่ นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิฯ ม.มหิดล กล่าวถึงประเด็น รธน.ปี 2560 กับสูตรคำนวณที่บกพร่องว่า อย่างที่พูดกันว่า รธน.นี้แก้ยาก ดังนั้นมีโอกาสที่จะเลือกตั้งใหม่ได้อีกในช่วงของ รธน.นี้ ดังนั้นหากเราไม่พูดถึงสูตรคำนวณให้ชัดเจนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดิมต่อไป ทั้งนี้สำหรับการแก้ รธน. ตนมองว่า มี 3 ส่วนที่ต้องดูอำนาจ-ความรับผิดชอบ-การตรวจสอบได้ ตัวอย่างเรื่องของกำหนดให้มี ส.ว.นั้น มีอำนาจเยอะ เช่น ตั้งองค์กรอิสระ แต่ รธน.กลับทำให้คนที่มีอำนาจเยอะกลับความรับผิดชอบน้อยและการตรวจสอบกลับน้อยมาก ไม่มีความสมดุลกัน ดังนั้นกระบวนการที่มาของ ส.ว.จึงมีความสำคัญและส่วนนี้ก็ยังเป็นปัญหา ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ส. ก็ใช้ระบบสัดส่วนผสมซึ่งระบบไม่ได้แย่ แต่ของเราเอามาทำให้พิศดาร คือ มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

ใบแรกคือเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ จากเสียง 35 ล้าน แล้วมาดูว่าพรรคไหนได้คะแนนนิยมสูงเพื่อมาจัดสัดส่วน ส.ส.ว่าจะได้กี่ที่นั่ง ก็นับตามคะแนนนิยมที่ประชาชนทั้งประเทศจะให้คุณ ส่วนบัตรอีกใบก็เลือก ส.ส.เขต แล้วก็เอามาหักคำนวณกับคะแนนนิยมเติมเต็มที่นั่งกันไป ขณะที่เรื่องที่งงกันคือเพราะเหมือนซื้อเบียร์ห่วงเหล้าที่เอาคนไปพ่วงกับพรรค พรรคไปพ่วงกับคน แต่หากเป็นระบบเดิมจะแสดงเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชน

157157655718

ดังนั้นระบบการเลือกตั้งปัจจุบันไม่ได้สะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนทั้งหมด อย่างไรก็ดีสำหรับการแก้ รธน.นั้นจะยากหรือไม่ ต้องขึ้นกับว่าอยู่ที่ใครแก้ ถ้าฝ่าย ส.ว.เขาจะร่วมแก้คงไม่ยากเมื่อไปร่วมกับฝ่ายรัฐบาล แต่ถ้าเป็นฝ่ายค้านเสนอก็อาจจะยากหน่อย เช่นเดียวกับหากเป็นส่วนของประชาชนเสนอ โดยการแก้ รธน.ฉบับนี้ เปรียบเหมือนการต้องผ่านภูเขา 3 ลูก คือ หาก ส.ส.เสนอแก้ จ้องเสียง 1 ใน 5  หรือ ส.ส. ร่วม ส.ว. หรือประชาชนรวมรายชื่อ 50,000 ชื่อเสนอได้แต่การเสนอชื่อนั้นต้องผ่าน ครม. อยู่ดี โดยในวาระที่ 1 จะโหวตให้เสนอผ่านหรือไม่ยังต้องให้ได้ 376 เสียงแต่ในนั้นต้องมีเสียง ส.ว. อีก 84 คนด้วย (1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว.) ส่วนภูเขาลูกที่ 3 คือ เมื่อผ่านวาระที่ 3 ต้องมี ส.ส.20% ของทุกพรรคและ ส.ว.อีก 84 คนที่ต้องเห็นด้วย ดังนั้นในการแก้ รธน. ควรเป็นวาระแห่งชาติ ที่ทั้ง ส.ส.- ส.ว.ร่วมกัน และมีการทำประชามติ

ด้าน น.ส.ซูรัยยา วาหะ นักศึกษา กลุ่ม 2P2D (องค์การนักศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการเมืองและประชาธิปไตยปัตตานี) กล่าวถึงประเด็นปัญหาชายแดนใต้ที่ รธน.ปี 2560 ไม่อาจแก้ว่า จากประวัติศาสตร์ลำดับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในส่วนของปัตตานี จะเห็นว่าหนึ่งในปัญหายืดเยื้อเรื้อรังมาตลอด คือการรวมศูนย์อำนาจที่ผู้ใช้อำนาจรัฐพยายามกดขี่ กดทับให้พื้นที่ปัตตานีถูกรวมศูนย์ไว้กับส่วนกลาง กทม. แล้ว รธน.ปี 2540 มีความพยายามปรับรูปแบบการกระจายอำนาจสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น แต่เมื่อรัฐประหารปี 2557 คสช.ออกประกาศให้หยุดการได้มาซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือหยุดเลือกตั้งท้องถิ่นทุกรูปแบบชั่วคราวจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง แล้วเมื่อมี รธน.ชั่วคราวปี 2559 ก็ไม่ได้ชัดเจนเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จนเมื่อมี รธน.ปี 2560 ได้ระบุมาตราเกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีการจัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหลักแห่งการปกครองตนเองดังเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นตามรูปแบบและวิธีการของการปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ เห็นได้ว่า มีการให้อำนาจในด้านการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่น แต่ในทางปฏิบัติการกระจายอำนาจที่ระบุไว้ดังกล่าวก็เป็นส่วนที่ถูกเขียนไว้เท่านั้น เพราะรัฐยังไม่ได้ให้อิสระกับองค์กรปกครองท้องถิ่นจริง ในการที่จะกำหนดเจตนารมณ์หรือสังคมของท้องถิ่นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งอาจมาจากบรรยากาศของระบบการปกครองที่ไม่สามารถเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพแสดงความต้องการและเจตจำนงของตนเองได้ จึงทำให้มีความรู้สึกว่าอำนาจและบทบาทของการปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้ รธน.ปี 2560 ยังคงมีสถานะการรวมศูนย์เอาไว้ ทำให้ รธน.ฉบับนี้ ไม่สามารถชูคุณค่าของท้องถิ่นได้และทำให้ประชาชนไม่สามารถออกแบบสังคมตามที่ตัวเองต้องการได้ อีกทั้งยังไม่สามารถกำหนดเจตจำนง หรือความต้องการด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษาให้สอดคล้องความเป็นอยู่ของพวกเขาได้

โดยมีหลายแสนคนที่ต้องอพยพย้ายไปหางานทำเพื่อหาเงินเพิ่มในแถบประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งพวกเราไม่สามารถจะเป็นเจ้าของทรัพยากรในพื้นที่ได้ และไม่สามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจในสังคมของตัวเองได้ ประเด็นสำคัญของการกระจายอำนาจ คือการมีสิทธิที่จะออกแบบสังคมของตนเอง และมีสิทธิที่จะไม่ถูกใครกดขี่กดทับ หรือสร้างความไม่ชอบธรรมต่างๆ ขึ้น โดยความต้องการของคนในพื้นที่ต่อรูปแบบท้องถิ่นที่ควรได้รับการกระจายอำนาจนั้น เห็นได้จากการชูนโยบายการกระจายอำนาจในช่วงก่อนการเลือกตั้งที่สามารถซื้อใจประชาชนได้จริง ที่สำคัญการกระจายอำนาจไม่ได้มีความสำคัญเพียงเฉพาะในพื้นที่ปัตตานีเท่านั้น แต่ ในทุกพื้นที่ต่างมีความพิเศษในตัวเอง เราต่างมีอัตลักษณ์ ภาษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างจากส่วนกลาง กทม. ดังนั้นต้องการให้มีการออกแบบสังคมที่สอดคล้องวิถีชีวิตของตัวเอง ดังนั้นนัฐธรรมนูญที่คลี่คลายปัญหานี้ ต้องให้มีการปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เห็นชัดเจนและทำให้ได้

157157662489

น.ส.ซูรัยยา วาหะ ยังกล่าวถึงนโยบายความมั่นคง ของทหารด้วยว่า ได้เริ่มเข้ามาปี 2547 ช่วงเหตุการณ์ปล้นปืน ทำให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกนับตั้งแต่นั้น จนถึงปัจจุบัน ทำให้สร้างบรรยากาศเริ่มสร้างช่องว่างต่อความไว้วางใจระหว่าไทยพุทธ-ไทยมุสลิม และ กฎหมายพิเศษก็ถูกบังคับใช้มานานกว่า 15 ปีแล้ว ซึ่งหลายๆครั้งกฎหมายพิเศษเหล่านี้ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เป็นไปอย่างชอบธรรมทั้งๆที่มีการละเมิดสิทธิประชาชนอยู่หลายครั้ง มีการจับกุมตัวภรรยาเพื่อกดดันให้สามีออกมามอบตัว อย่างเหตุการณ์ล่าสุดที่ควบคุมตัวหญิง ชาวจ.นราธิวาส เข้ากระบวนการซักถามเป็นเวลา7 วัน ทำให้เขาไม่ได้กลับไปดูแลลูกที่ยังเล็กและลูกอีกคนที่ป่วยด้วย กฎหมายพิเศษนี้ส่งผลให้คนที่ถูกกระทำได้รับผลกระทบรวมทั้งครอบครัว โดยเวลา 15 ปีนี้ก็นานพอสมควรแล้วที่ได้พิสูจน์ว่ากฎหมายพิเศษ ทั้งกฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เสถียรหรือไม่ หรือทำให้ปัญหายังคงเรื้อรังและอาจลามไปถึงการสร้างเงื่อนไขในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ จึงเสนอว่า รธน.ฉบับใหม่ควรพิจารณาในการมีอยู่ของกฎหมายพิเศษทั้ง 2 ฉบับนี้ด้วย และอีกประเด็นหนึ่งคือ บทบาทของ กอ.รมน.ในพื้นที่ ที่มีด่านตรวจปักหลักในพื้นที่เต็มไปหมดซึ่งด่านตรวจในพื้นที่นั้นไม่ใช่มองเพียงด่านตรวจปกติธรรมดา แต่กลับเป็นสัญลักษณ์ที่คอยสร้างความหวาดกลัว คอยเตือนใจประชาชนในพื้นที่ว่าใครกำลังมีอำนาจเหนือดินแดนนั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาต่อประชาชนปกติแล้วก็ยังเป็นปัญหาต่อกระบวนการเจรจาสันติภาพด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างบรรยากาศที่ส่งผลต่อบรรยากาศเจรจาทำให้โต๊ะการเจรจาไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น ฝ่ายผู้เห็นต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่ไว้วางใจต่อกระบวนการที่ดำเนินอยู่ บวกกับรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้มีกฎหมายรับรองว่ากลุ่มผู้เห็นต่างจะปลอดภัยระหว่างที่มีกระบวนการเจรจาสันติภาพ โดยการที่ รธน.บกพร่องนั้นต้องดูว่า บกพร่องแค่ในปี 2560 หรือบกพร่องมานานแล้วสำหรับการแก้ปัญหา

อย่างไรก็ดี ในการแก้ รธน.นั้น ประเด็นที่ต้องการให้แก้เร่งด่วน คือ ลดอำนาจ กอ.รมน. และลดการทหารนำการเมืองในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยให้การเมืองเข้ามาแก้ปัญหาแทนการทหาร โดย 15 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าที่ให้การทหารนำการเมืองแก้ปัญหาไม่ได้ ควรแก้ รธน.ปี 2560 ให้เป็นฉบับของประชาชน มีกระบวนรับฟังความเห็นในพื้นที่อย่างจริงจัง ให้คนในพื้นที้เข้าถึง เข้าใจเนื้อหาและรับรู้ข้อบกพร่องของ รธน.นี้ได้ ซึ่งในกระบวนการแก้ รธน. คงต้องพึ่งคนหลายภาคส่วนทำให้เกิดการเข้าถึงคนทุกกลุ่มได้จริงโดยต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในพลวัตรการเมืองส่วนกลาง กทม.และการเมืองปัตตานี และ รธน.ใหม่ ต้องให้สิทธิและเสรีภาพการแสดงความเห็นเต็มที่สำหรับคนที่ต่างด้วย จะทำให้บรรยากาศความรุนแรงคลี่คลายลงได้ เราคงไม่เรียกร้องให้แก้มาตรา 1 แต่สิ่งที่ทำให้ดีขึ้นได้ คือการลดด่านทหารน้อยลง การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นสามารถพออกแบบสังคม การศึกษาให้สอดคล้องเข้ากับวิถีชีวิต อะไรที่แก้ได้ก่อนก็ควรลองแก้ ขณะที่คนในสังคมไม่ใช่มีคยเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นควรต้องให้ทุกกลุ่มมีส่วนร่วม และควรต้องให้วิพากษ์วิจารณ์หาข้อบกพร่องและเสนอแนวทางแก้ไข ให้เกิดความสมบูรณ์ของกฎหมายมากที่สุด ไม่ใช่ถูกจับกุมดำเนินคดีเมื่อออกมาแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของ รธน.