ผู้ว่ารฟม.แจงล้มประมูลสายสีส้ม ยืดเวลา-เพิ่มโอกาสเอกชนแข่งขัน
ผู้ว่ารฟม.แจงล้มประมูลสายสีส้ม ยืดเวลา-เพิ่มโอกาสเอกชนแข่งขัน ด้านปลัดคมนาคม แจงข้อกังวลตั้งบริษัทลูดบริหารที่รถไฟ ยันมีความเป็นมืออาชีะ
ที่รัฐสภา นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(ผู้ว่าฯรฟม.) แถลงชี้แจงกรณีถูกนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทยอภิปรายพาดพิงกรณีแก้ไขเกณฑ์การประมูลรถไฟสายสีส้ม ทั้งที่ไม่ได้เป็นกรรมการตามมาตรา36แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ นั้น
ขอชี้แจงว่าในมาตรา35ระบุให้หน่วยงานเจ้าของโครงการมีหน้าที่จัดทำเอกสารร่างประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าประมูล จึงเป็นเหตุให้ตนต้องเข้าร่วมประชุม
ขณะที่มาตรา38 ยังระบุอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของโครงการในการให้ความเห็นชอบเอกสารเชิญชวน รวมถึงมาตรา39 หลังจากเห็นชอบร่วมลงทุนให้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ดังนั้นการเขาร่วทประชุมดังกล่าวจึงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานเจ้าของโครงการตามกฎหมาย
ส่วนการยกเลิกการประมูลนั้นยืนยันว่า เป็นการดำเนินการเพื่อให้เอกชนสามารถปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกับที่ คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือพีพีพีกำหนด โดยเฉพาะการใช้เกณฑ์ราคา70: 30 ซึ่งขณะนี้ได้มีการขายเวลาออกไปอีก 45วันเพื่อให้เอกชนมีเวลาเตรียมเอกสารเพื่อให้รฟม.พิจารณาภายใน 70 วัน
ส่วนข้อท้วงติงเกี่ยวกับสายสีส้มฝั่งตะวันออก ต้องยอมรับว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุโมงค์ตลอดสาย ผ่านย่านชุมชน มีอาคารข้าเคียงอ่อนไหวต่อการจุดเจาะอุโมงค์ ซึ่งอาจกระทบอาคารอนุรักษ์ที่อาจเสียหายได้
จึงเป็นประเด็นให้รฟม. และคกก.คัดเลือกพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ ซึ่งระหว่างปรับปรุงก็มีบริษัทเอกชน ยื่นฟ้องและศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวการบังคับใช้ตามหลักเกณฑ์ใหม่
ส่วนที่มีการยกเลิกการประมูลโดยไม่รอคำสั่งศาลนั้น เนื่องจากรฟม.ประเมินแล้วว่า หากยกเลิกแล้วเริ่มใหม่จะใช้เวลาเพียง6 เดือน แต่หากรอคำสั่งศาลจะใช้เวลาถึง 18 เดือน เป็นที่มาของการยกเลิกประกาศเชิญชวนเอกชน และได้มีการประกาศเชิญชวนใหม่เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมาทั้งนี้คาดว่าไม่เกินเดือนก.ค.จะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู้ที่ประชุมครม.และเริ่มโครงการได้ในเดือนส.ค.ต่อไป
อย่างไรก็ดีหลังการยกเลิกประกาศเชิญชวนเอกชน ต้องถือว่าเหตุแห่งการฟ้องร้องคดีที่ค้างอยู่ได้จบสิ้นแล้วหลังจากนี้จะส่งหนังสือถึงศาลเพื่อสั่งจำหน่ายคดีต่อไป
ด้านนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม ชี้แจงถึงการจัดสรรที่ดินการรถไฟฟ้าซึ่งถูกนายทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อชาติ พาดพิงถึง ยืนยันว่าเวลานี้มีที่ดินการรถไฟที่ถูกจัดสรรไปเป็นจำนวนกว่า 5,000กว่าไร่ ซึ่งยังเหลือที่ดินที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมนำมาใช้อีกกว่า50,000ไร่ จึงเปนที่มาของการตั้งบริษัทลูกเพื่อมาบริหารจัดการ โดยมีกระบวนการที่เป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ
“การรถไฟเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจ เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่อยากมีข้อพิพาททางคดีกับใคร ดังนั้นการจะดำเนินคดีหรือขึ้นสู่ศาลต้องมีขั้นตอนมีเหตุผลที่สมควร ย้ำว่าการรถไฟทีวิธีคิดเป็นขั้นตอนมาตลอด รอบคอบ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ”