'ปริญญา' ชี้ 3ต้นตอ สังคมมอง 'ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม' หลัง 'ธรรมนัส' รอดคดี
'อ.นิติศาสตร์ มธ.' แย้ง3ปมเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อเป็นต้นเหตุให้ สังคมมองศาล ไม่ยุติธรรรม พร้อมมอง 'ศาลยุติธรรม' ไม่ให้ประกันตัวบางคดี ลดเครดิตเชื่อถือจากสังคม
นายปริญญา ระบุด้วยว่า 2. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า กฎหมายอาญาของแต่ละประเทศกำหนดฐานความผิดไว้แตกต่างกัน โดยชี้ว่า การกระทำอย่างเดียวกันกฎหมายของบางประเทศอาจกำหนดให้เป็นความผิดแต่กฎหมายของไทยอาจไม่กำหนดให้เป็นความผิดก็ได้ ดังนั้น จึงเอาคำพิพากษาของศาลต่างประเทศมาใช้ไม่ได้ เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น เพราะการกระทำนี้ของ ร.อ.ธรรมนัสถือเป็นความผิดทั้งต่างประเทศ และ ในประเทศไทยด้วย
และ 3. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความว่า คำพิพากษาอันถึงที่สุด หากรวมถึงคำพิพากษาของศาลต่างประเทศด้วยอาจทำให้ไม่สามารถกลั่นกรองหรือตรวจสอบ ความชอบด้วยหลักนิติธรรมของกระบวนการพิจารณาของศาลต่างประเทศได้ ตนเห็นด้วยหากเป็นบางประเทสที่กระบวนการยุติธรรมและระบบศาลที่ถูกเผด็จการแทรกแซง แต่ประเทศออสเตรเลียไม่มีปัญหานั้น อีกทั้งหากศาลรัฐธรรมนูญจะตรวจสอบสามารถร้องขอได้โดยตรงจากศาลออสเตรเลียได้ ไม่ใช่ขอให้ผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง และกระทรวงต่างประเทศนำสำเนาคำพิพากษามาแสดง และเมื่อไม่มี จึงสรุปว่าตรวจอสบไม่ได้ ทำให้เหตุผลดังกล่าวเป็นปัญหา
"ผมเห็นว่าเหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญมีปัญหา ทำให้คนรู้สึกไม่ยอมรับ และคนทั่วไปรวมถึงคนในวงกฎหมายเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างความยุติธรรรม แต่ไม่ได้มีเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามทั้งคดีนี้และคดีก่อนหน้านี้อีกหลายคดี แต่ศาลยุติธรรมยังถูกตั้งคำถามเรื่องการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีบางคดี และไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่คนรู้สึกกับศาลว่าไม่ให้ความเป็นธรรมมากเท่านี้ ซึ่งกระทบต่อความเชื่อถือของผู้คนที่มีต่อฝ่ายตุลาการ และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่ทุกคน และ ทุกฝ่าย เสมอกันภายใต้กฎหมาย และดังนั้น ด้วยความเคารพ จึงเป็นเรื่องด่วนที่ศาลควรต้องแก้ไข” นายปริญญา ระบุ