'ประวิตร'นำถก'กนช.'เห็นชอบแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ แก้ท่วม-แล้ง

'ประวิตร'นำถก'กนช.'เห็นชอบแผนปฏิบัติการทรัพยากรน้ำ แก้ท่วม-แล้ง

"ประวิตร" นำถก กนช. รับทราบสถานการณ์แหล่งน้ำ สทนช. ขับเคลื่อน 10 มาตรการรับฤดูฝน ป้องกันน้ำท่วม เห็นชอบ แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ผ่านระบบ Thai Water Plan เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการเป็นเอกภาพ

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ผ่าน VDO Conference โดยมี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมรับทราบสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำ ปัจจุบัน (22 มิ.. 64) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำ 32,344 ล้านลบ..(45%) ขนาดกลางมีปริมาณน้ำ 2,732 ล้าน ลบ..(50%) และขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำ 1,868 ล้าน ลบ..(37%) ซึ่งสทนช. ได้ดำเนินการขับเคลื่อน 10 มาตรการเพื่อรับมือฤดูฝนอยู่ในขณะนี้และมีความคืบหน้าในภาพรวมอย่างน่าพอใจ โดยมุ่งเน้นการป้องกันน้ำหลาก น้ำท่วม และการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า ให้เพียงพอ ต่อการอุปโภคบริโภค การเกษตร และการอุตสาหกรรม และรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ที่สำคัญได้แก่แนวทางการแก้ปัญหา ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศแม่น้ำโขง ต่อวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัด

พล..ประวิตร ได้เน้นย้ำให้ สทนช. และ กต. เร่งดำเนินการตามนโยบายนายกฯ ในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศแม่น้ำโขงต่อวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง และให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำโขง อย่างใกล้ชิด พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ โดยใช้กลไกคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด ดำเนินการ ต่อไป

จากนั้น กนช. ได้พิจารณาเห็นชอบเรื่องที่สำคัญ คือการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำผ่านระบบ"Thai Water Plan" ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการ และฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเห็นชอบให้ทบทวนบทบาท ของหน่วยงาน บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้มีเอกภาพการทำงานมากขึ้น

พล..ประวิตร ยังได้กำชับ สทนช.ให้กำกับ ติดตาม และเร่งรัดแผนงาน โครงการต่างๆ ภายใต้แผนแม่บทน้ำ และ ...น้ำให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายและกรอบเวลาที่กำหนด โดยมุ่งให้ประชาชนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ยั่งยืน และลดผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ภัยแล้ง และน้ำเค็มรุก อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป