เช็ค 'อาการโควิด' ต่างจาก 'ไข้เลือดออก' อย่างไร หลังพบโรคไข้เลือดออกบุกกรุง

เช็ค 'อาการโควิด' ต่างจาก 'ไข้เลือดออก' อย่างไร หลังพบโรคไข้เลือดออกบุกกรุง

เช็คให้ชัด! "อาการโควิด" ต่างจาก 'ไข้เลือดออก' อย่างไร หลังกองควบคุมโรคติดต่อ ประเมินกราฟผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพฯ มีโอกาสพุ่งสูงตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าอาการแบบไหนเป็นโควิด หรือ ไข้เลือดออก

ในช่วงฤดูฝนทุกปี หลายจังหวัดในประเทศจะพบการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2564 มีแนวโน้มการแพร่ระบาดมากกว่าเดิม

ที่ผ่านมา "กองควบคุมโรคติดต่อ" สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.) เร่งเดินหน้ารณรงค์ให้ประชาชนป้องกันโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ทำความสะอาดบ้านและรอบที่อยู่อาศัย เก็บภาชนะที่มีน้ำขังไม่ให้มีแอ่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เป็นต้นเหตุสำคัญในการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก 

โรคไข้เลือดออกเกิดจาก "ไวรัสเดงกี่" มียุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรคจากระยะฟักตัวในยุงประมาณ 8-12 วัน เมื่อยุงลายไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อไปยังผู้ที่ถูกกัด โดยมีระยะฟักตัวในคนประมาณ 5-8 วัน จะสั้นที่สุด 3 วันและนานที่สุด 15 วัน

"กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบไปที่สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออก "สำนักอนามัย" รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่เดือน ม.ค.-ก.ค.2564 พบผู้ป่วยจำนวน 4,878 ราย มีผู้เสียชีวิต 4 ราย โดยมีกลุ่มเสี่ยงอายุ 5-14 ปี โดย กทม.ยังเป็นจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด

สำหรับอัตราป่วยตาม "กลุ่มอายุ" ที่พบสูงสุดในกรุงเทพฯ 3 อันดับแรก 1.กลุ่มอายุ 5-14 ปี (43.76 %ต่อประชากรแสนคน) 2.กลุ่มอายุ15-34 ปี (29.40 %ต่อประชากรแสนคน) และ 3.กลุ่มอายุ 0-4 ปี (24.52 %ต่อประชากรแสนคน) ซึ่ง "กองควบคุมโรคติดต่อ" ประเมินสถานการณ์ว่าตั้งแต่เดือน ..-..2564 จะมีกราฟผู้ป่วยไต่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสูงสุดที่เดือน ..แล้วลงมาในเดือน .. (ตามภาพ)

162918650397

"กรุงเทพธุรกิจ" ยังตรวจสอบไปที่อันดับผู้ป่วยสะสมในพื้นที่เขตในกรุงเทพฯ 10 อันดับแรก จากยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 3 ..-3 ..2564 ประกอบด้วย

1.บางขุนเทียน ป่วยสะสม 74 ราย

2.จอมทอง ป่วยสะสม 63 ราย

3.บางแค ป่วยสะสม 51 ราย

4.ยานนาวาป่วยสะสม 48 ราย

5.ดินแดง ป่วยสะสม 47 ราย

6.ธนบุรี ป่วยสะสม 37 ราย

7.สวนหลวง ป่วยสะสม 33 ราย

8.ลาดกระบัง ป่วยสะสม 30 ราย

9.ลาดพร้าว ป่วยสะสม 29 ราย

10.บางนา ป่วยสะสม 28 ราย

ขณะที่ "อัตราผู้ป่วย" สะสมที่นำไปเฉลี่ยกับจำนวนประชากร 1 แสนรายในเขตต่างๆ พบมีผู้ป่วยสะสมมากที่สุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย

1.ยานนาวา 62.69%

2.จอมทอง 42.48%

3.ดินแดง 40.69%

4.บางขุนเทียน 39.75%

5.บางกอกใหญ่ 37.58%

6.ธนบุรี 35.79%

7.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 33.72%

8.ราชเทวี 33.21%

9.ปทุมวัน 32.30%

10.บางนา 31.63%

162918651830

ที่สำคัญจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก และเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่าอาการของทั้งสองโรคใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะภาวะ "ไข้สูง" ซึ่งเป็นสัญญาณแรกของอาการป่วย แต่ในภาวะทางร่างกายด้านอื่นยังมีความแตกต่างกัน เปรียบเทียบได้ดังนี้

"ไข้เลือดออก" จะมีไข้จะสูงเกิน 38.5 องศา หรืออาจสูงถึง 40-41 องศาในบางรายอาจมีอาการชักเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะในเด็กที่มีประวัติที่มีอาการชักมาก่อน มีอาการเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกตามไรฟัน และมีจุดแดงกระจายตาม แขน ขา ลำตัว

"โควิด-19" จะมีไข้จะสูงมากกว่า 37.5 องศา มีอาการไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อ 4 วัน อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนท้องเสียร่วมด้วย หายใจลำบากมีอาการไอร่วมใน บางรายรุนแรงขั้นปอดอักเสบหรือปอดบวม

162918668467

สำหรับ "ไข้เลือดออก" หากมีอาการป่วย มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ซึ่งอาจมีลักษณะคล้ายกันหลายโรคทั้งไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และโควิด-19 หากทานยาลดไข้ 1-2 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ขอให้รีบไปพบแพทย์ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันที

ทั้งหมดเป็นสถิติผู้ป่วย "ไข้เลือดออก" ซึ่งยังอยู่ในสถานการณ์ "ยกการ์ดสูง" จากสิ่งที่ "กองควบคุมโรคติดต่อ" ประเมินกราฟผู้ป่วยในกรุงเทพฯ มีโอกาสพุ่งสูงตั้งแต่เดือน ..เป็นต้นไป และเป็นช่วงเดียวกับการป้องกันการระบาดเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในกรุงเทพฯ ต้องเฝ้าระวังสูงสุดตามไปด้วย.