เช็ค 7 ศูนย์พักคอย กทม.ปรับตั้ง 'รพ.สนาม' รับผู้ป่วย 'โควิด' สีเหลือง

เช็ค 7 ศูนย์พักคอย กทม.ปรับตั้ง 'รพ.สนาม' รับผู้ป่วย 'โควิด' สีเหลือง

เช็ค 7 ศูนย์พักคอย 6 เขตในกทม. ปรับตั้ง "รพ.สนาม" รับผู้ป่วย "โควิด" กลุ่มสีเหลืองเพิ่ม 1,036 เตียง

วันที่ 20 .. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ค "กรุงเทพมหานคร" เผยแพร่ข้อความการจัดตั้งศูนย์พักคอย มีเนื้อหาระบุว่า ยกระดับไปอีกขั้น! กทม.ปรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ 7 แห่ง ให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต รองรับการรักษาผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองสามารถเพิ่มเตียงได้กว่า 1,000 เตียง

เนื่องจากขณะนี้โรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามมีผู้ป่วยติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มสีเหลืองและสีแดงเข้ารักษาตัวเพิ่มขึ้นทุกวันกทม.จึงได้ปรับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) ที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องเอกซเรย์ปอด ให้เป็นโรงพยาบาลระดับกลุ่มเขต (Community Isolation Plus) 7 แห่ง สามารถเพิ่มเตียงสนามได้กว่า 1,000 เตียง จากเดิมที่มีโรงพยาบาลสนามอยู่แล้ว 7 แห่ง จำนวนกว่า 2,000 เตียง รวมแล้วจะมีเตียงโรงพยาบาลสนามรองรับผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 เตียง ทำให้ผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเหลืองที่เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด  มีเตียงรองรับเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหายและกลับบ้านไปใช้ชีวิตปกติกับครอบครัวได้มากขึ้น

สำหรับรายชื่อ 7 ศูนย์พักคอยที่ยกระดับเป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต รวม 1,036 เตียง ประกอบด้วย

1.ศูนย์สร้างสุขทุกวัยจตุจักร เขตจตุจักร รองรับ 120 เตียง

2.วัดสุทธิวราราม เขตสาทร รองรับ 106 เตียง

3.ร้านจงกั๋วเหยียน เขตลาดกระบัง รองรับ 200 เตียง

4.อาคารวิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการเจ้าพระยา เขตราชเทวี รองรับ 170 เตียง

5.ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา เขตมีนบุรี รองรับ 200 เตียง

6.วัดศรีสุดาราม (อาคารศาลาวิจิตร รัตนศิริ วิไล) เขตบางกอกน้อย รองรับ 90 เตียง

7.ศูนย์สร้างสุขทุกวัยบางแค (เรืองสอน) เขตบางแค รองรับ 150 เตียง

จากข้อมูลวันที่ 19 .. กทม.ได้จัดตั้งศูนย์พักคอยฯ (Community Isolation : CI) เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดกลุ่มสีเขียวแล้วจำนวน 70 แห่ง อยู่ในพื้นที่ 50 เขต เปิดให้บริการแล้วจำนวน 64 แห่ง ในขณะนี้สามารถรองรับผู้ป่วยได้สูงถึง 9,390 เตียง ส่วนการยกระดับศูนย์พักคอยฯ ซึ่งมีความพร้อมให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต หรือ CI Plus จำนวน 7 แห่ง ใน 6 กลุ่มเขตนั้น พล...อัศวินขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.ได้มอบนโยบายให้มีกลุ่มเขตละ 1 แห่ง เพราะฉะนั้นในด้านจำนวนเตียงพยาบาล และบุคลากรอาจจะต้องมีการเพิ่มโดยจัดหาบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะด้านเพื่อรองรับและดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

162944197756

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในกลุ่มสีเขียวและไม่สามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ทางศูนย์พักคอยฯ ยินดีรับตัวเข้าสู่ระบบการรักษา โดยจะให้ยาฟ้าทะลายโจร และยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาอาการเบื้องต้น ทั้งนี้ กทม.พยายามดำเนินการเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีแดงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาอย่างสะดวกรวดเร็วปลอดภัย และเป็นไปตามขั้นตอน

เขตลาดกระบังเป็น 1 ใน 7 เขตที่มีการปรับยกระดับศูนย์พักคอยฯ ให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต  ซึ่งก่อนหน้านี้ ศูนย์พักคอยฯ เขตลาดกระบัง รับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ยังไม่แสดงอาการ หรือสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่เมื่อมีผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองเพิ่มขึ้นทำให้มีการยกระดับเพื่อรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง คือผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจติดขัด จำเป็นต้องใช้เครื่องผลิตออกซิเจน แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

สำหรับศูนย์พักคอยฯ เขตลาดกระบัง มีการรับผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองจากเขตใกล้เคียงเข้ามารักษาด้วย และจากการยกระดับศูนย์พักคอยฯ ให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มสีเหลืองได้มีที่พักรักษาตัวและได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการยกระดับศูนย์พักคอยฯ ให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขตนั้น จะต้องตรวจสอบสถานที่ที่จะจัดตั้งว่าเข้าเกณฑ์สามารถจัดตั้งเป็นศูนย์พักคอยฯ ได้หรือไม่ โดยประการแรก ต้องมีความพร้อมในเรื่องของสถานที่คือต้องมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เช่น เป็นอาคารชั้นเดียว ซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโดยไม่ต้องเดินขึ้นบันไดหลายชั้น ประการที่สอง ต้องมีความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า และรถฉุกเฉิน และประการที่สาม ต้องมีความพร้อมในเรื่องบุคลากรทางการแพทย์

อย่างเช่นศูนย์พักคอยฯ เขตมีนบุรี จะมีพยาบาลคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานหลายภาคส่วน เช่น หน่วยงานของ กทม.ที่เข้ามาช่วยเหลือในด้านการปรับปรุงสถานที่ การไฟฟ้านครหลวงให้ความอนุเคราะห์ยกเว้นค่ากระแสไฟฟ้าในการจัดทำศูนย์พักคอยฯ

ส่วนเรื่องการรักษาความปลอดภัยจะมีกองบัญชาการกองทัพไทยสนับสนุนเรื่องกำลังพล ยานพาหนะในการรับส่งผู้ป่วย สถานีตำรวจนครบาลฉลองกรุง ดูแลเรื่องความสงบเรียบร้อย และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคืออาสาสมัครกู้ภัยร่วมใจ คอยสนับสนุนเรื่องรถพยาบาลฉุกเฉิน อีกทั้งมีทีมแพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลนวมินทร์ ที่คอยดูแลภายในศูนย์พักคอยเขตมีนบุรีแห่งนี้ นอกจากนี้แล้ว ศูนย์พักคอยฯ เขตมีนบุรี ยังได้รับความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่าง ทั้งภาคเอกชนที่สนับสนุนในเรื่องเตียงกระดาษ พัดลม อาหารและเครื่องดื่มอย่างครบครัน

สำหรับหน่วยงานภาคเอกชนหรือประชาชนที่มีความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ ในการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ หากต้องการคำแนะนำ และเจ้าหน้าที่ในการดูแลการจัดตั้งศูนย์พักคอยฯ ให้ถูกต้อง สามารถแจ้งความประสงค์ไปยังสำนักงานเขตในพื้นที่ของท่านนอกจากนี้ กทม.ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำระบบสายด่วนโควิดเขตเป็นสายตรงถึง 50 สำนักงานเขต เขตละ 20 คู่สาย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

162944204595

การปรับยกระดับศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อให้เป็นโรงพยาบาลสนามระดับกลุ่มเขต นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันและเชื่อมั่นได้ว่าประชาชนผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดขณะพักรักษาตัวอยู่ในศูนย์พักคอยฯ โดย กทม.ได้เร่งขยายศักยภาพการรักษาผู้ป่วยทุกคนอย่างเต็มกำลัง รวมทั้งมีการเพิ่มจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยอาการหนัก นอกจากนี้ ยังมีศูนย์พักคอยฯ เพื่อแยกการรักษาผู้ป่วยจากชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยทุกๆ คนได้เข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็วและมากที่สุด