เปิดผลโหวต 'ร่างแก้รธน.' วาระสอง พรรคเล็กเสียงแตก - ส.ว. แยกลงมติ 3 ทาง
หลังการลงมติวาระสอง ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง แม้ผลโดยรวม แต่ละมาตราจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อดูตัวเลขเรียงมาตราแล้วพบว่า มีความน่าสนใจ ต่อทิศทางในการลงมติวาระสาม
แก้ไข มาตรา 83 มีสาระสำคัญ ให้มีส.ส. มีจำนวน 500 คนประกอบด้วย ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และ ส.ส.จากบัญชีรายชื่อ 100 คน และ เพิ่มวรรคใหม่ ให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ผลการลงมติพบว่า เห็นด้วย 476 เสียง ต่อไม่เห็นด้วย 70เสียง และ งดออกเสียง 91 เสียง
เสียงเห็นด้วย ได้แก่ พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ , พรรคประชาธิปัตย์ , พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคเพื่อชาติ, พรรคชาติพัฒนา, พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่ และ พรรคประชาภิวัฒน์
เสียงไม่เห็นด้วย พรรคก้าวไกล , พรรคเสรีรวมไทย, พรรคประชาชาติ, พรรคครูไทเพื่อประชาชน , พรรคประชาธรรมไทย, พรรคพลังธรรมใหม่, พรรคพลังปวงชนไทย, พรรคเพื่อชาติไทย
งดออกเสียง ได้แก่ พรรคภูมิใจไทย , พรรคเศรษฐกิจใหม่, พรรครวมพลังประชาชาติไทย, พรรคพลเมืองไทย
ทั้งนี้ ส.ส.พรรคเล็กที่ไม่ปรากฎการลงคะแนน คือ พล.ต.ทรงกล ทิพย์รัตน์ ส.สงพรรคพลังชาติไทย, นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ และ นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.พรรคไทรักธรรม
สำหรับพรรคพลังท้องถิ่นไท พบการลงมติเป็น 2 ทาง คือ เห็นด้วย ได้แก่ น.ส.กวินนาถ ตาคีย์ และ นายจารึก ศรีอ่อน ออกเสียงไม่เห็นด้วย ได้แก่ นายโกวิทย์ พวงงาม, นายชัชวาลล์ คงอุดมและนายนพดล แก้วสุพัฒน์
ขณะที่ส.ว.นั้น พบว่า เสียงแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ เห็นด้วย 180 เสียง, ไม่เห็นด้วย 4 เสียง ได้แก่ นายเจน นำชัยศิริ, นายมณเฑียร บุญตัน, พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร, พล.อ.สกล ชื่นตระกูล , งดออกเสียง 19 เสียง และ ไม่ปรากฎการลงคะแนน 47 คน
แก้ไข มาตรา 86 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มีสาระสำคัญ ว่าด้วยวิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง ส.ส.เขตเลือกตั้ง 400 เขต ผลการลงมติพบว่า เห็นด้วย 471 เสียง ต่อ ไม่เห็นด้วย 6 เสียง และ งดออกเสียง 133 เสียง
สำหรับเสียงเห็นด้วย พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ , พรรคประชาธิปัตย์ , พรรคชาติไทยพัฒนา, พรรคเพื่อชาติ, พรรคชาติพัฒนา, พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคประชาภิวัฒน์ และ พรรคประชาชาติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เสียงเห็นด้วยดังกล่าว ยังพบว่าเป็นของส.ส.พรรคเสรีรวมไทย ร่วมเห็นด้วย 4 เสียง และมี ส.ส.ก้าวไกล 1 เสียง คือ นายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์
เสียงไม่เห็นด้วย ประกอบด้วย พรรคครูไทเพื่อประชาชน , พรรคประชาธรรมไทย, พรรคพลังธรรมใหม่ และ พรรคเพื่อชาติไทย
งดออกเสียง ประกอบด้วย พรรคภูมิใจไทย , พรรคก้าวไกล ,พรรคเศรษฐกิจใหม่, พรรครวมพลังประชาชาติไทย, พรรคพลเมืองไทย , พรรคพลังปวงชนไทย ทั้งนี้ยังมี ส.ส.พรรคเสรีรวมไทย 4 เสียง, พรรคพลังท้องถิ่นไทย 1 เสียง คือ นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับ ส.ส.พรรคเล็กที่ไม่ปรากฎการลงคะแนน คือ พล.ต.ทรงกล ทิพย์รัตน์ ส.สงพรรคพลังชาติไทย, นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ และ นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.พรรคไทรักธรรม
ขณะที่ส.ว.นั้น พบว่า เสียงแบ่งเป็น 3 ฝ่าย คือ เห็นด้วย 173 เสียง, ไม่เห็นด้วย 2 เสียง ได้แก่ นพล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร และ นายเสรี สุวรรณภานนท์ , งดออกเสียง 14 เสียง และ ไม่ปรากฎการลงคะแนน 61 คน
แก้ไข มาตรา91 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มีสาระสำคัญว่าด้วยการคำนวณสัดส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งนี้กมธ. ได้ปรับเพิ่มวรรคสอง ระบุให้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ การรออกเสียงลงคะแนนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลเลือกตั้ง และการอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. ผลการลงมติ เห็นด้วย 435 เสียง ต่อ ไม่เห็นด้วย 76 เสียง และงดออกเสียง 85 เสียง
สำหรับผลการลงคะแนน คือ พรรคที่เห็นด้วย ได้แก่ พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์, พรรคประชาชาติ, พรรคชาติพัฒนา , พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่ และ พรรคประชาภิวัฒน์
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า การออกเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า มีผู้ที่ลงมติไม่เห็นด้วย 7 เสียง ได้แก่ น.ส.แนน บุณย์ธิดา สมชัย, นายพนิต วิกิตเศรษฐ์, น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล, น.ส.รังสิมา รอดรัศมี, นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และ นายอันวาร์ สาและ ขณะที่พรรคพลังท้องถิ่นไท พบการลงมติที่เสียงแตกเป็น 2 ฝ่าย คือ มีมติเห็นด้วย คือ น.ส.กวินนาถ และนายจารึก ขณะที่อีก 3 เสียง ลงมติไม่เห็นด้วย
สำหรับเสียงไม่เห็นด้วย ได้แก่ พรรคก้าวไกล, พรรคเสรีรวมไทย, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคไทรักธรรม, พรรคประชาธรรมไทย, พรรคเพื่อชาติไทย ทั้งนี้พบว่า พรรคเพื่อไทย คือ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ได้ลงมติไม่เห็นด้วยเช่นกัน
งดออกเสียง พรรคภูมิใจไทย , พรรคชาติไทยพัฒนา ยกเว้น นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ลงมติไม่เห็นด้วย , พรรครวมพลังประชาชาติไทย, พรรคพลังปวงชนไทย, พรรคพลเมืองไทย
สำหรับการลงมติของส.ว. พบว่า เห็นด้วยย 162 เสียง, ไม่เห็นด้วย 6 เสียง ได้แก่ นายกิตติ วะสีนนท์, นายพลเดช ปิ่นประทีป, นายมณเฑียร บุญตัน, นายวันชัย สอนศิริ, นายสังศิต พิระยะรังสรรค์ และ นายเสรี สุวรรรภานนท์ งดออกเสียง 10 เสียง , ไม่ปรากฎลงคะแนน จำนวน 58 คน
และในมาตราสุดท้าย เป็นบทกำหนดเฉพาะกาล ที่มีสาระสำคัญ คือ ไม่ให้นำเนื้อหาที่แก้ไขบังคับใช้กับการเลือกตั้งส.ส. ที่ไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป ผลการลงมติ เห็นด้วย 440 เสียง ไม่เห็นด้วย 5 เสียง และะ งดออกเสียง 132 เสียง
โดยผลการลงคะแนน แยกเป็นรายพรรคการเมืองนั้น พบว่า พรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ, พรรคประชาธิปัตย์ ลงมติเห็นด้วย รวมถึงพรรคชาติไทยพัฒนา , พรรคประชาชาติ, พรรคชาติพัฒนา, พรรคประชาธิปไตยใหม่ล พรรคประชาภิวัฒน์
สำหรับไม่เห็นด้วย ได้แก่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน
ส่วนพรรคที่งดออกเสียง คือ พรรคภูมิใจไทย ,พรรครวมพลังประชาชาติไทย, พรรคก้าวไกล ยกเว้น นายจิรวัฒน์ ที่ลงมติเห็นด้วย, พรรคไทรักธรรม, พรรคพลเมืองไทยล พรรรคพลังธรรมใหม่, พรรคพลังปวงชนไทยและ พรรคเพื่อชาติไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับการลงมติของพรรคเสรีรวมไทย พบการแตกเป็น 3 ฝั่ง คือ มีผู้ที่เห็นด้วย 2 เสียง คือนายเรวัต วิศรุตเวช และ พล.ต.ท.วิศณุ ม่วงแพรสี ขณะที่ 4 เสียง ไม่เห็นด้วย ได้แก่ น.ส.นภาพร เพ็ชรจินดา, นายประสงค์ บูรณ์พงศ์, นายวัชรา ณ วังขนาย และนายอำไพ กองมณี และอีก 4 เสียง ไม่ปรากฎการลงคะแนน ได้แก่ น.ส.ธนภร โสมทองแดง, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส , นายวิรัตน์ วรศสิริน และนายเพชร เอกกำลังกุล
เช่นเดียวกับพรรคพลังท้องถิ่นไทย ที่พบการลงมติที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย โดยฝ่ายที่เห็นด้วย คือ น.ส.กวินนาถ และนายจารึก ส่วนฝ่ายที่งดออกเสียง ได้แก่ นายโกวิทย์, นายชัชวาลล์ และ นายนพดล
ขณะที่การลงคะแนนของส.ว. พบว่า มีผู้เห็นด้วย 160 เสียงเห็นด้วย,ไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย, งดออกเสียง 10 เสียง และไม่ปรากฎการลงคะแนน 80 คน