“ชำนาญ”ลุยต่อร้องอดีต ปธ.ศาลฎีกาสั่งยุติสอบ แชทไลน์หลุดล็อบบี้เลือกก.ต.

“ชำนาญ”ลุยต่อร้องอดีต ปธ.ศาลฎีกาสั่งยุติสอบ แชทไลน์หลุดล็อบบี้เลือกก.ต.

“ชำนาญ”ลุยต่อร้องอดีต ปธ.ศาลฎีกาสั่งยุติสอบ แชทไลน์หลุดล็อบบี้เลือกก.ต. เล็งร้องนายกฯ -รมว.คลัง ระงับการจ่ายเงินบำนาญเหตุยังไม่พ้นจาก ขรก.ตุลาการ

วันนี้ (12 พ.ย.)  นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา  เปิดเผยว่า ในวันนี้ ตนได้ยื่นหนังสือถึง  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี และ ทำหนังสือถึง    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง   และอธิบดีกรมบัญชีกลางเพื่อให้ตรวจสอบนางเมทินี ชโลธร อดีตประธานศาลฎีกา หลังจากที่ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พ้นจากตำแหน่งประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564  แต่แม้จะพ้นจากตำแหน่งประธานศาลฎีกา แต่ก็ยังไม่พ้นจากการเป็นข้าราชการ   จึงไม่สามารถทำเรื่องเพื่อยื่นขอบำเหน็จ บำนาญ ได้    การจะจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ ให้กับอดีตประธานศาลฎีกาได้หรือไม่นั้น ต้องได้รับอนุญาตให้ลาออกจาก ก.ต.  

 

 

"เมื่อยังไม่ลาออกจาก ก.ต. ก็จะรับเงินบำเหน็จบำนาญไม่ได้  อยากให้มีการตรวจสอบว่า  นางเมทินี มีการยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ ไปแล้วหรือไม่ เพราะหากได้รับไปแล้วอาจจะเกิดปัญหาว่าเป็นการรับเงินดังกล่าวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ยังมีตำแหน่งข้าราชการตุลาการ  เพราะเป็นกฎหมายของข้าราชการตุลาการ จะต้องเกษียณอายุราชการ เมื่ออายุ 70 ปีบริบูรณ์   แต่ปัจจุบัน นางเมทินี มีอายุเพียง 65 ปีเท่านั้น  หากไม่ประสงค์จะเป็นข้าราชการตุลาการ ก็ต้องยื่นลาออกก่อน จึงจะขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ ดังกล่าวได้ "นายชำนาญกล่าว

“อดีตประธานศาลฎีกาท่านอื่นเมื่อไม่ประสงค์จะเป็น ก.ต. ก็ต้องลาออก และต้องลาออก กับ ก.ต. ด้วย เมื่อไม่ได้ลาออก ก็ขอรับเงินบำเหน็จบำนาญไม่ได้ และถ้าไม่มาทำงานที่หายไป ก็อาจจะมีปัญหาว่า ขาดราชการหรือไม่  เพราะตามประกาศสำนักนายากรัฐมนตรี นางเมทินี ยังไม่พ้นจากราชการ  ดังนั้น  ก็ต้องมาทำงาน แต่ตอนนี้ ท่านไม่มาทำงาน และไปอยู่ไหนก็ไม่ทราบ   และเมื่อไม่มาทำงานเงินเดือนก็ไม่ควรที่จะได้รับ”  นายชำนาญ กล่าว 

 

นายชำราญกล่าวว่า ทั้งนี้ เป็นหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอธิบดีกรมบัญชีกลาง  ที่จะต้องตรวจสอบว่า ในช่วงที่ผ่านมา อดีตประธานศาลฎีกา ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอรับเงินบำเหน็จบำนาญ ไปแล้วหรือไม่  หากมาขอยื่นเพื่อรับเงินดังกล่าว ขอให้พิจารณาระเบียบการจ่ายเงิน ก่อนเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง 

นอกจากนี้  อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา  ยังกล่าวถึงกรณีการยื่นเรื่องตรวจสอบ นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กุล  ประธานแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในศาลอุทธรณ์ กรณีมีเหตุสงสัยที่จะมีการกระทำผิดวินัยอันมีลักษณะการหาเสียงเลือกตั้ง ก.ต.บุคคลภายนอกครั้งที่ผ่านมา ผ่านแอพลิเคชั่นไลน์ ”สภาตุลาการ” ทั้งที่อยู่ในตำเเหน่ง ก.ต. ซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งนายชำนาญได้ร้อง ไปยัง ก.ต. ให้ทำการตรวจสอบ และร้องไปยังกรรมการปปช.ไว้ก่อนหน้านี้ด้วย   

 

 

โดยล่าสุด นายชำนาญกล่าวว่า ตนได้รับหนังสือตอบกลับจากสำนักงานศาลยุติธรรมว่า ได้ยุติการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว  โดย เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมคนก่อน ได้เสนอเรื่องยุติการสอบสวนไปยังอดีตประธานศาลฎีกา เพื่อมีความเห็น  โดยอดีตประธานศาลฎีกา มีความเห็นสั่งยุติการสอบสวน ไปแล้ว โดยไม่มีการชี้แจงขั้นตอนการสอบสวนว่า มีการเรียกสอบใครไปแล้วหรือไม่ รวมถึงไม่มีการเรียกสอบตนเอง ในฐานะผู้ร้อง ไปให้ข้อมูล  แต่กลับมีความเห็นดังกล่าว

 

“ผมร้องไปยังนายกรัฐมนตรี ผ่านทาง สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตรวจสอบในเรื่องนี้ โดยนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือสอบถามมายังสำนักงานศาลยุติธรรม ทางสำนักงานศาลฯ ได้ตอบกลับ สำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ยุติการสอบสวนไปแล้ว  แต่ไม่ชี้แจงขั้นตอน ว่ามีการตรวจสอบอย่างไรหรือไม่ ดังนั้นก็คงต้องรอ ให้สำนักงานศาลยุติธรรมทำหนังสือตอบกลับมา ถึงขั้นตอนการตรวจสอบ ดังกล่าว ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผมก็จะยื่นเรื่องต่อ ปปช. ให้ตรวจสอบไปในคราวเดียวกันเลย” อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกากล่าว