เปิดโฉม 25 ขุนพล "สร้างอนาคตไทย" พรรคทางเลือก ข้ามขัดแย้ง ฟื้นเศรษฐกิจ
"พรรคสร้างอนาคตไทย" เปิดโฉม 25 ขุนพล มุ่งเป็นพรรคทางเลือก ข้ามขัดแย้ง ฟื้นเศรษฐกิจ
พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคการเมืองน้องใหม่ที่ได้รับความสนใจทั้งจากคอการเมือง นักธุรกิจ และบรรดาสื่อมวลชนจำนวนมากที่ไปเกาะติดบรรยากาศการเปิดตัวเมื่อบ่ายวันที่ 19 ม.ค.2565 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
พรรคสร้างอนาคตไทยขับเคลื่อนโดย 2 ใน 4 ของอดีต 4 กุมาร มีนาย อุตตม สาวนายน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าพรรค และ และนาย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นเลขาธิการพรรค ภายใต้สโลแกน ฟื้นเศรษฐกิจ สร้างอนาคตประเทศ
อุตตม สาวนายน ประกาศชัดเจน พรรคสร้างอนาคตไทยไม่ใช่แค่พรรคการเมืองแต่เป็นพื้นที่เปิดรวมกลุ่มคนหลายสาขาทุกเพศทุกวัย ระดมความคิดเห็นเพื่อฟื้นเศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนอนาคตเพื่อคนรุ่นต่อไป
“พรรคสร้างอนาคตไทยไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ งไม่โกงไม่ปล้นชาติ อาสาเป็นอีกทางเลือกให้คนไทย”
สำหรับ 25 ขุนพลขุมกำลังหลักของ พรรคสร้างอนาคตไทย ที่เป็นรุ่นก่อตั้งพรรค ที่มีทั้งนักการเมือง นักธุรกิจ นักวิชาการ นักกิจกรรม ปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่
1นายอุตตม สาวนายน อดีต รมว.คลัง
จบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยบราวน์ สหรัฐอเมริกา, ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การเงินและธุรกิจระหว่างประเทศ) Kellogg School of Management มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา และ ปริญญาเอก สาขาบริหารการเงิน School of Management , University of Massachusetts-Amherst สหรัฐอเมริกา
เคยเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา เป็นรองคณบดีที่นิด้า และเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, อดีตผู้บริหารสถาบันการเงินเอกชน อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และอดีตรมว.คลัง ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เริ่มต้นเส้นทางทางการเมืองเมื่อปี 2558 ด้วยการเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุค ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์
กระทั่งวันที่ 12 กันยายน 2559 ได้ยื่นหนังสือลาออก เพื่อให้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นกระทรวงที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ หลังจากยื่นหนังสือลาออกก็ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐในปี 2561
ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมทั้งเป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019
ผลงานที่โดดเด่นในช่วงที่เป็น รมว.คลัง คือ การออกมาตรการ เราไม่ทิ้งกัน แจกเงินให้แก่ประชาชนรายละ 5,000 บาท 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบจาการระบาดของโควิด-19 ในปี 2563
2.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ อดีต รมว.พลังงาน
การศึกษาจบปริญญาตรี ด้านวัสดุศาสตร์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
นายสนธิรัตน์ เป็นนักธุรกิจที่เริ่มมาจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดมาสู่การบริหารธุรกิจขายตรง ต่อมาในปี 2557 เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ,สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ในปี 2558 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และในปี 2559 ได้รับการแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และต่อมาในปี 2560 เข้ามารับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมไปถึงรับตำแหน่งเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ และในปี 2562 ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก่อนจะถูกปรับออกจากตำแหน่งในกลางปี 2563 พร้อมกับการลาออกจากสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ
3.นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ
จบปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมภ์
นายนิพิฏฐ์เป็นทนายความก่อนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกเมื่อปี 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.พัทลุง ทุกสมัยที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม, ประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร
เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการกฎหมายและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนยื่นใบลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งมาปรากฎตัวเป็น 1 ในสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทย
4.นายสุพล ฟองงาม
อดีตเลขาธิการพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หนึ่งในอดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติในภาคอีสาน
อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เป็นหนึ่งใน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ที่ประกาศตัดสินใจยื่นใบลาออกจาก พปชร.เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา สิ่งที่ตามนายสุพลออกมาจากพลังประชารัฐครั้งนี้ด้วย ก็คือ ความแข็งแกร่งของฐานคะแนนเสียงภาคอีสาน
นายสุพล จบปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาศรีปทุม ปริญญาโท สาขาพัฒนาสังคม จากสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์
ก่อนเดินเข้าสู่ถนนการเมืองประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เริ่มต้นจากการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อุบลราชธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย หลังจากการยุบพรรคพลังประชาชน ในปี 2551
กระทั่งปี 2553 พรรคเพื่อไทยได้มีการประชุมเพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ แทน นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ที่ลาออกไป การเลือกตั้งคณะกรรมการ.บริหารพรรคครั้งนี้ นายสุพล ได้รับตำแหน่งเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และได้ลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา
นายสุพลได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อมาหลังจากรัฐบาลนายสมัคร พ้นจากตำแหน่ง นายสุพลได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการยุบพรรคพลังประชาชนทำให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค ต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย
5.นายสันติ กีระนันทน์
จบปริญญาตรีและปริญญาโท ระดับละ 2 ปริญญา คือ บัญชีบัณฑิต (การบัญชี) เกียรตินิยม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (Computer Science) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (Finance) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะพาณิชย์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ เคยดำรงตำแหน่งคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ตามคำชวนของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ทั้งยังเคยทำงานในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตำแหน่งรองผู้จัดการ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำ Live platform เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสนับสนุนสตาร์ทอัพ โดยใช้กลไกตลาดทุน
เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทที่ปรึกษาผู้ประเมินผลงานของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับเครดิตสัญชาติไทยเพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย ก่อนจะกลับมาทำงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หลังจากออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้สร้างพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อสนับสนุนให้เกิดกลุ่มสตาร์ทอัพในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือในการก่อตั้งจาก CyberPort, Hong Kong
นายสันติ เข้ามาทำงานร่วมกับพรรคพลังประชารัฐโดยการชักชวนของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเบื้องหลังการทำนโยบายพรรคชุดประชารัฐ ในการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2562 นายสันติ ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในลำดับที่ 6 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก
6.นายวัชระ กรรณิการ์
อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตโฆษกพรรคชาติไทย เริ่มสนใจในการเมืองโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย และได้ทำหน้าที่โฆษกพรรคชาติไทยพัฒนา ภายหลังการยุบพรรคชาติไทยในปี 2551
กระทั่งปี 2561 นายวัชระได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนาต่อนายทะเบียนสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคและโฆษกพรรคเพื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ก่อนตัดสินใจยื่นใบลาออกจากพรรคพลังประชารัฐตามนายสนธิรัตน์มา
7.นายนริศ เชยกลิ่น
อดีตผู้บริหารระดับสูงด้านอสังหาริมทรัพย์และการเงิน มีประสบการณ์ด้านการเงิน การธนาคาร การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, อดีตผู้บริหารระดับสูงบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน), อดีตผู้บริหารระดับสูงและผู้ก่อตั้งบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัดมหาชน
ศิษย์เก่าดีเด่น คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ป 2551, อดีตนายกสมาคมศูนย์การค้าไทย และอดีตประธานชมรมนักลงทุนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
นริศ เชยกลิ่น ถือว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มือทองของวงการอสังริมทรัพย์ไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ เป็นผู้บุกเบิกโครงการ สิงห์ มัลดีฟส์ โรมแรมใหม่กลางมัลดีฟส์ ที่โด่งดังระดับโลก จน Discovery ASIA ทำสารคดีเผยแพร่ไปทั่วโลก
8.นายแก้ว สังข์ชู ปราชญ์ชาวบ้านภาคใต้ ผู้นำผู้บริหารเพื่อพัฒนาองค์กรและชุมชน
กรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในปี 2557, เป็นแกนหลักในการจัดตั้ง "กลุ่มออมทรัพย์" หมู่ 7 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ในปี 2519 ปัจจุบันยกฐานะเป็นองค์กรชุมชน
อดีตกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ในปี 2544, ผู้นำในการจัดตั้ง กองทุนสวัสดิการผู้นำในปี 2522 ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 2,190 คน มีเงินกว่า 10.8 ล้านบาท ที่สามารถนำมาจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกและสาธารณประโยชน์ให้แก่ตำบลเกาะเต่า
เป็นประธานในการออกแบบรับฟังการปรับโครงสร้างของกระบวนองค์กรชุมชน และโครงสร้างของ พอช.จากเดิม 11 ภาคให้เหลือ 5 ภาค
9.นายศิวโรฒ จิตนิยม ปราชญ์ชาวบ้านภาคกลาง เจ้าของผลงานหนองสาหร่ายโมเดล
ประธานสถาบันการเงินชุมชน อสม.ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี, ผู้นำเครือข่ายชุมชนคุณธรรม เจ้าของแนวคิดการแก้ไขปัญหาหนี้สินของชุมชนผ่านการน้อมนำหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง มาใช้โดยเปลี่ยน จีดีพี ที่วัดจากการเติบโตด้านการเงินเป็นการวัดปริมาณความสุขอันเกิดจากความดี ไม่มีหนี้นอกระบบ
10.นางละเอียด ปู่หลุ่น ปราญชาวบ้านภาคอีสานและผู้ก่อตั้งวิชชาลัยครูไทบ้าน
ผู้นำเครือข่ายชุมชน ต.นากอก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู, ผู้ก่อตั้งวิชชาลัยครูไทบ้าน ศูนย์เรียนรู้ครู ภูมิปัญญา จ.หนองบัวลำภู, ผู้จัดทำหลักสูตรเสื้อสมุนไพรเย็บมือ, ผู้จัดทำหลักสูตรทอผ้าสมุนไพร, ผู้จัดทำหลักสูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และผู้จัดทำหลักสูตรบ้านดิน เป็นต้น
11.นายบุญส่ง ชเลธร ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสวัสดิประเทศยุโรปการศึกษา
จบระดับวิทยาลัยที่วิทยาลัยครูสวนสุนันทา, ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิทยารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, หลักสุตรพิเศษจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก กรุงเทพฯ หลักสูตรจากสถาบันพระปกเกล้า
นายบุญส่ง เข้าร่วมเคลื่อนไหวงานมวลชนสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย กระทั่งท้ายที่สุดถูกรัฐกล่าวหาและถูกจับเป็น 1 ใน 13 กบฎ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น, หนึ่งในผู้จัดทำหนังสือ บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ อดีตครูสอนภาษาไทยในกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิขาด้านการพัฒนาการเมืองการปกครองและสวัสดิการสังคมในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท, อาจารย์ประจำและผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาตรี (ออนไลน์) มหาวิทยาลัยรังสิต และอาจารย์บัณฑิตพิเศษระดับปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
12.นายกำพล ปัญญาโกเมศ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เป็นศาสตราจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) นั่งเป็นที่ปรึกษาสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, ที่ปรึกษาคณะกรรมการสายงานเศรษฐกิจและวิชาการ สภาอุตฯ ปี 2561-2564 ดำรงตำแหน่งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ทั้งยังเป็นกรรมการบริหารที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ในปี 2561-2563 ด้วย
13.นายรักษ์พงศ์ เซ่งเจริญ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน อ.สทบ. (กองทุนหมู่บ้านฯ) มีความสนใจงานเศรษฐกิจฐานราก และการขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตด้วยเศรษฐกิจฐานราก
14.นายณพพงศ์ ธีระวร อดีตประธานสมาพันธ์ SME เคยเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกกรรม, ประธานกิตติมศักดิ์ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัย 2 s เรียลเอสเตท จำกัด และกรรมการผู้จัดการ บริษัท วินซายน์ เซอร์วิช จำกัด
15.นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร (ครูเป็ด) ครูและคนดนตรีคนสำคัญของประเทศไทย (ลาออกจากพรรคกล้า) มีประสบการณ์การนักแต่งเพลงและเป็นโปรดิวเซอร์ GMM Grammy ผลงานแต่งเพลงกว่า 400 เพลง, เป็นศิลปินเดี่ยว อัลบั้ม นายสะอาด 3 ชุด สังกัด Tero Records และ GMM Grammy, ครูสอนร้องเพลง สอนดนตรี สอนแต่งเพลง พัฒนาศิลปินยังเป็นกรรมการผู้บริหาร บริษัทมีฟ้า จำกัดในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (รร.ดนตรี มีฟ้า) และ commentator หลักรายการ Academy Fantasia
16.นางโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ มือพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และคร่ำหวอดในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย, อดีตมนตรีสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ อดีตเลขาธิการ สมาคมสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
17.นายอาสา วัฒนญานกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนักพัฒนา software ด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว กรรมการบริหาร บริษัท หัวใจไอที จำกัด, กรรมการบริษัท เอส.แอล.เอ.เค. จำกัด (มหาชน), เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา และอดีตอนุกรรมการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สภากาชาดไทย
18.นายวิรัช วิฑูรย์เธียร อดีตหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมจากธนาคารโลก ที่ปรึกษาด้านนโยบาย บริษัท ไดกิ้นอินดัสทรีส์ จำกัด, ที่ปรึกษาสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา, คณะกรรมการวิชาการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ ฯ, ที่ปรึกษาด้านอนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารมอนทรีออล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
อดีตหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมจากธนาคารโลก (2016-2020) และผู้ประสานงานเครือข่ายระดับภูมิภาคในพิธีสารมอนทรีออล UNEP
19.นายสรรเพ็ชญ ศรีสวัสดิ์ ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประธานกรรมการ บริษัท ลีฟไลฟ์ อันดามัน, เจ้าของกิจการ Yacht Master Thailand, ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรรมการบริหารสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ และเจ้าของกิจการยอร์ชมาสเตอร์ ซึ่งมีเรือยอร์ชเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
20.นายอิธวัฒน์ พิทักษ์คุมพล รองเลขาธิการจุฬาราชมนตรี เป็นหนึ่งในผู้มีประสบการณ์ในองค์การศาสนา และภาคประชาสังคมชาวมุสลิมในประเทศไทย สนใจและเชี่ยวชาญในองค์กรศาสนาและภาคประชาสังคมมุสลิม
21.นายโอฬาร วีระนนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและลงทุนในธุรกิจนวัตกรรม CEO และผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมฟินเทค ประเทศไทย ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน (DURIAN), อดีตนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย และกรรมการ ผู้บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง หลักสูตรด้านธุรกิจ และนวัตกรรมชั้นนำของประเทศไทย อาทิ DSTERTUP, Road 2 CTO เป็นต้น
ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม Fintech ทำให้กรุงเทพฯ กลายเป็นหนึ่งใน Fintech Hub ของโลก และผู้อยู่เบื้องหลังการ Scale ธุรกิจนวัตกรรมในหลายอุตสาหกรรม และการปั้น Unicorns ของประเทศไทย
22.นางทักษอร คงคาประเสริฐ (ลาออกจากพรรคกล้า) หนึ่งในผู้บริหารมืออาชีพ ทั้งการบริหารโรงพยาบาลชั้นนำไปจนถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการปั้น Line Pay ปัจจุบันบริหาร Healthtech Startup ของไทยที่กำลังขยายตัวไปในหลายประเทศทั่วโลก
23.นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตซีอีโอ บริษัท เทคโนโลยีชั้นนำ และนักต่อสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม (ลาออกจากพรรคกล้า)
อดีต CEO บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ที่ปรึกษาด้านวัตกรรมและการพัฒนาเมือง Ford Thailand ที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม และการพัฒนาเมือง IBM Thailand อดีตรองหัวหน้าพรรคกล้า และผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรเพื่อสังคม Bigtrees
24.นายธงชัย ชาสวัสดิ์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ และ 25.นายจิรมิตร เกษร ผู้นำเกษรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเอ