ทร. เร่งขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลระยอง คาด 5 วัน คลี่คลาย
ทร. ตั้ง "ศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน กองทัพเรือ ขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลระยอง คาด 5 วัน คลี่คลาย พร้อมเตรียมแผนรับมือหากถึงหาดแม่รำพึง
27 ม.ค.2565 พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ แถลงข่าวจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน กองทัพเรือ (ศอปน.ทร.) เพื่อเร่งขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลระยอง โดยข้อมูล 10.00 น. วานนี้ คราบน้ำมันยังห่างจากฝั่ง 16 กม. โดยมีทิศทางเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ทั้งนี้มีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย นางสาวพรพิมล เจริญส่ง ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ นายพิทักษ์ วัฒนพงศ์พิศาล ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า และ- ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ศูนย์ดังกล่าว จะมีหน้าที่ในการอำนวยการกำกับการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็สั่งการให้ทัพเรือภาคที่ 1 จัดตั้ง "ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ทัพเรือภาคที่ 1 " (ศคปน.ทรภ.1) หรือ On Scene Commander เพื่อทำหน้าที่กำหนดแผน และยุทธวิธีในการขจัดคราบน้ำมัน ปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนอำนวยการประสานกับส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
ด้าน พลเรือตรี วิฉณุ ถูปาอ่าง ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ ได้เปิดเผยถึงการดำเนินการต่อไป สำหรับการดำเนินการต่อไปได้วางแผนการขจัดคราบน้ำมันในทะเล โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การขจัดกลุ่มคราบน้ำมันขนาดใหญ่ ดำเนินการโดยใช้ทุ่นลอบกัก แล้วใช้เครื่องดูดหรือ Skimmer ดูดคราบน้ำมันซึ่งถือว่าเป็นสารพิษอันตราย จากทะเลสู่ถังเก็บ แล้วนำส่งกรมอุตสาหกรรมเพื่อทำการทำลายต่อไป สำหรับในส่วนของการขจัดกลุ่มคราบน้ำมันที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ที่เป็นอันตรายต่อชายฝั่งและพื้นที่เปราะบาง ดำเนินการโดยใช้ทุ่นล้อมเบี่ยงทิศการเคลื่อนที่ให้ออกห่างจุดเปราะบางไปสู่ทะเลเปิด แล้วทำการล้อมดักและดูดไปทำลายตามกระบวนการต่อไป
สำหรับแผนการขจัดคราบน้ำมันบริเวณชายฝั่ง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ โดยแยกเป็นพื้นที่ชายฝั่งในทะเล ได้ประสานกับทางจังหวัด ในการใช้ทุ่นล้อมกันขึ้นฝั่ง ไม่ให้คราบน้ำมันขึ้นสู่ชายฝั่งซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก พื้นที่ชายฝั่งบนบก บริเวณที่เป็นหินจะใช้การฉีดน้ำให้คราบน้ำมันรวมตัวกัน แล้วตักเก็บไปทำลายบริเวณที่เป็นหาดทรายจะใช้รถแบ็คโฮลตักคราบน้ำมันที่ปะปนกับทรายแล้วนำไปทำลาย ทั้งนี้การปฏิบัติของ
เจ้าหน้าที่จะต้องสวมชุดป้องกันและสามารถปฏิบัติงานได้เพียง 4 ชั่วโมง ต่อวันเท่านั้น เนื่องจากสารพิษจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน
นายพิทักษ์ วัฒนพงศ์พิศาล ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า ระบุ เราได้ระงับการรั่วไหล ปิดวาล์วได้หมด พร้อมเฝ้าระวัง มลพิษ ที่ค่อนข้างมีปริมาณมาก จึงยกระดับให้ ทร. เป็นหน่วยบัญชาการเหตุการณ์ เร่งด่วน คือ การเฝ้าระวังการเคลื่อนไหว ดูทิศทางการเคลื่อนที่ และคลื่นลม ว่าจะไปทางใด และปริมาณ ที่ลงทะเล แพร่กระจายมากน้อยแค่ไหน
นางสาวพรพิมล เจริญส่ง ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ เปิดเผย ถึงแนวทางของกรมคใบคุมมลพิษ คือ 1 ตรวจสอบค่าน้ำทะเล 2 ให้อนุญาต สำหรับปริมาณการใช้สารขจัดคราบน้ำมัน โดยสารดิสเพอร์แซนท์ โดยครั้งนี้ใช้ / อัตรา 1:10 และ 3 จัดทำแผนฟื้นฟู
ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยถึงความกังวล ของคราบน้ำมัน ที่จะส่งผลทรัพยากรใต้ทะเล ที่มี แนวปาการัง 150 ไร่ และย่าทะเล 300 ไร่ พร้อมยืนยันว่า จะมีการเรียกร้องค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้น ทั้งการดำเนินการ และทรัพยากร ที่เสียหาย และในระยยาว จะมีการตั้งกองทุนฟื้นฟู ทรัพยากร
ส่วนตัวเลขการรั่วไหลน้ำมับดิบ ที่บริษัทแจ้งว่า กว่า 4 แสนลิตร และรมต.ทรัพย์ ระบุเพียง 2 หมื่นลิตร ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายพิทักษ์ ระบุว่า เป็นหารประเมินการณ์ ว่า 4 แสนลิตร เพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ รับมือสถานการณ์ ขณะที่พลเรือตรี วิษณุ ระบุ วิศวกร ของบริษัท แจ้งล่าสุด มีน้ำมั่น 20-50 ตัน ต่างจากครั้งแรก ที่แจ้งไว้ และระบุ ยังมีน้ำมัน คงเหลือ 5.3 ตัน ขณะที่โฆษกกองทัพเรือ ระบุว่า ดูสภาพจริง ลดลงเยอะ เบา กว่าที่เราคาดการณ์ไว้ แต่ยังไม่รู้ตัวเลขแน่ชัด แต่จากใช้เครื่องบิน บินสำรวจ ลากตระเวนด้วยสายตา คาดว่า ตัวเลข 2 หมื่นลิตร น่าจะใกล้เคียงกับข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ยืนยันว่า ทางบริษัท คงไม่มีเจตนาปิดปิดปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล เพราะยิ่งปิด จะยิ่งสร้างความเสียหาย ขอให้มั่นใจ จากกองทัพเรือ
โดยคาดการณ์ว่า ระยะเวลาในการดำเนินการจะใช้เวลาห้าวันเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย แต่ขึ้นอยู่กับสภาพของทะเลในขณะนั้นด้วย โชคดี อย่างหนึ่ง คลื่นลมสงบ เคลื่อนเข้าฝั่งช้า แต่จากทิศทางลมนั้น ยืนยัน มีแนวโน้ม เข้าฝั่ง
ทั้งนี้ ยืนยันว่า จากการประเมินความลึกทะเลอยู่ที่ 27 เมตร ซึ่งการใช้สารเคมี ดิสเพอร์แซนท์ จะต้องใช้ในระดับความลึก 10 เมตร ขึ้นไป
ส่วนกรณีความผิด กรณี นี้ ใครเป็นผู้ทำให้รั่วไหล ก็ต้องรับผิดชอบ โดยการคำนวน ค่าเสียหาย บ่ายนี้ จะประชุมแผนฟื้นฟูทรัพยากร ส่วนความเสียหาย อาจจะใช้โมเดล ปี 56 หรือจากในสถานการณ์ อื่น ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินตัวเลข ขั้นตอนการเอาผิดทางกฎหมาย
ส่วนยืนยันได้หรือไม่ ว่าคราบน้ำมัน จะไม่มาถึงหาดแม่รำพึง ในวันที่ 28 ม.ค. 2565 ระบุว่า จะพยายาม ในการล้อมวงไม่ให้ขึ้นฝั่ง คาด สามารถ ป้องกันได้ แต่หากขึ้นหาด ก็เชื่อว่าไม่มากนัก แม่แผนรับมือ