ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20

ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ สานต่อ "โครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร" เดินหน้าสู่ปีที่ 20 หนุนเกษตรกรใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ยึดหลัก 3Rs "Reduce-Reuse-Recycle" โชว์ตัวเลขปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกร 1,336,711 ลูกบาศก์เมตร ตลอดปี 2564

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยึดหลัก เศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ตามกลยุทธ์และเป้าหมายความยั่งยืน "CPF 2030 Sustainability in Action" สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) ด้วยการนำหลักการ 3Rs มาบริหารจัดการน้ำตลอดห่วงโซ่การผลิต ด้วยการลดปริมาณการใช้น้ำดิบจากธรรมชาติ (Reduce), นำน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดยมีเป้าหมายไม่ปล่อยน้ำทิ้งออกภายนอกฟาร์ม (Zero Discharge)  
 

ที่ผ่านมาบริษัทมีโครงการประหยัดน้ำที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์การใช้น้ำ เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากธรรมชาติให้มากที่สุด ขณะเดียวกันน้ำที่ผ่านระบบไบโอแก๊ส (Biogas) และบำบัดจนเป็นน้ำที่มีคุณภาพ ยังนำกลับมาผ่านการฆ่าเชื้ออีกครั้ง เพื่อใช้ล้างคอกสุกรหลังจากจับออก ล้างพื้นถนน และลานจอดรถ ช่วยลดการใช้น้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ควบคู่กับการนำน้ำที่มีมีแร่ธาตุเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของต้นพืช ที่เรียกว่า "น้ำปุ๋ย" กลับมาใช้ประโยชน์ในฟาร์ม ทั้งรดต้นไม้ สนามหญ้า รวมทั้งผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่บุคลากรร่วมกันปลูกในพื้นที่ว่างของฟาร์ม จนกระทั่งพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่รอบฟาร์มเห็นความสำเร็จจากการใช้น้ำปุ๋ยของบริษัท จึงประสานผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อขอรับน้ำไปใช้รดพืชผลทั้งในช่วงฤดูแล้งและช่วงปกติตลอดทั้งปี น้ำที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด จึงช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และเพิ่มผลผลิตแก่เกษตรกรได้ ทั้งสวนผลไม้ นาข้าว ต้นสัก ยางพารา ยูคาลิปตัส ปาล์มน้ำมัน ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง หญ้าเลี้ยงสัตว์ สวนไผ่ มะนาว กล้วย พืชผักสวนครัว ฯลฯ

 

"ซีพีเอฟ ภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยลดผลกระทบจากภัยแล้งให้กับเกษตรกร และยังช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และลดต้นทุนค่าน้ำค่าปุ๋ยแก่เกษตรกร พบว่าช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 มีเกษตรกรในชุมชนจำนวน 63 ราย ขอรับน้ำจากการบําบัดจากฟาร์มสุกรไปใช้แทนปุ๋ยเคมีถึง 544,208 ลูกบาศก์เมตร สำหรับพื้นที่เพาะปลูก 1,601 ไร่ ช่วยลดค่าปุ๋ยเคมีแก่เกษตรกรได้ถึง 1,814,200 บาท ที่สำคัญเกษตรกรที่รับน้ำมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว ก็ยังคงขอรับน้ำอย่างต่อเนื่องมาตลอด สะท้อนความสำเร็จในการใช้น้ำปุ๋ยต่างๆ ถือเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับมาตรการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันการสูญเสีย และลดการใช้อย่างเป็นรูปธรรม" นายสมพร กล่าว 

นอกจากนี้ คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ของซีพีเอฟยังนำน้ำที่บำบัดแล้วให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกเช่นกัน โดยในปี 2564 ได้จัดโครงการปันน้ำปุ๋ยและกากตะกอนสู่เกษตรกร ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและสร้างความมั่นคงทางแหล่งน้ำให้กับชุมชน ด้วยการส่งน้ำและกากตะกอนที่ผ่านการบําบัดแล้วจากระบบ Biogas แบ่งปันน้ำปุ๋ยไปกว่า 143,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้กับพื้นที่การเกษตรมากกว่า 103 ไร่ มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 10 ราย

ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20 ซีพีเอฟ ดันโครงการปันน้ำปุ๋ยสู่เกษตรกร ต่อเนื่องปีที่ 20