วว. เตรียมฉลองครบรอบ 60 ปี ด้วยบทพิสูจน์ความสำเร็จ เดินหน้าร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตยั่งยืน
วว. เตรียมฉลองครบรอบ 60 ปี ด้วยบทพิสูจน์ความสำเร็จ
เดินหน้าร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตยั่งยืน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เตรียมฉลองครบรอบ 60 ปี กับบทพิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลงานเชิงประจักษ์ ตลอด 6 ทศวรรษ มุ่งมั่นอย่างมั่นคง สู่การเป็นองค์กรชั้นนำระดับอาเซียน ด้านวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมสานพลังความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติ นำมาต่อยอด สู่การประยุกต์และบูรณาการ ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลาง ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เปิดเผยว่า “สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานสำคัญของประเทศที่มีส่วนสำคัญในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาชุมชน สังคม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพื้นที่ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและนโยบาย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN’ ECONOMY) โดยนำศักยภาพองค์ความรู้และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ผ่านการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ผสมผสานกับภูมิปัญญาและทรัพยากรฐานในท้องถิ่นร่วมกับกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง “ที่ผ่านมา วว. ได้นำเสนอผลงานการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนให้ต่างชาติได้รับรู้ พร้อมส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านนวัตกรรมทางการเกษตรร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทย ตลอดจนการเรียนรู้ การดำเนินงานด้านการจัดการนวัตกรรมทางการเกษตร จากหน่วยงานต่างประเทศที่เป็นต้นแบบการวิจัยและพัฒนา เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชิงบูรณาการ บนฐานความหลากหลายทางชีวภาพที่สร้างคุณค่า มูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจ สร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำ”
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา วว. ได้พิสูจน์ความสำเร็จด้วยผลงานเชิงประจักษ์ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่พื้นที่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ผลงานเชิงประจักษ์หลายด้าน เป็นต้นว่า การดำเนิน โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ ด้วยนวัตกรรมเกษตรและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ตามแนวทาง “มาลัยวิทยสถาน” โดย วว. มุ่งพัฒนาต่อยอดประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงพาณิชย์ ขยายตลาดไม้ดอกไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ ร่วมกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการสร้างคลัสเตอร์ผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับทั่วประเทศ
โดยนำความรู้ บุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน เข้าไปผนวกกับภูมิปัญญา วัฒนธรรม ศิลปะ ดอกไม้ การท่องเที่ยว และใช้หลักการ BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN’ ECONOMY) เข้าไปช่วยยกระดับทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้ชุมชน ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานการท่องเที่ยว กลายเป็นความเข้มแข็ง และขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยไม้ดอกไม้ประดับ จนประสบผลสำเร็จ สามารถเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาทต่อปี ต่อมาคือ การให้ความ สนับสนุนผู้ประกอบการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจ วว.ได้มีบริการที่จะตอบโจทย์ผู้ประกอบการ SME โดยมีห้องปฏิบัติการวิจัยเรื่องปุ๋ยดินและพืชที่มีมาตรฐาน มีความสามารถในการวิเคราะห์ ประสิทธิภาพของดินทั้งด้านกายภาพและเคมี และด้านชีววิทยา ช่วยแก้ไขสภาพดินให้เหมาะสมแก่การปลูกพืชได้ เพื่อผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยมีความเชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์ดินปุ๋ยและพืช รวมไปถึงการพัฒนาเรื่องบรรจุภัณฑ์ สิ่งที่ผู้ประกอบการได้รับอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ การเข้าร่วมคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ทุกคนได้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก ด้านการดูแลรักษา การกำจัดหรือป้องกันแมลง มีการพัฒนาคุณภาพ
สำหรับ คัตเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นโครงการไฮไลต์ที่ วว. ภาคภูมิใจ เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ สามารถจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยง SME ให้เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ กระบวนการพัฒนาดังกล่าว ได้ใช้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นแนวทางหลักสอดรับกับแนวทางพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป สำหรับกิจกรรมพัฒนาคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ ภายใต้โครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SME ประจำปี 2564 ทำให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการกับกลุ่มคลัสเตอร์ไม้ดอกไม้ประดับ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการผลิต และระบบบริหารจัดการให้ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้สูงขึ้น
อีกหนึ่งผลงานที่ วว.ภาคภูมิใจ คือ การเพาะพันธุ์ไทรสายพันธุ์ใหม่ “ไทรทิส” ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจาก ไทรย้อยใบทู่ ซึ่งเป็นไทรพื้นบ้านของประเทศไทย ให้มีลักษณะขอบใบด่างและสีสันสวยงาม ลักษณะเด่นของไทรทิส คือ เข้ากับกระแสปัจจุบัน ที่นิยมปลูกเลี้ยงไม้ด่าง ไทรตัวนี้จะมีลักษณะสวยงาม โดยเฉพาะขอบใบมีลักษณะด่าง วว.ได้มีการปรับปรุง และขึ้นทะเบียนพันธุ์เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าเป็นไม้ฟอกอากาศได้ดีกว่าสายพันธุ์พื้นบ้านตัวอื่น โดยที่ผ่านมา วว ได้ลงพื้นที่นำไปส่งเสริมผู้ประกอบการที่ จังหวัดนครนายก เลย กรุงเทพฯ ปริมณฑล สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการสูงมาก
สถาบันวิจัยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้พิสูจน์ความสำเร็จผ่านการสร้างผลงาน เชิงประจักษ์มากมาย ในโอกาสฉลองครอบรอบ 60 ปี ในปี 2566 วว.ยังคงรักษาความมุ่งมั่น พัฒนา สู่การเป็นองค์กรที่เติบโตเข้มแข็ง เปี่ยมด้วยศักยภาพ พร้อมสานพลังความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติด้านนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ในงานวิจัย พัฒนา และบริการด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เกิดสังคมนวัตกรรมอย่างยั่งยืน เพื่อต่อยอดและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางให้ประสบความสำเร็จ พร้อมหนุนเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนต่อไป