"ห้องเรียนเคมีดาว" พัฒนาครูวิทย์ไทย

"ห้องเรียนเคมีดาว" พัฒนาครูวิทย์ไทย

"ห้องเรียนเคมีดาว" พัฒนาครูวิทย์ไทย ลดเหลื่อมล้ำ อบรมเคมีย่อส่วนครู 300 คน ขยายผลสู่เด็กทั่วประเทศ

กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) บริษัทชั้นนำด้านวัสดุศาสตร์ ร่วมกับพันธมิตรจัดเวิร์คช้อป "เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (small-scale chemistry laboratory) ต่อยอดความร่วมมือจากโครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว" โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้กับคุณครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศกว่า 300 คน เพื่อส่งเสริมศักยภาพครูวิทยาศาสตร์ไทย และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการทดลองเคมีในห้องเรียน โดยร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สสวทท) ทั้งนี้ โครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว" ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 มีคุณครูผ่านการอบรมแล้วรวมกว่า 2,000 คน

\"ห้องเรียนเคมีดาว\" พัฒนาครูวิทย์ไทย

ในปีนี้ คุณครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาในสังกัด สพฐ. และสถานศึกษาเอกชนกว่า 300 คน จากทั่วทุกภาคของประเทศ ได้เข้าร่วมเวิร์คช้อป 'โครงการขยายเครือข่ายครูวิทยาศาสตร์ด้านปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน' ซึ่งจัดขึ้นพร้อมกัน 5 ศูนย์อบรมทั่วทุกภาคของประเทศ ได้แก่ 1) โรงเรียนเชียงคาน จ.เลย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน) 2) โรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร จ.อุบลราชธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง) 3) โรงเรียนดัดดรุณี จ.ฉะเชิงเทรา (ภาคตะวันออก) 4) โรงเรียนสตรีศรีน่าน จ.น่าน (ภาคเหนือ) และ 5) โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จ.ภูเก็ต (ภาคใต้) และยังมีเวิร์คช้อปออนไลน์ 'การอบรมเชิงปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนสำหรับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษารุ่นที่ 10' โดยคุณครูผู้ร่วมอบรมได้รับประกาศนียบัตรจาก สพฐ. และสามารถนับชั่วโมงวิทยฐานะได้ นอกจากนี้ยังมีคุณครูต้นแบบของโครงการฯ ในรุ่นก่อน ๆ มาร่วมถ่ายทอดเทคนิคการสอนที่สร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียนผ่านการลงมือทำด้วยชุดการทดลองเคมีแบบย่อส่วนที่มีความปลอดภัย ประหยัด ใช้สารเคมีน้อย เพื่อขยายผลชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นของเด็กไทยทั่วประเทศ

\"ห้องเรียนเคมีดาว\" พัฒนาครูวิทย์ไทย

 

 

\"ห้องเรียนเคมีดาว\" พัฒนาครูวิทย์ไทย ดร.โชติมา หนูพริก รองผู้อำนวยการสำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรงศึกษาธิการ กล่าวว่า "สพฐ. มีความยินดีที่ได้ช่วยขยายการขับเคลื่อนการศึกษาวิทยาศาสตร์ของไทย การอบรมในครั้งนี้ถือเป็นการก้าวสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน อีกทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการบริหารและจัดการศึกษาตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนสามารถและรักที่จะเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ต่อไป"

 

.ดร.วุฒิชัย พาราสุข นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า "การศึกษาในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะวิทยาศาสตร์เป็นแบบ Active Learning คือต้องอาศัยการลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจรู้แจ้งและน่าสนใจ ต่างจากการเรียนแบบเดิมที่อิงแค่ทฤษฎีเป็นหลัก เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านอุปกรณ์ บุคลากรผู้สอน และระยะเวลาในการเตรียมการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ การทดลองเคมีแบบย่อส่วนจึงสามารถตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี"

 

 นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า "เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ที่เด็กๆ ในหลายๆ โรงเรียนไม่สามารถทำการทดลองได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่าย กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทยจึงได้ร่วมกับสมาคมเคมีฯ ดำเนินโครงการ 'ห้องเรียนเคมีดาว' มาตั้งแต่ พ.ศ. 2556 เพื่อส่งเสริมเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนที่มีขนาดเล็ก ใช้สารเคมีน้อย ปลอดภัย และราคาถูก รวมถึงประยุกต์ใช้วัสดุในบ้านหรือในท้องถิ่นเพื่อทำการทดลองได้ ช่วยให้เด็กไทยทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้าถึงการทดลองวิทยาศาสตร์อย่างเท่าเทียมกัน"

 

นางสาวอรนุช กังแฮ โรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร จ.สุราษฎร์ธานี ครูผู้เข้าร่วมอบรม กล่าวว่า "ประทับใจกับการอบรมเคมีแบบย่อส่วนที่พัฒนาการเรียนการสอนได้จริง สามารถทดลองไปพร้อมกับบรรยายได้ จะช่วยดึงดูดความสนใจและเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียนจากเคมีที่ยากให้รู้สึกว้าวได้ ส่วนตัวรู้สึกว้าวกับการทดลองทุกการทดลอง เหลือเชื่อจริง ๆ ในระยะเวลาเพียงวันครึ่ง สามารถทำ ชุดการทดลองได้ เคมีย่อส่วนทําเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย สามารถจับต้องได้จริง จึงตั้งใจจะส่งต่อองค์ความรู้นี้ให้แก่เพื่อนครูและนําไปประยุกต์ในการสอนที่โรงเรียน เคมีจะไม่ใช่จินตนาการสำหรับครูและเด็ก ๆ อีกต่อไป"

 

นายสันท์ชัย นัยติ๊บ โรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ สพม.แพร่ กล่าวว่า "เป็นการอบรมที่สนุก ได้รับความรู้เกี่ยวกับการทําเคมีแบบย่อส่วน โดยส่วนตัวใช้เคมีย่อส่วนกับวิทยาศาสตร์แบบ DIY มานานหลายปี เพราะโรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์และสารเคมี การอบรมครั้งนี้เลยได้เติมเต็มความรู้ ความมั่นใจ ในการนําเคมีย่อส่วนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป และจะพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียน ให้รักและชอบที่จะเรียนวิทยาศาสตร์"

 

          

  นางสาวดวงแข ศรีคุณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม กล่าวเสริมว่า "โครงการเคมีดาวได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์การทดลองและเวลาเรียนที่จํากัด โดยใช้อุปกรณ์ที่ครูสามารถจัดหาจัดเตรียมเองได้ ทําการทดลองได้เร็ว เป็นการเปิดโอกาสให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ความรู้ในเนื้อหาวิชา แต่ยังเสริมทักษะการคิดและสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ยังพบว่าเคมีแบบย่อส่วนสามารถสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้นักเรียนมีความตื่นตัว ใฝ่รู้สนุกกับการเรียน"

 

นางสาวสกลวรรณ ผิวเดช โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม "ธาตุประสิทธิ์ประชานุเคราะห์สพม.นครพนม กล่าวว่า "เป็นการอบรมที่ทําให้มีแนวคิดการสอนเคมีแตกต่างออกไปจากเดิม ฝึกให้มองสิ่งรอบตัวมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการทดลอง ให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลงมือทําชุดการทดลองของตัวเอง ซึ่งจากการทดลองแบบเดิมจะให้นักเรียนทําเป็นกลุ่ม ปัญหาที่พบคือมีนักเรียนที่ไม่มีส่วนร่วมในการทดลอง ถ้าใช้การทดลองแบบย่อส่วน เด็กทุกคนก็จะได้ลงมือทํา เป็นการทดลองชุดจิ๋วแต่แจ๋วมาก ประทับใจทุกกิจกรรมการทดลอง จะนําไปต่อยอด ปรับให้เหมาะกับนักเรียนในห้องเรียน และพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนในเรื่องต่าง ๆ ต่อไป   

  \"ห้องเรียนเคมีดาว\" พัฒนาครูวิทย์ไทย