TRT โชว์กำไร Q 2 ปี 64 กวาดรายได้จากการขาย 857.03 ล้านบาท

TRT โชว์กำไร Q 2 ปี 64 กวาดรายได้จากการขาย 857.03 ล้านบาท

เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 83.51  ล้านบาท หรือ 10.80% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้หม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมทั้งมีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้น

 

ถิรไทย หรือ TRT ผู้นำตลาดผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของไทย ประกาศผลประกอบไตรมาส 2 ปี 64 มีรายได้จากการขาย 857.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 83.51  ล้านบาท หรือ 10.80% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้หม้อแปลงไฟฟ้า พร้อมทั้งมีรายได้จากบริการเพิ่มขึ้น เป็น 69.30 ล้านบาท หรือ 5.25 % จากปีก่อน หวังยอดขายครึ่งปีหลังยังโตสวนกระแสโควิด-19

 

นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT ผู้ผลิต จำหน่าย และซ่อมบำรุง หม้อแปลงไฟฟ้าทุกขนาดของคนไทยเพียงแห่งเดียว เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ว่า บริษัทฯและบริษัทย่อย มีผลกำไรขาดทุนสุทธิ 3.18 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดบัญชีเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิ 80.05 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ขอชี้แจงรายละเอียดดังนี้

 

บริษัทฯ และ บริษัทย่อย มีรายได้จากการขาย 857.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 83.51  ล้านบาท หรือ 10.80 % ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้หม้อแปลงไฟฟ้า และบริษัทฯ มีรายได้จากการบริการ 69.30 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 3.46 ล้านบาท หรือ 5.25% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการบริการหม้อแปลงไฟฟ้า

 

ทั้ง้นี้บริษัทฯ มีรายได้ตามสัญญาก่อสร้าง จากการดำเนินการของบริษัทย่อย 16.86 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 10.18 ล้านบาท หรือ 37.65% เนื่องจากสภาพการแข่งขันในช่วงโควิดสูงขึ้น ทำให้รายได้ของบริษัทย่อยลดลง

 

นายสัมพันธ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ บริษัทยังมีกำไรขั้นต้นจากการขาย 18.52 % เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีอัตรากาไรขั้นต้นเท่ากับ 13.53 % เนื่องจากในไตรมาสนี้ส่งมอบงานที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูง โดยเฉพาะธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า และยังมีกำไรขั้นต้นจากการบริการ 48.44 % เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 36.99 % ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของการบริการหม้อแปลงไฟฟ้า

 

 สำหรับครึ่งปี 2564 บริษัทฯ คาดการณ์ว่า ความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้าภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ผลจากการเริ่มมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย และมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมถึง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐปี 2564 เพิ่มขึ้นถึงสองแสนกว่าล้านบาท โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งจะเหนี่ยวนำการลงทุนภาคเอกชนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกกว่าหนี่งแสนล้านบาท สำหรับการส่งออกหม้อแปลงไฟฟ้า แม้ภาวะเศรษฐกิจโลก อาจจะยังค่อยๆ ฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มดีขึ้น และมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงมีนโยบายที่จะรักษาฐานตลาดเดิม และมุ่งขยายฐานตลาดใหม่ในต่างประเทศ

 

“และในครึ่งปีหลังของปี 2564 บริษัทฯ คาดว่าจะเป็นอีกปีที่จะมีผลประกอบการเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ เนื่องจากคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ในส่วนของผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้าขยายตัวมากขึ้น บริษัทฯ มีงานในมือ (Backlog) ณ.สิ้นมิถุนายน 2564 มูลค่า  1,151 ล้านบาทแล้ว แบ่งเป็นงานในภาครัฐบาลและเอกชน  1,022 ล้านบาท  และ อีก 129 ล้านบาท จะเป็นงานภาคส่งออกต่างประเทศ” นายสัมพันธ์ กล่าวปิดท้าย