ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ใช้ “กัญชา” มาปรุงอาหาร ให้ปลอดภัย ต้องทำอย่างไร?

ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ใช้ “กัญชา” มาปรุงอาหาร ให้ปลอดภัย ต้องทำอย่างไร?

ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ต้องรู้ใช้ “กัญชา” มาปรุงอาหาร ที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย มีและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ต้องทำอย่างไร?

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ภายหลังที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 และมีผลใช้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565  ที่ผ่านมา

โดยผลจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวจะส่งผลให้ทุกส่วนของ กัญชา กัญชง ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร Tetrahydrocannabinol, THC เกินร้อยละ 0.2 ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคต่อการนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร ที่มีนำส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติดให้โทษไปใช้ในอาหารโดยขาดการใช้ที่รัดกุมเพียงพอ

อันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมาได้ กรมอนามัยจึงได้ ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ซึ่งสถานประกอบกิจการอาหาร ในประกาศฯ ดังกล่าว หมายรวมถึงตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่ หรือทางสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  ที่จะนำไปใบกัญชามาใช้เป็นส่วนประกอบในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร เพื่อจำหน่ายในสถานประกอบกิจการอาหารนั้น

จากเดิมตามประกาศประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ที่มีการลงนามเมื่อ 30 มีนาคม 2565 ซึ่งในข้อ 3 กำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร ต้องจัดหาใบกัญชาจากแหล่งปลูกหรือแหล่งผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด และต้องเปิดเผยเอกสารหรือแสดงหลักฐานแหล่งที่มา และวัตถุประสงค์ในการนำใบกัญชามาใช้ประโยชน์ เป็นส่วนประกอบของอาหาร เพื่อการจำหน่ายในสถานประกอบกิจการอาหาร

ขณะนี้กรมอนามัยได้ออกประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมานี้ โดยให้ยกเลิกความในข้อ 3 เปลี่ยนเป็นกำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสีย แทน

ทั้งนี้ สำหรับข้อกำหนดอื่น ๆ ในประกาศยังคงเหมือนเดิม คือ สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ  และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่

  1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
  2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
  3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหารตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
  4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
  5. แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ “เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน” “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที” “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน” “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”
  6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค