จุฬาฯ จับมือ อว. เปิดลงทะเบียน โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

จุฬาฯ จับมือ อว. เปิดลงทะเบียน โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

จุฬาฯ ร่วมมือกับกระทรวง อว. เปิดลงทะเบียนออนไลน์รับบัณฑิตจบใหม่และประชาชน ร่วมโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ซึ่งเป็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนกว่า 98 แห่ง สำหรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

"โครงการ U2T for BCG" เป็นการรวมพลังของมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนกว่า 98 แห่ง สำหรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่รวม 68,350 คน ครอบคลุม 7,435 ตำบล ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ

เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเป็นรายตำบลทั่วประเทศ ซึ่งเป็นโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green Economy (BCG หรือเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) โดยเป็นการร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ด้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับผิดชอบ 74 ตำบล ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 1 ตำบล น่าน 4 ตำบล ปัตตานี 1 ตำบล ยโสธร 1 ตำบล สระบุรี 67 ตำบล

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมโครงการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถกรอกข้อมูลผ่านระบบกลางออนไลน์ของ อว. หลังจากคัดเลือกได้แล้ว จะมีการลงพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกับชุมชน ตำบลละ 8-10 คน เพื่อทำหน้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของชุมชน เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริการ การส่งเสริมการขยายและการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่าสูง การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ การขนส่งและกระจายสินค้า เป็นต้น

ส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการ: 74 ตำบล (ตำบลเดิม 9 ตำบล/ ตำบลใหม่ 65 ตำบล)

ระยะเวลาการจ้างงาน: 3 เดือน (กรกฎาคม – กันยายน 2565)

รอบการสมัครและคัดเลือก

เปิดรับสมัครบัณฑิตและประชาชน ผ่านระบบการรับสมัครกลางทางเว็บไซต์ https://u2tbcg.com โดยผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกข้อมูลคุณสมบัติเบื้องต้นและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง พร้อมระบุพื้นที่ที่ประสงค์ในการปฏิบัติงาน

การสมัครแบ่งเป็นสองรอบ

รอบที่ 1 สมัครระหว่าง 17 -21 มิถุนายน 2565 การคัดเลือก 22-26 มิถุนายน 2565 สรุปผลและประกาศผล 26 มิถุนายน 2565

รอบที่ 2 สมัครระหว่าง 17 -21 มิถุนายน 2565 การคัดเลือก 29-30 มิถุนายน 2565 สรุปผลและประกาศผล 30 มิถุนายน 2565

ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565

การจ้างงาน

พื้นที่ตำบลเดิม

1. ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) กำหนดจำนวนผู้ข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน/ตำบล ประกอบด้วย

2. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่กิน 5 ปี ในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 4 คน/ตำบล

3. ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในอัตรา 9,000 บาทต่อเดือน จำนวน 4 คน/ตำบล

พื้นที่ตำบลใหม่

1. กำหนดจำนวนผู้ข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน/ตำบล ประกอบด้วย

2. บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามาไม่กิน 5 ปี ในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 5 คน/ตำบล

3. ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ในอัตรา 9,000 มาทต่อเดือน จำนวน 5 คน/ตำบล

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

1. บัณฑิตจบใหม่ เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไม่กิน 5 ปี และมีความรู้ ความสามารถที่ตรงต่อภารกิจในการปฏิบัติงานที่ว่างงาน และไม่ได้รับค่าตอบแทน ค่าจ้าง จากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน และไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่

2. ผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียงและสามารถเดินทางมาปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ ที่ว่างงานหรือไม่ได้รับคำตอบแทนค่าจ้างจากหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชนและไม่ได้รับความช่วยเหลือในการจ้างงานจากภาครัฐที่ให้การช่วยเหลืออยู่

3. มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่สถาบันอุดมศึกษากำหนด

ลักษณะและรายละเอียดภาระหน้าที่ของงาน

1. พัฒนา สั่งเสริม ผลักดัน ผลิตภัณฑ์และบริการต้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น

1.1 พัฒนาสินค้าและบริการชุมชนให้ได้มาตรฐานและมีมูลค่าสูงด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

1.2 ทำการตลาดและขายสินค้า ทั้งแบบ online / offline และทั้งใน และต่างประเทศ

1.3 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์และ brand สินค้า เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง

1.4 การพัฒนา U2T Market Place Platform เพื่อเป็นตลาดการขายผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนที่ได้รับการส่งเริมผลักดันในโครงการ

1.5 ยกระดับสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานสากล

1.6 การถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านการผลิตและบริการ

1.7 พัฒนาการขนส่งและกระจายสินค้า

2. ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานสนับสนุน

2.1 การจัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์

2.2 การปรับปรุงและพัฒนา Platform ให้ตอบสนองการใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ

2.3 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่

2.4 การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน

3. เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะ BCG ผ่านช่องทางออนไลน์

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

เรื่องเว็บไซต์การสมัคร โทร. 0-2026-6589

รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการภายใต้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3106

จุฬาฯ จับมือ อว. เปิดลงทะเบียน โครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” หรือสแกนผ่าน QR Code เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ