ห้องพยาบาลร.ร.กลุ่มนักข่าวหญิง 2 ที่พึ่งปฐมภูมิแห่งแรกเด็กกะเหรี่ยง
ชาวกระเหรี่ยงถูกจำกัดสิทธิการรักษา โรงเรียนโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี) จึงดัดแปลงห้องเรียนให้เป็นห้องพยาบาล โดยมีครูอนามัยซึ่งพักภายในโรงเรียนดูแล เพื่อรักษาเบื้องต้นก่อนส่งตัวไปยังรพ.สวนผึ้ง โดยมีชาวบ้านมาพึ่งพิงในการขอยาสามัญประจำบ้าน
แม้จะมีรพสต.ตำบลตะนาวศรี แต่ชาวกระเหรี่ยงก็ยังถูกจำกัดสิทธิการรักษาโรงเรียนโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี) จึงดัดแปลงห้องเรียนให้เป็นห้องพยาบาล โดยมีครูอนามัยซึ่งพักภายในโรงเรียนดูแล เพื่อรักษาเบื้องต้นก่อนส่งตัวไปยังรพ.สวนผึ้ง
ห้องพยาบาลโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี)ยังมีชาวบ้านมาพึ่งพิงในการขอยาสามัญประจำบ้าน ที่สำคัญโรงเรียนยังมีทั้งอาหารเช้า อาหารกลางวันให้แก่เด็ก รวมถึงห่อให้กลับไปทานที่บ้าน เพื่อลดปัญหาทุพโภชนาการ โดยการขอบริจาคอาหารจากทางวัด
เปลว ปุริสาร ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง2 (บ้านบ่อหวี) เล่าว่า ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนชั้นอนุบาล-ป.6 มีนักเรียน 278 คน ส่วนใหญ่ฐานะยากจน เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยง 85% และสัญชาติไทย เชื้อชาติกระเหรี่ยง 15% ครูเป็นข้าราชกร 12 คน และอัตราจ้าง 4 คน เนื่องจาก รพ.สวนผึ้ง อยู่ห่างจากชุมชนไป-กลับกว่า 60 กิโลเมตร ผู้ปกครองไม่มีรถในการพาเด็กๆ ไปหาหมอ และเนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในป่า จึงพบปัญหาไข้เลือดออกสูง โดยในปี 2557 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงอันดับ 4 ของประเทศ รวมถึงมาลาเรีย และชิคุนกุนยา
โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 จากดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชาวไทยกระเหรี่ยง ณ ชายแดนไทยพม่า บ้านบ่อหวี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี กลุ่มนักข่าวที่ตามเสด็จจึงรวบรวมเงินราว 7 หมื่นบาท ก่อสร้างโรงเรียนแห่งนี้ขึ้นเพื่อให้เด็กๆ ในชุมชนได้เล่าเรียน โดยในช่วงแรกอยู่ในสังกัด ตชด. และถ่ายโอนมาอยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการในปี 2542
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กันยายน มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย และ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย มอบอาคารปฐมพยาบาลชุมชนให้แก่โรงเรียนแห่งนี้ ผ่านกิจกรรม “One Pfizer for Better society ร่วมใจให้สังคม” ขนาด 10 x14 เมตร หรือ 140 ตารางเมตร ประกอบด้วย เตียงคนไข้ 4 เตียง ยาสามัญประจำบ้าน และเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมด้านสุขภาวะของคนในชุมชน พร้อมทั้งได้นำทีมพนักงานลงพื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น(CPR) เพื่อให้คนภายในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุต่างๆ รวมถึงได้มอบหุ่นจำลองช่วยชีวิต เพื่อให้เป็นสื่อการเรียนการสอนแก่นักเรียนอีกด้วย
ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนงานการตลาดและจัดหาทุน มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการที่มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ทำโครงการในพื้นที่ต.ตะนาวศรีกว่า 12 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำในพื้นที่ในลักษณะเครือข่าย สำหรับเรื่องเร่งด่วนในโรงเรียนกลุ่มนักข่าวหญิง 2 ได้แก่ สถานพยาบาล แต่เดิมที่นี่ใช้ห้องเรียนและคุรุภัณฑ์ที่ได้รับบริจาคมาเพียงเล็กน้อย แต่ที่นี่กลับเป็นด่านแรกที่เป็นที่พึ่งสำหรับเด็กๆ และชุมชน ถัดมาคือ โภชนาการซึ่งด้อยกว่าที่อื่น และการเสื่อมของอาคารเรียน รวมถึงเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งจะเข้ามาเสริมพัฒนาการของเด็ก
มร.เซลิม เซสกิน ประธานกรรมการ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทย กล่าวว่า การสร้างศูนย์ปฐมพยายาลให้แก่โรงรียนกลุ่มนักข่าว 2 เพื่อให้เด็กและชุมชนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ ที่นี่เนื่องจากมีเด็กด้อยโอกาสค่อนข้างเยอะ และมีชนชาติกระเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโอกาสการเข้าถึงด้านการศึกษาและสิทธิต่างๆ ที่รัฐสนับสนุนค่อนข้างน้อย จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กๆ เหล่านี้
นอกจากนี้ ยังได้สร้างแปลงเกษตรพืชผักสวนครัว โรงเลี้ยงไก่ไข่ และมอบไก่ไข่จำนวน 100 ตัว ให้แก่โรงเรียนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การทำการเกษตรพอเพียง รวมถึงเรียนรู้การสร้างรายได้จากการทำการเกษตร โดยรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายผลผลิตเองด้วยความภาคภูมิใจนี้ จะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารเช้าและกลางวันของนักเรียนในโรงเรียน รวมไปถึงการส่งมอบวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนทุกเดือนตลอดทั้งปี อาทิ ข้าวสาร และน้ำมันพืช อีกด้ว