'นิด้าโพล' เผยประชาชนต้องการให้ปฏิรูป 'สื่อไทย' ด่วน แก้ปัญหาจรรยาบรรณการทำข่าว
“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงาสะท้อนสื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2563
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เงาสะท้อนสื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 กุมภาพันธ์ 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,259 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับจริยธรรม/จรรยาบรรณต่อการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน และความจำเป็นต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงจริยธรรม/จรรยาบรรณต่อการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 11.91 ระบุว่า มีจริยธรรม/จรรยาบรรณมาก ร้อยละ 47.18 ระบุว่า ค่อนข้างมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ ร้อยละ 33.60 ระบุว่า ไม่ค่อยมีจริยธรรม/จรรยาบรรณ ร้อยละ 6.36 ระบุว่า ไม่มีจริยธรรม/จรรยาบรรณเลย และร้อยละ 0.95 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านการทำข่าว/รายงานข่าว ของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.12 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรตนเอง ร้อยละ 24.23 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างเป็นกลาง ร้อยละ 21.13 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว แบบเลือกข้าง ร้อยละ 19.86 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลที่ยังไม่มีการตรวจสอบความจริง ร้อยละ 12.07 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลจริงที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 11.28 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของสมาคม/องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนต่อการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชนไทยในการทำข่าว/รายงานข่าว พบว่า ร้อยละ 13.03 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก ร้อยละ 42.02 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 32.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 9.61 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 2.70 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความจำเป็นเร่งด่วนต่อการปฏิรูปสื่อมวลชนไทย พบว่า ร้อยละ 50.20 ระบุว่า เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนอย่างมาก ร้อยละ 30.82 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 12.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ร้อยละ 4.92 ระบุว่า ไม่เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเลย และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.81 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.27 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.36 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.58 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 8.42 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 16.20 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.89 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.20 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.29 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.92 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.62 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.11 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.35 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 24.07 สถานภาพโสด ร้อยละ 70.05 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.37 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.51 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 24.70 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.03 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.15 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.37 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.92 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.64 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.63 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.90ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.69 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.54 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.59 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.18 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.75 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 18.11 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.37 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.20 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 6.83 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.69 ไม่ระบุรายได้