มองปัญหา 'คนไร้สัญชาติ' ผ่านสายตา 'ครูแดง' นักต่อสู้เพื่อคนไร้รัฐ

มองปัญหา 'คนไร้สัญชาติ' ผ่านสายตา 'ครูแดง' นักต่อสู้เพื่อคนไร้รัฐ

พร้อมค้นหาความหมายของชีวิตคนไร้สัญชาติ ผ่านสายตา "ครูแดง" หรือ "เตือนใจ ดีเทศน์" ผู้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย และเป็นคนไทยคนแรกที่เข้าชิงรางวัลนานเซ็นของ UNHCR ในปี 2561 


หากย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ข่าวดีเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยคือ ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกได้รับการเสนอชื่อให้เป็น 1 ใน 4 คนสุดท้ายที่จะเข้าชิงรางวัลนานเซ็นของ UNHCR ในปี 2561 โดย 'ครูแดง' เป็นที่รู้จักในนามนักต่อสู้เพื่อสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย

รางวัลนานเซ็น (Nansen Refugee Award) เปรียบได้กับรางวัลโนเบลที่จัดมอบโดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) แต่เมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ครูแดงทำงานเพื่อสิทธิของคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย มากกว่า 40 ปี รางวัลนี้ดูเล็กน้อยไปถนัดตา และอาจไม่ได้ช่วยให้เป้าประ

“สิ่งที่เราทำ มันยังไม่ทำให้สังคมเปลี่ยนไปในทางที่หวัง ไม่ว่าเราจะได้รางวัล ได้เข้าชิงหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ในทางกลับกันถ้าเราได้รางวัลแล้วผู้คนหันมาสนใจปัญหาคนไร้สัญชาติมากขึ้น อันนี้แหละที่เราพอใจ”

160706801814

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2516 ครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงราย สร้างเครือข่ายการศึกษานอกระบบใน 27 หมู่บ้าน สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิให้กับชาวบ้าน และยังส่งเสริมการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ครูแดงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ใน พ.ศ. 2528 ซึ่งมูลนิธิประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนเพื่อการมีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ ทั้งหญิง ชายและเยาวชน

อีกทั้งยังได้เสริมศักยภาพของชุมชนในประเด็นเรื่องสิทธิ ซึ่งชุมชนหลายๆ แห่งในจังหวัดเชียงรายที่ได้รับการสนับสนุนจากครูแดง ล้วนแล้วแต่เป็นที่รู้จักในฐานะชุมชนตัวอย่างด้านการทำการเกษตรอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

เราได้พบเจอกับ "ครูแดง" ในงานนิทรรศการภาพถ่ายไร้รัฐไร้สัญชาติจากทั่วโลก เป็นการจัดโครงการ #IBelong เพื่อยุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติให้ได้ภายใน 10 ปี

ภาพจำนวน 15 ภาพในนิทรรศการ #IBelong ไม่ได้ดึงดูดความสนใจมากกว่าภาพที่จัดใน หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แต่อย่างใด แต่เรื่องเล่าในภาพมากกว่าที่พาลทำให้อยากรู้ปัญหาของคนไร้สัญญาชาติมากขึ้น ส่งผลให้เป็นที่มาของการนั่งสนทนากับ ครูแดงเรื่องคนไร้สัญชาติอย่างจริงจัง พร้อมค้นหาความหมายของชีวิตคนไร้สัญชาติ ผ่านสายตาครูแดง เตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ขับเคลื่อนลดภาวะคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

  • ไร้สัญชาติ สู่การไร้ตัวตน และความเป็นมนุษย์ 

คนทั่วไปอาจจะยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า บุคคลไร้รัฐ-ไร้สัญชาติ คือคนกลุ่มไหนกันแน่? เรื่องนี้ครูแดงอธิบายว่า "คนไร้รัฐ" คือคนที่ไม่มีชื่อในระบบทะเบียนราษฎรของรัฐใดในโลก ซึ่งเหมือนกับว่ามีแค่ร่างกาย แต่ไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย ในขณะที่ "คนไร้สัญชาติ" คือคนที่ได้รับการสำรวจให้มีรายชื่อในระบบทะเบียนราษฎรแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาสถานะหรือไม่ได้รับการรับรองสิทธิความเป็นพลเมือง

ซึ่งทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการขั้นพื้นฐานต่างๆ ของรัฐได้ บ่อยครั้งที่พวกเขาถูกสังคมผลักให้กลายเป็นคนชายขอบและถูกแยกออกจากสังคมไปในที่สุด

สถิติอย่างเป็นทางการล่าสุดของรัฐบาลไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 จำนวนบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติที่จดทะเบียนกับรัฐบาลไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 479,943 คน ภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะดังกล่าว มักพบที่แถบชายแดนบนพื้นที่สูง บางชุมชนอพยพมาอยู่อาศัยในไทย 100 กว่าปีมาแล้ว ซึ่งส่วนมากเป็นประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน ซึ่งทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวไม่มีเอกสารทางกฎหมายใดๆ เพื่อใช้ระบุตัวตน 

จากการที่ประเทศไทยแก้ไขกฎหมายสัญชาติและจัดระเบียบทะเบียนราษฎร ส่งผลให้บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนกว่า 100,000 คน ที่จดทะเบียนกับทางการได้รับสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา นอกจากนี้รัฐบาลไทยได้แถลงคำมั่นว่าจะดำเนินการเพื่อลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ ณ ที่ประชุมระดับสูงว่าด้วยภาวะไร้รัฐที่จัดขึ้นที่ กรุงเจนีวา เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 อีกด้วย

  • มองเห็นอะไรในปัญหาคนไร้สัญชาติ

เมื่อยิงคำถามว่าครูแดงเห็นอะไรในแววตาของคนไร้สัญชาติ ? ครูแดงตอบทันทีว่าเธอมองเห็น "ความหวัง"

เวลาไปพื้นที่ไหนๆ ก็มักจะมีคนเข้ามาบอกว่าเขาเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ กำลังมีปัญหา เราจะปล่อยให้พวกเขาเหล่านี้ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังและเผชิญปัญหาเหล่านั้นเพียงลำพังอย่างนั้นหรือ แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการลดภาวะนี้ แต่ก็ยังมีอุปสรรคอีกไม่น้อยที่ทำให้การแก้ปัญหานี้ยังทำได้ยาก ครูแดงกล่าว

160706819631

“เรื่องแรก คือ ทัศนคติเชิงลบ คนในสังคมอาจจะมีทัศนะเชิงลบต่อคนที่เขาอพยพเข้ามา ซึ่งเข้ามาแล้วก็กลายเป็นคนไร้รัฐ คือไม่ได้ถูกสำรวจชื่อตามระบบทะเบียนราษฎร มายาคติทำให้พวกเขาถูกมองว่าจะเข้ามาแย่งงาน แย่งทรัพยากร แย่งใช้พื้นที่ในโรงพยาบาล ทำให้คนไทยต้องไปต่อคิวยาว ซึ่งเราจะเห็นการผลิตซ้ำข้อความที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังแบบนี้บ่อยๆ

ถ้าทัศนคติเหล่านี้เปลี่ยนไปกลายเป็นว่าเรามองมนุษย์ทุกคนไม่ใช่จากที่ที่เขามาหรือไม่มีสัญชาติ แต่มองจากที่เขาเป็นมนุษย์ แล้วมองในเชิงบวก เราจะพบว่าพวกเขาก็เข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเราเช่นกัน

เรื่องที่สอง คือ ความไม่รู้ ความกลัว ความไม่กล้า จากทั้งเจ้าของปัญหาเองที่มีการศึกษาน้อย เป็นคนที่ไม่รู้กฎหมาย รวมถึงจากตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่รู้จริงๆ เนื่องจากกฎหมายมีหลายฉบับที่ซับซ้อน ทำให้ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ

เรื่องที่สาม คือ ระบบ ถ้าเรามีระบบงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการจัดสรรบุคลากรและทรัพยากรไปในพื้นที่ที่มีปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติได้ เราก็จะแก้ปัญหานี้ได้ดีขึ้น บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่ในหลายพื้นที่เข้ามารับภาระงานโดยตำแหน่งมาอยู่ที่นี่ ต้องทำเรื่องนี้แต่ไม่ได้มีใจรัก ก็อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงาน การสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งก็จะยิ่งส่งผลทำให้การงานไม่ต่อเนื่อง และหลายภาคส่วนก็มีเรื่องของตัวเงินและการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง

  • กฎหมาย "คนไร้สัญชาติ" ของไทยไปได้ไกลแค่ไหน

ครูแดงกล่าวว่า การพิจารณาเรื่องคนไร้รัฐไร้สัญชาติไม่ควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจ แต่ควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดทุกอำเภอ ทุกสำนักทะเบียน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยควรจะยกเครื่องเรื่องนี้ จากเดิมที่ดีอยู่แล้วให้กลายเป็นดีเลิศ

นโยบายและกฎหมายไทย อาจจะยังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ต้องพิจารณาทบทวนเรื่องนี้ให้ละเอียดรอบคอบ เช่น ในกรณีร้องขอสัญชาติหรือแปลงสัญชาติมาเป็นสัญชาติไทยมีเกณฑ์ต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือจะต้องเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ เช่น กรณีของ อาจารย์อายุ นามเทพ อาจารย์ประจำคณะดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ ที่พาคณะนักร้องประสานเสียงไปคว้ารางวัลชนะเลิศยังต่างแดน หรือในกรณีของ หม่อง ทองดี แชมป์การร่อนเครื่องบินกระดาษประเภททีมผสมที่ประเทศญี่ปุ่น

แต่คำถามสำคัญคือ ต้องสร้างชื่อเสียงหรือทำความดีและคุณประโยชน์แค่ไหน? จึงเพียงพอที่จะผ่านเกณฑ์นั้นๆ เป็นต้น

160701796360

ที่ผ่านมา ครูแดงมีส่วนร่วมทำงานในฐานะสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมการสิทธิมนุษยชน ระหว่าง .. 2543 – 2562 ในการผลักดันและปฏิรูปกฎหมายสัญชาติและการทะเบียนราษฎร ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย นักวิชาการ และองค์กรด้านสถานะบุคคล ซึ่งเป็นประโยชน์ในการออกใบแจ้งเกิด การบันทึกชื่อในระบบทะเบียนราษฎร แก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ รวมถึงคนไทยพลัดถิ่นและคนไร้รากเหง้า

แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้ประสบผลสำเร็จ ยังต้องใช้ความร่วมมือจากอีกหลายภาคส่วน การร่วมมือกันย่อมดีกว่ามือเดียว” ครูแดง ทิ้งท้าย