โควิด-19 ระบาดรอบ2 เช็คความเสี่ยง แค่ไหนถึงจะเสี่ยงสูง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

โควิด-19 ระบาดรอบ2 เช็คความเสี่ยง แค่ไหนถึงจะเสี่ยงสูง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

ไขข้อข้องใจ ระดับ "ความเสี่ยง" เมื่อใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 แค่ไหนถึงเรียกว่ามีความเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ หรือไม่มีความเสี่ยงเลย พร้อมข้อควรปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในความเสี่ยงระดับต่างๆ

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ที่ทวีความรุนแรงขึ้น จากการระบาดระลอกใหม่ที่มีจุดเริ่มต้นจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร หลังจากที่พบผู้ป่วยรายแรกเป็นเจ้าของแพปลาที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร กระบวนการต่อมาคือการสอบสวนโรคว่ามีความใกล้ชิดกับใครบ้าง และเดินทางไปยังสถานที่ใด เพื่อจะได้เฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของพื้นที่นั้นๆ

โดยขณะนี้การแพร่ระบาดของขยายไปในหลายพื้นที่ จากการเดินทางไปมาของผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่มีประวัติเคยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 มาก่อน และจากการติดตามข้อมูลข่าวสารมักจะได้ยินคำว่า "ความเสี่ยงสูง" หรือ "ความเสี่ยงต่ำ" กันบ่อยครั้ง จึงอาจทำให้หลายคนสับสนและหวั่นวิตกว่าตัวเองจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงหรือไม่

ซึ่งข้อมูลจากกรมควบคุมได้อธิบายถึงความเสี่ยงของผู้สัมผัสผู้ป่วย โดยแบ่งความเสี่ยงเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1.ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย 

2.ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

3.ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

160887922444

ทั้งนี้หากมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง? กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธาณสุข ระบุแนวทางปฏิบัติตัวโดยแยกตามความเสี่ยงดังนี้

1.ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะต้องเข้ารับการกักกันโรค รวมถึงต้องตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการ (อ่านข่าว : สำรวจราคา ตรวจ ‘โควิด-19’ ต้องเตรียมงบเท่าไหร่ คลิกที่นี่)

2.ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ควรสังเกตอาการตัวเอง 14 วัน หลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชน เว้นระยะห่างจากผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ และแยกรับประทาน อาหาร (แยกสำรับ)

3.ผู้ที่ไม่มีความเสี่ยง ไม่จำเป็นต้องกักตัว และไม่ต้องตรวจหาเชื้อ

160887918963