9 นวัตกรรมสจล.ช่วยผู้ป่วยโควิด-19

9 นวัตกรรมสจล.ช่วยผู้ป่วยโควิด-19

โลกวันนี้เรื่องจำเป็นมากที่สุด คือสุขภาพ ยิ่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นเชิงประจักษ์มากขึ้นว่าประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องสร้างผลิต นวัตกรรมทางการแพทย์ ยืนบนฐานตนเอง ไม่ใช่พึ่งพิงจากต่างประเทศอย่างที่ผ่านมา

ปัจจุบันประเทศไทย นำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ปีละ 70,000 ล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการผลิตเครื่องมือแพทย์ด้วยตนเอง อนาคตประเทศไทยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

ปัญหาหลักของการผลิตเครื่องมือแพทย์ไม่ใช่การขาดแคลนความรู้ แต่อยู่ที่ระบบการจัดการที่จะทำให้ความรู้จากสถาบันการศึกษาเข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ได้จริง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตเครื่องมือ นวัตกรรมทางการแพทย์ ที่เกิดจากฝีมือของคนไทย เพราะหากไทยทำ ไทยใช้เอง ไทยก็สามารถรอดได้

161062805480

.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสจล. กล่าวในงานศูนย์ KMITL GO FIGHT COVID-19 สจล.เปิดสุดยอดนวัตกรรม ฝีมือนักวิจัยไทยพร้อมเปิดแผนรับมือโควิด 19 ในประเทศไทย ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสองครั้งนี้ มีความรุนแรงมากกว่าระลอกแรก แต่ความตื่นตัวของปรชาชนในระลอกนี้มีน้อยกว่า ซึ่งหลายคนอาจมองว่าแพทย์ไทยเก่ง มีศักยภาพทางการแพทย์รองรับผู้ติดเชื้อได้ ซึ่งไม่อยากให้คิดแบบนั้น เพราะทุกวิกฤตที่เกิดขึ้นแม้จะมีโอกาสอยู่แต่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคน

โอกาสของไทยมีบทพิสูจน์ 2 ข้อ คือ 1.บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์ พยาบาลมีศักยภาพ เก่ง มีความเสียสละมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิาชีพ ส่วนข้อ2 ทุกอย่างที่ใช้สู้โควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ล้วนนำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งในบทพิสูจน์ข้อ 2 นี้ เป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้สจล.จัดตั้งศูนย์ KMITL GO FIGHT COVID-19 เพื่อคิดค้นผลิตนวัตกรรมเครื่องมือทางการแพทย์ ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 โดยเริ่มแรกได้มีการผลิตเครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมีต้นแบบมาจากมหาวิทยาลัย MIT และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ก็เกิดดราม่าว่าไม่น่าจะสู้ต่างชาติได้ จนถึงตอนนี้เราสามารถผลิตเครื่องช่วยหายใจที่ผ่านมากการรับรองมาตรฐานและสามารถใช้ได้จริงช่วยเหลือู้ป่วยโควิด-19 ทั้งไทยและต่างประเทศอธิการบดี สจล. กล่าว

161062807311

9 นวัตกรรม ที่ศูนย์ KMITL GO FIGHT COVID-19 ได้ผลิตเพื่อแจกจ่ายให้แก่โรงพยาบาล และหน่วยงานที่มีความต้องการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีดังนี้

1.เครื่องช่วยหายใจในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Transport Ventilator – KNIN II) โดยแพทย์ผู้ใช้สามารถเลือก operation setting mode เพื่อทำการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่าง ภายในเครื่องได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการหายใจของผู้ป่วยในขณะนั้น สามารถตั้งค่าแจ้งเตือน highest pressure จะทำงานเมื่อความดันในชุดท่อสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้ เครื่องจะทำการแจ้งเตือนและตัวเครื่องจะหยุดปั๊มอากาศและปรับระดับอากาศให้เหมาะสบกับการหายใจของผู้ป่วย สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย ลดการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย COVID -19 และเป็นการช่วยแบ่งเบาบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถทำหน้าที่อื่นๆโดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบบีบมือตลอดเวลา และช่วยลดความขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ราคาสูงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

161062810223

2.กล่องอบฆ่าเชื้อโรคระบบปิด สามารถฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบรังสีอัลตร้าไวโอเลต ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ประหยัดพลังงานสามารถเสียบใช้ไฟบ้านได้

3.ระบบคัดกรองบุคคลด้วย AI จะมีสัญญาณเชื่อมต่อกับไซเรน หรือระบบที่ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ ระบบทำการประมวลผลแล้วแจ้งผลภายใน 0.5 วินาที โดยถ้าอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาจะมีแทบสีแดงขึ้นแจ้งเตือนและกรณีที่ผู้ใช้งานไม่ใส่หน้ากากระบบจะแจ้งเตือนให้ใส่หน้ากาก 

161062622269

4.รถตู้ตรวจเชื้อ (Mobile Swab Test) โดยภายในรถตู้ติดตั้งระบบความดันบวก และมีการติดอุปกรณ์สื่อสารเช่นไมค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารกับภายนอกได้ มีการติดตั้งสายดิน และมีระบบกรองอากาศภายในตัวรถ ช่วยลดการแพร่กระจายและสะดวกต่อการเดินทางเข้าไปตรวจในพื้นที่เสี่ยงที่พบผู้เสี่ยงติดเชื้อสูง ขณะนี้ได้มีการออกไปให้บริการในพื้นที่เสี่ยง

5.ชุด PAPRs หน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ ใช้ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องออกตรวจในพื้นที่เสี่ยงหรือต้องใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อลดการใช้งานชุด PPE และสามารถใช้งานได้คล่องตัวและยาวนานกว่าการใส่ชุด PPE ทั้งตัวที่ร้อนและอาจสิ้นเปลือง

 6.ตู้ตรวจเชื้อ (Swab Test) ความดันบวก (Positive Pressure)  ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างหาเชื้อ COVID -19 โดยระบบภายในตู้เป็นความดันบวก ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เน้นการใช้งานด้านนอกอาคาร การลงพื้นที่ตรวจหาผู้ป่วยในกรณีที่มีผู้ที่ต้องสอบส่วนโรคเป็นจำนวนมาก

7.ตู้ตรวจเชื้อ (Swab Test) ความดันลบ (Negative Pressure) ออกแบบให้ภายในตู้มีความดันเป็นลบเพื่อให้อากาศไหลเข้าทางเดียวมีระบบฆ่าเชื้อโรคภายในตู้และมีระบบกรองอากาศฆ่าเชื้อโรคด้วย UV-C และ HEPA ก่อนปล่อยอากาศออกสู่ภายนอกตู้

161062812236

8.หุ่นยนต์ RAIBO-X ฆ่าเชื้อโรค ด้วยแสง UV เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์ AGV (Automatics Guide Vehicle) ชนิดใช้แผนที่ในการนำทาง เดิน และหลบสิ่งกีดขวางแบบอัตโนมัติโดยต่อยอดใช้กับอุปกรณ์ฉายแสง UVC เพื่อใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรค การวางแผนเส้นทางเดินของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบอัตโนมัติ AGV และระบบเปิด-ปิดUVCด้วย IOT จึงช่วยทำให้หุ่นยนต์ RAIBO-X สามารถดำเนินการฆ่าเชื้อโรคตามแผนทางเดินที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน 

9.เครื่องอบฆ่าเชื้อโรคระบบปิด (Ozone Generator for Close System Disinfection)ใช้ฆ่าเชื้อโรคด้วยระบบโอโซนภายในพื้นที่ 50 ตารางเมตร สามารถตั้งเวลาทำงานได้ อัตราการผลิตก๊าซโอโซน 10g/hr ตัวเครื่องมีขนาดเล็กประหยัดพลังงานด้วยเทคโนโลยีความถี่สูงมากกว่า 5kHz สามารถนำเครื่องมือทางการแพทย์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ มาอบฆ่าเชื้อได้

ตอนนี้หลายๆ อุปกรณ์ได้ส่งไปยังโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ อย่าง ตู้ความดันลบ จัดส่งไปให้โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 300 แห่งใน 66 จังหวัด หรือเครื่องช่วยหายใจที่ขณะนี้ได้มีการแจกให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงโรงพยาบาลชลบุรี เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 และผู้ป่วยอื่นๆ หรือตู้ตรวจเชื้อความดันลบที่นอกจากส่งให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ยังส่งให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาวและมัลดีฟ ดังนั้น สจล.จะผลิต คิดค้น ต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นผลงานฝีมือของคนไทย รวมถึงสร้างโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร โรงพยาบาลนวัตกรรมทางการแพทย์ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยรอด สร้างเครื่องมือแพทย์ด้วยคนไทย ไม่ต้องพึ่งพาต่างชาติช่วยดูแลผู้ป่วย คนไทยอย่างครบวงจร.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย