กูรูพาณิชย์ แนะโอกาสทางการค้า'ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก'ให้รอด!
DPU จับมือIBERD จัดเสวนาหัวข้อ“ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก”เชิญกูรูด้านพาณิชย์แนะโอกาสทางการค้าในกลุ่มCLMV จีน และอินเดีย แนะแนวทางการทำธุรกิจ ระบุหากไม่ปรับตัวไปตามยุค Digital จะอยู่ยากในโลกอนาคต
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD)จัดงานสัมมนาธุรกิจและเศรษฐกิจออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “Gateway of Digital Disruption on Economic and Business InnovationTransformation in CLMVT + China +India”
- "ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก" ต้องทำธุรกิจกับต่างชาติ
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงาน "ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก" ครั้งนี้ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 11 ปีแห่งการก่อตั้ง มูลนิธิฯ IBERD และเพื่อเปิดเวทีรับฟังและแลกเปลี่ยนแนวความคิดจากแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ อันจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ "นักธุรกิจรุ่นใหม่" รวมถึงสร้างเครือข่ายในภาคธุรกิจและสังคม ในประเทศ CLMVT จีนและอินเดีย
ดร. สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา และประธานมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจการพาณิชย์ (IBERD) กล่าวถึงแนวคิดสำคัญของการก่อตั้ง IBERDว่า เป็น การนำหลักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ไปสู่ผลปฏิบัติในทางพาณิชย์ สำหรับการทำความร่วมมือด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่เน้นในเรื่องของธุรกิจ
โดยเฉพาะด้านการส่งเสริม "ผู้ประกอบการ" ประเภทเริ่มต้น หรือ Start Up และการทำธุรกิจกับต่างประเทศนั้น จะเป็นการสร้างความผสมผสานและบูรณาการระหว่างเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังร่วมมือกันขยายขอบข่ายทางการศึกษาไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนเหนือ คือ ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม หรือ กลุ่ม CLMVด้วย
- 3 "ทักษะที่จำเป็น" นักธุรกิจรุ่นใหม่ต้องมี
ดร. สถิตย์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ digital เปลี่ยนแปลงโลก ในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand’s Digital Disruption on Economic and Business Innovation Transformation in Next Decadeไว้ว่า เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ Digitalจะเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า "เศรษฐกิจสังคม" digital การส่งเสริมความสำคัญของ Digital ได้เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ
เช่น โครงการ One Country One Platform ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเชื่อมต่อข้อมูล Big Data ซึ่งกันและกันในหนึ่ง Plat form เพื่อสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงความพยายามให้สถาบันการศึกษามีการเรียนการสอนที่เน้นDigital
สร้างบัณฑิตในอนาคตให้มี "ทักษะที่จำเป็น" 3 ทักษะ คือทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษและภาษาจีน ทักษะการเงิน การบัญชีและการลงทุนขั้นพื้นฐาน และ ทักษะ Digital ซึ่งถือเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด
นอกจากนี้การศึกษายุคนี้ยังต้องตอบสนองโลกของDigital เช่น การเปิดหลักสูตรเรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนและเวลาใดก็ได้ ดังนั้น หากใครยังไม่ปรับตัวไปตามDigital ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก Digital ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางทางความคิด ความรู้ เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ก็จะไม่สามารถดำรงคงอยู่ในโลกอนาคตนี้ได้
ดร.พัทธนันท์ ได้แสดงความเห็นในเรื่องProspects for Education in Digital Transformation and Economy ไว้ว่าทุกประเทศมีการระบุนโยบายการพัฒนาการศึกษาในแผนการพัฒนาประเทศ ในประเทศไทย นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษาล่าสุดมาพร้อมกับนโยบายด้าน Industry 4.0 และ Digital Transformation
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการพัฒนาในด้านการสร้าง Innovation ที่ใช้ประโยชน์จาก Digital Technology สถาบันการศึกษาต้องพัฒนานักศึกษาให้เป็นแรงงานที่มีคุณภาพและสามารถสร้าง Productivity นอกจากนี้นักศึกษาควรมี Digital Literacy Skills ที่สามารถใช้ประโยชน์จาก Digital Technology ได้ตรงจุด รวมทั้งมีความสามารถคิดวิเคราะห์ ปรับตัวและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
- "ธุรกิจในยุคดิจิทัลเปลี่ยนโลก"ต้องเชื่อมแผนพัฒนาคน
ขณะนี้การเรียนการสอน ระดับมัธยมและระดับอุดมศึกษา ในประเทศไทย ได้บรรจุหลักสูตรที่เรียกว่า STEM Education โดยหลายแห่งมีการเพิ่มในส่วนของ Entrepreneurship หรือทักษะการเป็นผู้ประกอบการเข้าไปด้วย เพื่อสร้างคนให้มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และปรับตัวได้ไว
นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศจะเชื่อมโยงกับแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพราะถือเป็นเครื่องมือทางกลยุทธ์ที่สำคัญ ดังนั้น อยากให้มองว่าเรามีจุดแข็ง หรือ เก่งด้านใดที่สามารถช่วยให้เราคว้าโอกาสที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจโลก เราจะต้องนำจุดแข็งนั้น มาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และนำนโยบายดังกล่าวมากำหนดแผนหลักในการพัฒนาคนเพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะ "พัฒนาการศึกษา"ได้ ต้องเชื่อมโยงกระบวนการพัฒนาความรู้ และ Innovation กับ ประเทศที่โดดเด่นด้านนี้ โดยสามารถสร้างความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยนานาชาติ เช่น ประเทศจีนและอินเดีย ที่มีความโดดเด่นในด้าน Technology และ Engineering เช่น เรื่องของ Blockchain และ AI โดยผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การทำวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน
ดร.พัทธนันท์ กล่าวด้วยว่า การพัฒนา IT Infrastructure ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากทุกพื้นที่เข้าถึงอินเทอร์เนตสาธารณะได้ จะช่วยเปิดโอกาสให้คนไทยมีโอกาสค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเองได้มากขึ้น โดยเฉพาะความรู้นอกห้องเรียน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในปัจจุบันมี Content ออนไลน์มากมายที่เข้าถึงได้ฟรี แต่ Content ส่วนใหญ่ มีเนื้อหาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นเพื่อให้สามารถเข้าใจ Content เหล่านั้นได้ การพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่ควรเร่งผลักดันเช่นกัน