'หมอธีระวัฒน์' กังวลวัคซีนใช้ไม่ได้ผลกับ 'โควิด-19' สายพันธุ์อินเดีย
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ยันวัคซีนที่ไทยมีอยู่สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน "โควิด-19" สายพันธุ์อังกฤษได้ แต่สิ่งที่กลัวมากที่สุด คือวัคซีนใช้ไม่ได้ผลกับสายพันธุ์อินเดีย
เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสรตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับรายการ Morning Nation ถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการกลายพันธุ์ว่า ไวรัสโคโรน่า 2019 สายพันธุ์อังกฤษ ขณะนี้ระบาดไปแล้ว 100 กว่าประเทศทั่วโลก เกือบจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในณะนี้
ในขณะเดียวกันข้อมูลที่บ่งชี้ที่ระบุว่าระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 1.7 เท่า ในการตีความข้อมูลเหล่านี้มาจาการสำรวจของคนอังกฤษ ซึ่งในความจริงแล้วเชื้อไวรัสจะแพร่ระบาดเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งตอนนี้ก็ยังคงถกเถียงกันว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่ระบาดเร็วจริงหรือไม่
"แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันเป็นเพียงข้อมูลในหลอดทดลองว่าเมื่อมีการเพาะเข้าไปในเซลล์เพาะเลี้ยงดูว่าจะมีการติดเชื้อได้เร็วกว่าธรรมดา และดูโครงสร้างที่มันผันแปรไปนั้นจะเกราะติดกับเซล์มนุษย์ได้ดีขึ้น เพราะฉะนั้นไม่อยากให้กังวลกับไวรัสสายพันธุ์อังกฤษมาก เพราะวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้สามารถกำราบสายพันธุ์อังกฤษได้ แต่ว่าสิ่งที่เราไม่ชอบ คือไวรัสของอินเดียและฟิลิปปินส์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ อธิบายต่อว่า ไวรัสสายพันธุ์อินเดีย เป็นการกลายพันธุ์คู่ในตำแหน่งสำคัญ 2 ตำแหน่ง ส่วนของฟิลิปปินส์นั้น กลายพันธุ์คี่ ก็คือ 3 ตำแหน่ง และยังมีท่อนที่สำคัญที่ผันแปรไปเยอะเลย ซึ่งในตรงนี้ยังไม่แน่ชัดว่าทำให้โรครุนแรงขึ้นหรือไม่ แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือการผันแปรในรหัสพันธุกรรมมากมายในตำแหน่งสำคัญเหล่านี้
สิ่งที่เรากลัวมากที่สุดคือวัคซีนใช้ไม่ได้ผลเลย ตรงนี้สำคัญมากกว่า เพราะว่าในขณะเดียวกันถ้าเรามีวินัย มีระยะห่าง ใส่หน้ากาก ล้างมือ ตรงนี้เองเราเชื่อว่า จะแพร่เร็วหรือช้าก็ไม่สามารถเข้าตัวเราได้ หากเรามีการตัดเชื้อโดยไม่รู้ตัว เราก็ไม่ปล่อยให้เชื้อไปหาคนอื่นได้
"หากเชื้อดื้อมาก จนกระทั่งคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน แล้วภูมิคุ้มกันที่เคยสร้างมาก่อนกันอะไรไม่ได้เลยแล้วก็จะเกิดการติดเชื้อใหม่ ตรงนี้เองหากเป็นสายพันธุ์อังกฤษธรรมดา ก็สามารถกันการติดเชื้อใหมได้ 84% แต่หากว่าการติดเชื้อสายพันธุ์เหล่านี้ภูมิคุ้มกันทำอะไรไม่ได้เลย วัคซีนก็ใช้ไม่ได้ผล" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ ไม่อาจระบุได้ว่าสายพันธุ์อินเดียเข้าไทยหรือยัง เนื่องจากการตรวจได้เชิงลึกมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง