ไขข้อสงสัย วิธีเก็บ-ฉีด‘วัคซีนไฟเซอร์’หวั่นใช้ผิดวิธี 1.5 ล้านโดสจะไร้ประสิทธิภาพ
ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่จะได้มีการนำ 'วัคซีนไฟเซอร์' (Pfizer) ซึ่งเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์วัคซีนชนิด mRNA ที่มีความแตกต่างจากวัคซีนที่เคยฉีดในประเทศไทย
ดังนั้น วิธีการเก็บรักษา เตรียมผสม จัดจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ของ Pfizer จึงเป็นเรื่องใหม่ทั้งหมด
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดบรรยายออนไลน์ Chula- Phama-Talk เรื่อง การเก็บและการเตรียมวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech เพื่อทำความเข้าใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงทำความเข้าใจกับประชาชนในการฉีด วัคซีนโควิด -19
- วิธีการจัดส่ง เก็บ 'วัคซีนไฟเซอร์' ในไทย
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าขณะนี้วัคซีนไฟเซอร์ได้เข้ามาในประเทศไทย แล้ว ซึ่งเราเชื่อว่าวัคซีนที่ได้รับบริจาค 1,503,450 โดสจากสหรัฐอเมริกา จะเป็นภายใต้ชื่อแบรนด์ Pfizer-BioNTech Covid-19 Vaccine แต่วัคซีนที่รัฐบาลได้ซื้อมานั้น น่าจะมาจากยุโรป ซึ่งจะเป็นชื่อแบรนด์ COMIRNATY
โดย วัคซีนไฟเซอร์ ต้องทำการผสมด้วยน้ำเกลือ 0.9% ก่อนใช้ และวัคซีนไฟเซอร์ จะเป็นวัคซีนลูกคุณหนู คือ ต้องมีการจัดเก็บ และการเตรียมวัคซีนค่อนข้างมาก เช่น วัคซีนไฟเซอร์จะต้องถูกเก็บในอุณหภูมิ ต่ำกว่า -60 °C และเมื่อจะใช้ผสม น้ำเกลือ จะอยู่ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังเจือจาง ซึ่งถ้าถูกแสงก็จะทำให้วัคซีนมีปัญหา เป็นต้น
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับสิ่งที่น่าเป็นกังวลในขณะนี้ คือการจัดส่งวัคซีนเพราะการเก็บจัดเก็บอุณภูมิ จะมีระยะเวลาในการจัดเก็บแตกต่างกัน นั้นคือ
หากกระบวนการเก็บ Frozen vial ขนส่ง หรือจัดเก็บไว้ที่ -90 °C ถึง -60 °C สามารถจัดเก็บได้ตามที่ระบุบนฉลากได้
ถ้าFrozen vial ขนส่งหรือจัดเก็บไว้ -25 °C ถึง -15 °C สามารถนำกลับไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -90 °C ถึง -60 °C ได้ 1 ครั้ง เก็บไว้ได้สูงสุด 14 วัน
ถ้า Thawed vial การขนส่งหรือจัดเก็บ 2°C-8 °C ใช้ระยะเวลาการขนส่งไม่เกิน 12 ชั่วโมง เก็บไว้ได้สูงสุด 31 วัน
- 'วัคซีนไฟเซอร์' ผสมน้ำเกลือ ใช้ได้ภายใน 6 ชม.
“เชื่อว่าสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น คือ บริษัทจะเก็บไว้ในสถานการณ์ -60 °C แต่รพ.ส่วนใหญ่คาดว่าจะย้ายไปสู่ 2°C-8 °C หรือตู้เย็นธรรมดา ซึ่งอยู่ได้สุงสุด 31 วัน แต่วัคซีนเหล่านี้ ไม่ทนแสง และเมื่อวัคซีนผสมน้ำเกลือ จะอยู่ได้ภายใน 6 ชั่วโมงหลังเจือจาง นั่นหมายความว่าถ้ามีการผสมน้ำเกลือเป็นวัคซีนที่เจือจาง ต้องใช้ภายใน 6 ชม.ในการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน และ สามารถฉีดได้ถึง 6 โดส” ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ กล่าว
ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่บอกว่า วัคซีนไฟเซอร์ สามารถเก็บไว้ในตู้เย็น หรืออุณหภูมิ2°C-8 °C สามารถอยู่ได้เพียง 5 วันนั้น ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเก่า ดังนั้น อยากให้ประชาชน และบุคลากรทางการแพทย์ ติดตามข้อมูลวัคซีนแต่ละชนิดอย่างใกล้ชิด เพราะข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ทั้งนี้ การจัดเก็บวัคซีน ในหลายๆ ประเทศ มีปัญหาจำนวนมาก โดยเฉพาะการถอดปลั๊กตู้เย็น ไม่ว่าจะบอสตัน หรือโตเกียว ก็ต้องทิ้งวัคซีนไฟเซอร์ทิ้งไปจำนวนมาก ซึ่งวัคซีนที่ผิดเก็บวิธีไม่ได้มีปัญหาตอนฉีด แต่จะมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพ ที่จะไม่ได้
- แนะกระบวนการฉีด'วัคซีนไฟเซอร์'
ผศ.ภญ.ดร.ณัฏฐดา อารีเปี่ยม อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าวัคซีนก่อนจะมาผสมต้องนำออกมาจากตู้เย็น อุณหภูมิ 2°C-8 °C มาอยู่ในอุณหภูมิห้องต่ำกว่า 30°C ห้ามเกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งลักษณะของวัคซีนจะเป็นวัคซีนสีขาวขุ่น เหมือนลักษณะน้ำซาวข้าว
โดยกระบวนการฉีดวัคซีนนั้น ต้องกลับขวดวัคซีนไฟเซอร์ขึ้นลงประมาณ 10 รอบ ต่อด้วยการเติมเซรีน หรือน้ำเกลือ 0.9% ปริมาณ 2 ml ในปริมาณ 1.8 ml โดยใช้หลอดไซริงค์ และเข็ม (หลอดไซริงค์ และเข็มที่ใช้ต้องเป็นชุดใหม่ตลอดเวลา) เติมลงไปในขวดวัคซีน ซึ่งควรเติมลงไปข้างๆ อย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้มีแรงต้านในอากาศขวดที่เป็นระบบปิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : รวมทุกเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ 'Pfizer' วัคซีนตัวที่3 ที่รัฐจัดหา
กต. จัดฉีดวัคซีน 'ไฟเซอร์' คนต่างชาติในไทย 1.5 แสนโดส ลงทะเบียนที่นี่
- ระบุเก็บผิด -ฉีดผิด 'วัคซีนไฟเซอร์' จะไร้ประสิทธิภาพ
หลังจากนั้น เมื่อเติมลงไปจนเสร็จให้ดูดอากาศกลับมาอย่างน้อย 1.8 ml ต่อด้วยเมื่อเติมเรียบร้อย ให้กลับขวดไปมาอย่างช้าๆ 10 รอบ ห้ามเขย่า รวมถึงต้องมีการจดเวลา และวันที่ทำการใส่วัคซีนเมื่อทำการผสมเสร็จ โดยน้ำเกลือควรใช้ครั้งเดียวและทิ้งทันที
“การดำเนินงานทุกครั้งต้องระมัดระวัง และก่อนจะฉีดให้แก่ผู้ป่วย ต้องมีการเปลี่ยนจุดที่แทงลงไปในขวดวัคซีน ซึ่งเมื่อจะเวลาดูดวัคซีนควรทำอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้เป็นฟองอากาศ ส่วนถ้าเป็นฟองอากาศค่อยๆ ให้ใส่กลับไปและดูดใหม่ โดยปริมาณที่ใช้วัคซีนไฟเซอร์ 0.3 ml และใส่ในภาชนะบรรจุที่พร้อมฉีดได้ทันที นอกจากนั้น ถ้าจะนำเข็มไปฉีด และพบว่าคนไข้แขนใหญ่ ต้องเปลี่ยนเข็ม และต้องให้มั่นใจว่าวัคซีนไม่ได้ค้างอยู่ในเข็ม” ผศ.ภญ.ดร.ณัฎฐดา กล่าว
ทั้งนี้ สำหรับการเตรียมวัคซีนอีกจุดหนึ่ง และไปยังจุดฉีดอีกจุดหนึ่ง โดยต้องล็อกเข็มให้ดี และอย่าให้วัคซีนเคลื่อนไปเคลื่อนมา กันแสง และต้องอยู่ในอุณหภูมิห้อง 30°C นอกจากนั้น บริเวณที่เตรียมยาและฉีดยาต้องห่างกันไม่มาก และบริเวณที่เตรียมยาต้องแยกออกไปต้องมีการทำความสะอาดให้ดี และต้องเป็นของที่ใช้ในสิ่งที่เตรียมยาเท่านั้นที่วางบนโต๊ะได้
อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิต ไม่ได้ให้คำแนะนำในกรณีนี้ แต่แนะนำว่าเมื่อดูดวัคซีนออกมาจากขวดแล้วต้องใช้ทันทีได้อยู่ในข้อมูลของผู้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตยืนยันว่าเมื่อดูดออกมาจากขวดแล้ว