เมื่อติด "โควิด-19" เป็นกลุ่มเสี่ยง ทำอย่างไรให้ น้องหมา แมว ปลอดภัย
ตอนนี้เราอยู่กับ "โควิด-19" มานานเกือบ 2 ปี มีผู้ป่วยสีเขียวส่วนใหญ่ที่มีความจำเป็นต้อง “รักษาตัวที่บ้าน” (Home isolation) แล้วถ้าหากเรามี "สัตว์เลี้ยง" อย่างน้องหมา น้องแมว อยู่ในบ้านด้วย จะทำอย่างไรให้น้องๆ ปลอดภัย
ในช่วง โควิด-19 ที่ยังมีผู้ป่วยนับหมื่นรายต่อวัน หลายคนมี "สัตว์เลี้ยง" โดยเฉพาะน้องหมา น้องแมว ที่อาจจะต้องฝากคนเลี้ยง ฝากสถานรับเลี้ยง หรือเจ้าของอาจจะติดโควิด แต่ต้อง "รักษาตัวที่บ้าน" หรือ "Home isoaltion" แล้วจะทำอย่างไรให้น้องๆ ปลอดภัย และคนดูแลปลอดภัย
สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย The Veterinary Practitioner Association of Thailand (VPAT) เผยแพร่ความรู้ผ่านเฟซบุ๊ก สมาคม สัตวแพทย์ ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย VPAT เกี่ยวกับการวางแผนเตรียมการดูแล "สัตว์เลี้ยง" อย่าง น้องหมาน้องแมวในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ดังนี้
- กรณีเจ้าของอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง และต้องกักตัว 14 วัน
- เจ้าของ ดูแลน้องๆ ได้ตามปกติ แต่อย่าเพิ่งกอดหรือพาน้องไปนอนด้วย
- คนในครอบครัว รับน้องๆ ไปดูแลแทน และควรใส่ถุงมือ หน้ากากอนามัย และล้างมือทุกครั้ง
- หากน้องๆ มีอาการป่วย ให้โทรขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์
- หากน้องหมาแมวมีอาการป่วยรุนแรง ให้แจ้งคลินิกหรือ โรงพยาบาลสัตว์ และให้เพื่อนหรือญาติพาน้องๆ ไปรับการรักษา
- กรณีเจ้าของติดเชื้อโควิด-19 แต่มีสมาชิกในบ้านไม่ติดเชื้อ
- เจ้าของไม่ควรสัมผัสน้องๆ เพื่อไม่ให้เชื้อกระจายไปยังน้องหมาแมว
- ห้ามนำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์มาอาบน้ำให้น้อง แต่ให้ใช้แชมพูอาบน้ำให้น้องตามปกติ
- คนในครอบครัวรับน้องไปดูแลแทน แต่อย่าเพิ่งกอด ให้น้องเลียมือ หรือ พาน้องไปนอนด้วย
- หากน้องหมามีอาการป่วยไม่รุนแรง ให้โทรขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์
- หากน้องหมาแมวมีอาการป่วยรุนแรง ให้แจ้งคลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ และให้เพื่อนหรือญาติพาน้องๆ ไปรับการรักษา
อ่านข่าว : นิปาห์ไวรัส "โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน" ไม่มียา ไม่มีวัคซีน
- กรณีเจ้าของติดเชื้อโควิด-19 และอยู่คนเดียว
- ไม่ควรสัมผัสน้องหมาแมว เพื่อไม่ให้เชื้อกระจายไปยังน้อง
- ให้ญาติหรือเพื่อนช่วยดูแล หากเจ้าของเข้ารับการรักษาที่ รพ. เพื่อหลีกเลี้ยงการเคลื่อนย้ายสาถานที่ของน้องหมาแมว
- ต้องใส่ถุงมือและหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
- หากไม่สามารถหาผู้ดูแลแทนได้ ให้ติดต่อคลินิกหรือ รพ.สัตว์ที่พร้อมรับฝากน้องหมา
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลที่ระบุว่าน้องหมาสามารถแพร่เชื้อโควิด-19 สู่คนได้ ขอเพียงทำตามข้ำแนะนำและไม่ควรทอดทิ้งน้องหมา
- ข้อปฏิบัติ สถานรับฝากสัตว์
สำหรับสถานพยาบาลสัตว์ ที่รับฝากหรือรักษาสัตว์เลี้ยง ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ป่วยด้วยโรค COVID-19 มีข้อปฏิบัติดังนี้
1. สถานพยาบาลสัตว์ต้องมีพื้นที่แยกโดยเฉพาะสำหรับรับฝากสัตว์ในกลุ่มที่ เสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ COVID-19
2. สถานพยาบาลสัตว์ควรมีบริการการรับสัตว์เลี้ยงจากที่พักอาศัยของผู้ป่วย โรค COVID-19 โดยมีชุดอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม และมีมาตรการการ รักษาระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด
3. 'ห้ามทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์' หากมีความประสงค์จะทำความสะอาดตัวสัตว์ ให้อาบน้ำด้วยแชมพูสำหรับสัตว์ปกติ
4. ควรมีการจัดการขยะติดเชื้อด้วยมาตรฐานเดียวกับโรคสัตว์สู่คนอื่น ๆ เช่น โรคฉี่หนู (leptospirosis)
5. ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงนำสัตว์เลี้ยงมาที่สถาน พยาบาลสัตว์ด้วยตนเอง ให้สถานพยาบาลสัตว์แจ้งเจ้าของสัตว์ป่วยให้รอรักษาที่รถยนต์โดยสารส่วนตัว ไม่เข้ามาในพื้นที่ของสถานพยาบาลสัตว์ และให้เจ้าหน้าที่พร้อมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมรับตัวสัตว์ป่วยเข้ามารักษาในสถานพยาบาลสัตว์ โดยติดต่อประสานงานเรื่องอาการกับเจ้าของสัตว์ป่วยผ่านทางระบบโทรศัพท์เป็นหลัก
- ฝากเลี้ยงที่ไหนดี
สำหรับรายชื่อสถานพยาบาลสัตว์ที่ให้บริการรับฝากสัตว์เลี้ยง กรณีเจ้าของเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 ข้อมูลจาก สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย (VPAT) ได้แก่
• โรงพยาบาลสัตว์เจริญสุข โทร 081-8393996
• โรงพยาบาลสัตว์เวทแคร์ (ถนนกาญจนาภิเษก) โทร 088-2918552
• โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ พระราม 9 โทร 085-2593998 , 02-0799999
• โรงพยาบาลสัตว์เพื่อนรัก (ถนนวิภาวดีรังสิต 64) โทร 097-4562549
• โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท พระราม 9 โทร 091-6962949 , 02-6415525
• โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท West Centre (ถนนบรมราชชนนี) โทร 095-4869162
• โรงพยาบาลสัตว์หมาแมวยิ้มแฉ่ง โทร 02-3751837
• โรงพยาบาลสัตว์โอะไตจินิ โทร 02-9485099
• โรงพยาบาลสัตว์คริสตัลเพ็ท 60 โทร 02-0690838