สธ.ชี้ ปีใหม่นี้ มีหวัง "โควิด-19" คลี่คลาย

สธ.ชี้ ปีใหม่นี้ มีหวัง "โควิด-19" คลี่คลาย

ปลัดสธ.ชี้โควิด-19ไทยถึงทางแยก อาจพุ่งขึ้นแตะวันละ 3 หมื่นราย ขอคนไทยร่วมมือเข้ม 4 มาตรการ ช่วยกดตัวเลขผู้ติดเชื้อ สิ้นธ.ค.ความครอบคลุมวัคซีน 85 %  เชื่อปีใหม่มีข่าวดีสถานการณ์คลี่คลาย ขณะที่ประชาชนยังใช้ATKฟรี ตรวจตัวเองต่ำ ไม่ถึง 10  % 

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 7 ต.ค. 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข ในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่าว่า  ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19สะสมแล้ว 57,387,052 โดส เป็นเข็ม ที่1 จำนนวน 33,774,684 โดสคิดเป็น 46.9%  เข็มที่ 2 จำนวน  22,005,722 โดส คิดเป็น  30.5%  และเข็ม 3 จำนวน 1,606,646 โดส คิดเป็น 2.2 % โดยการฉีดในกลุ่มเป้าหมาย ในเข็มที่ 1  ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ครอบคลุม 59.3% ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 62% นักเรียน 12-17 ปีตั้งเป้าหมาย 4.5 ล้านคน ฉีดแล้ว 74,501 โดส คิดเป็น 1.7%

ทั้งนี้  เป้าหมายสิ้นเดือน ต.ค. จะฉีดเข็ม 1 ได้ 43 ล้านโดส คิดเป็น 61% เข็ม 2 จำนวน  26 ล้านโดส คิดเป็น 37%  สิ้นพ.ย. เข็ม 1 จำนวน 53 ล้านโดส คิดเป็น 75 % เข็ม 2 จำนวน 39 ล้านโดส คิดเป็น  55%  และสิ้นธ.ค. เข็ม 1 จำนวน 60 ล้านโดส คิดเป็น 85 % เข็ม 2 จำนวน 49 ล้านโดส คิดเป็น 70 % ซึ่งเป็นมาตรฐานโลก ในประเทศที่พัฒนาแล้วสัดส่วนการให้วัคซีนก็อยู่ประมาณนี้ 

“ถ้าทำได้ตามที่วางแผนไว้ มีวัคซีนเพียงพอ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมาฉีดวัคซีน เท่ากับเมื่อสิ้นธ.ค.เกือบทุกคนในประเทศไทยจะได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม ส่วนเข็ม 3 จะค่อยๆเพิ่มต่อไป  หากการดำเนินงานเป็นไปตามแผน คาดว่าในวันที่ 1 ม.ค.65 สถานการณ์จะคลี่คลายได้มาก การดำเนินชีวิตต่างๆ ก็คงกลับมาอยู่ในรูปแบบปกติ แบบวิถีใหม่(New normal) ต่อไป และกลางปี 2565 โรคโควิด-19อาจจะสงบลงหลังระบาดมา 2 ปีกว่าแล้ว" นพ.เกียรติภูมิกล่าว

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวด้วยว่า ประสิทธิผลจากการล็อกดาวน์ที่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นน่าจะหมดแล้วเพราะผ่านมาจะ 2 เดือนแล้ว  ขณะนี้สถานการณ์โควิด-19ในประเทศไทยอยู่ตรงทางแยก คือ

1. หากไม่ดำเนินการมาตรการใดหลังจากคลายล็อกดาวน์และผ่อนคลายกิจการ /กิจกรรมต่างๆ ก็อาจจะทำให้มีผู้ติดเชื้อถึงวันละ 30,000 รายต่อวัน และ

2. มีการเพิ่มมาตรการอื่นๆที่มีประสิทธิภาพใกล้กับการล็อกดาวน์ ก็จะทำให้สถานการณ์ค่อยๆดีขึ้น จากผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 10,000  ราย เหลือ 5,000 ราย และต่ำกว่า 5,000 รายต่อไป 

มาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอและต้องการขอความร่วมมือเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายแบบที่ 2  มี  4 มาตรการ คือ

1. วัคซีน ร่วมมือกันฉีดให้เป็นตามแผน สิ้นเดือนนี้เข็ม 1 ครอบคลุม 60% เดือนหน้า 75% และธ.ค. 85% และรับเข็ม 2 ตามไป

2. การป้องกันตนเองแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) ต้องคิดว่าทุกคนที่ใกล้ชิดมีโอกาสติดเชื้อ แพร่เชื้อได้ แม้แต่คนในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในครัวเรือน ที่จะเป็นต้นเหตุคลัสเตอร์ต่างๆจนเกิดการระบาดต่อได้

3. ชุดตรวจด้วยตนเอง ATK รัฐบาลได้ให้นโนบายการนำ ATK มาใช้ในองค์กร สถานพยาบาล ประชานทั่วไป ในช่วงแรกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ซื้อ ATK แจกประชาชที่เสี่ยง เมื่อได้แล้วต้องใช้ อย่าเก็บไว้เฉยๆจนหมดอายุไป จากการกระจาย ATK ไปมีการติดตาม รายงานกลับมา ในคนที่ทำ ATK ให้ผลบวก 1% แต่ไม่มีอาการ

4. การรวมตัวของบุคคล ซึ่งรัฐบาลผ่อนคลายมีการเคลื่อนที่รวมตัว ในร้านอาหาร โรงหนัง การประชุมสัมมนา การละเล่นต่างๆ อยากให้มีความปลอดภัยจึงต้องมีเข้มเรื่อง COVID Free setting สถานที่สะอาดปลอดภัยไม่มีเชื้อ บรรยากาศไม่ให้เกิดการติดเชื้อ เช่น การกระจายของอากาศ ระยะห่าง เจลแอลกอฮอล์ คนให้บริการพนักงาน ต้องได้รับวัคซีน 2เข็ม คัดกรองการติดเชือ้ด้วยATK เช่นเดียวกับผู้ใช้บริการ

“ถ้าทำแบบนี้ได้ แม้จะยังมีผู้ติดเชื้อแต่อาจจะไม่ระบาดใหญ่แพร่เชื้อจำนวนมาก ความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าอยากอยู่กับโควิด-19ปลอดภัยต้องร่วมมือแบบนี้ ผู้ประกอบการต้องไม่อนุญาตให้คนที่ไม่เข้าข่ายเข้าใช้บริการ คนทั่วไปต้องปฏิบัติตามมาตราการ เพราะหากมีระบาดเกิดขึ้น ก็ต้องปิดกิจการ ล็อกดาวน์ซ้ำอีก ไม่มีผลดีกับใคร  ซึ่งรัฐตั้งเป้าเปิดประเทศในช่วงพ.ย.และธ.ค.นี้ ต้องเตรียมพร้อมมาตรการเหล่านี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุ และช่วยกันทำให้ทางแยกที่เกิดขึ้นเป็นสถานการณ์ที่ผู้ติดเชื้อลดลง”นพ.เกียรติภูมิกล่าว

ด้าน นพ.เฉวตสรร  นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค(คร) กล่าวว่า การตรวจเชิงรุกด้วย ATK รอบ24 ชั่วโมง ตรวจ 9.6 หมื่นตัวอย่าง ผลเป็นบวก 4,783 ราย ซึ่งATKที่แจกจ่ายฟรีให้ประชาชนยังใช้และแจ้งผลกลับมาน้อยไม่ถึง 10% จึงอยากให้ประชาชนนำATKมาใช้ แม้พื้นที่การระบาดลดน้อยลง การที่โควิดเกิดการติดเชื้อโดยไม่แสดงอากา หากมีการออกไปสัมผัสพื้นที่สาธารณะ เกี่ยวข้องอาการทางเดินหายใจคล้ายหวัด อาจสัมผัสความเสี่องก็ควรใช้ ซึ่งการตรวจเชิงรุกเจอคลัสเตอร์ย่อยหลายจุด เช่น งานศพ ล้งผลไม้ ตลาด สิ่งที่ทำให้เจอคลัสเอตร์ย่อยๆ เพราะรู้สึกตัวเองแข็งแรงดีไม่มีอะไร มีเครื่องมือคัดกรองเป็นATKแล้วไม่ใช้ เก็บไว้นาน ทำให้คุณภาพลดลง หมดอายุ จึงควรรีบใช้และส่งรายงานผล