ส่องเทรนด์ "พฤติกรรมผู้บริโภค"ทั่วโลกปี 65 หลังยุคโควิด-19
“สิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ และสุขภาพ” ยังคงเป็นเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญแม้จะก้าวผ่านยุคช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างรุนแรง
รายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์ ฉบับล่าสุด ซึ่งได้มีการสำรวจแรงจูงใจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 9 ประเทศ พบว่า 83%มีความกังวลต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจนมากขึ้น มลพิษและขยะพลาสติกในมหาสมุทรนั้นถือเป็นความกังวลหลักที่เกิดขึ้น ตามด้วย 78% ภาวะโลกร้อน ซึ่งนับเป็นสามในสี่ของผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจ ส่วน77% กังวลเรื่องขยะอาหาร 71% การเข้าถึงอาหาร และ 49% ของประชากรทั่วโลกยังตระหนักว่า ทุกการตัดสินใจของพวกเขาในชีวิตล้วนส่งผลส่งกระทบผลต่อสิ่งแวดล้อม
นายสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าการกลับไปใช้ชีวิตธรรมดาในแบบเดิม ๆ ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการทำอาหารที่บ้าน การรับประทานอาหารกับครอบครัว และการลดขยะ ได้เปลี่ยนความวิตกกังวลไปสู่การดูแลป้องกันอย่างจริงจัง พฤติกรรมผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนไปสู่วิถีใหม่จากการเกิดขึ้นของการระบาดใหญ่ และทุกคนต่างเต็มใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในด้านสิ่งแวดล้อม ขยะ และสุขภาพด้วยตัวของเราเองมากกว่าที่เป็นมา
“การระบาดโควิด-19 ส่งผลให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลสุขภาพ และการจัดการขยะมากขึ้นเห็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับครอบครัวที่บ้านหรือกับผู้คนรอบ ๆ ตัว การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในความสัมพันธ์เหล่านี้ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน แต่ทั้งนี้ ” นายสุภนัฐ กล่าว
- เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคในปี 65
การทำกิจกรรม “ร่วมกันนอกบ้าน” เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ และผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อของจากผู้ประกอบการท้องถิ่น และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากในประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นระหว่างสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกเหนือจากครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้ว ทุกคนยังพยายามที่จะสร้างสังคมใหม่ร่วมกัน โดยเกือบหนึ่งในสาม หรือ32% ร่วมผลักดันให้ชุมชนของพวกเขาหันมาลดขยะกันอย่างเต็มที่
นายสุภนัฐ กล่าวต่อว่าการขาดอิสรภาพและไร้ทางเลือกในช่วงกว่า 20 เดือนที่ผ่านมาได้ผลักดันให้ผู้บริโภคทำทุกหนทางที่จะได้กลับมาควบคุมและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม พวกเขามองหาสิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตแบบเชิงรุก ยกตัวอย่างเช่น การเลือกรับประทานอาหาร เพื่อยกระดับสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ
รวมถึงการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว โดยหันมารีไซเคิลกันมากขึ้นและลดการสร้างขยะ เช่น 62% ของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับคุณภาพของสิ่งที่พวกเขาเลือกรับประทาน ในขณะที่ 54% ทิ้งอาหารน้อยลงกว่าในช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กว่า 72% ของผู้บริโภคเชื่อว่าบุคคลเช่นฉัน จะต้องลงมือทำทันที มิฉะนั้นจะล้มเหลวในรุ่นต่อไปในอนาคต
ขณะที่ผู้บริโภคมองหาผู้ประกอบการที่จะช่วยนำและส่งเสริมนิสัยรูปแบบใหม่เหล่านี้ให้กับพวกเขาได้อย่างยั่งยืน โดยกว่าหนึ่งในสามของผู้ทำแบบสำรวจ 35% จะเลือกแบรนด์จากข้อมูลรับรองด้านความยั่งยืนมากกว่าในช่วงก่อนเกิดการระบาดใหญ่ 50% จะเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 61% คาดหวังให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มก้าวมาเป็นผู้นำในการหาแนวทางโซลูชันอันยั่งยืน
- ผู้บริโภคหันมาคัดแยกขยะ รีไซเคิล
ด้วยการใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่าที่เคย จะเห็น “ร่องรอย” ของขยะที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ในการแก้ปัญหานี้ ผู้บริโภคเลือกเปลี่ยนการใช้ชีวิตในแต่ละวันของตัวเอง เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์รอบตัวที่เกิดขึ้น มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้บริโภค หรือ55% มีความรอบคอบในการเลือกซื้ออาหารมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งและสร้างขยะอาหาร และ46% ชี้ว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ พวกเขาพยายามคัดแยกขยะ ไม่ว่าจะเป็นกล่องกระดาษ แก้ว หรือพลาสติก เพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างเหมาะสมต่อไป 50% หันมารีไซเคิลให้มากขึ้นในปีหน้า เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเร่งมองหาหนทางที่จะเปลี่ยนความเปราะบางที่เกิดขึ้นในชีวิตให้เป็นความยืดหยุ่น ซึ่งหมายถึงทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขาดีขึ้นผ่านการเลือกสรรอาหารและวัตถุดิบต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดใหญ่ ผู้บริโภคต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และต้องสูญเสียหลาย ๆ สิ่ง สิ่งที่ชัดเจนก็คือ ผู้บริโภคกำลังหันมาเริ่มจากตัวพวกเขาเองเพื่อสร้างอนาคตที่มีความยั่งยืนมากขึ้น และคาดหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะเลือกทำแบบเดียวกัน รวมถึงช่วยให้พวกเขาสามารถทำภารกิจเพื่อโลกใบนี้ได้สำเร็จลุล่วง
“เต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์" ได้พูดถึงเทรนด์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอยู่เสมอ แต่รายงานในปีนี้เชื่อมโยงกับสิ่งที่เราเองสังเกตได้จากผู้บริโภคในประเทศไทยอย่างชัดเจน
- "Plant-based" อาหารเพื่อสุขภาพกำลังมาแรง
ขณะที่ พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์วุฒิบัตรเวชศาสตร์ชะลอวัย(USA) กล่าวว่าขณะนี้ทุกคนให้ความสำคัญกับการทำอาหารทานเองที่บ้าน และใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยนิยมอาหาร Plant-based หรืออาหารที่ทำมาจากพืช ผัก ผลไม้ รวมไปถึงธัญพืช และถั่วต่างๆ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ของผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เพราะการบริโภคเนื้อสัตว์มากๆ จะส่งผลต่อสุขภาพ ดังนั้น ผู้บริโภคยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับการเลือกซื้ออาหาร จะเน้นความปลอดภัยของอาหารและอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
- คนไทยหันมาคัดแยกขยะมากขึ้น
ตบท้ายด้วย ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ อินฟลูเอนเซอร์ด้านสิ่งแวดล้อมชื่อดัง จากเพจKongGreen Green กล่าวว่าตั้งเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้การดูแลใส่ใจสุขภาพ ดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะของผู้บริโภคเป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดการขยะ ไม่ว่าจะแยกขยะ หรือการรีไซเคิลขยะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ผู้บริโภคตระหนักในการจัดการปัญหาขยะไม่ว่าจะขยะพลาสติก หรือลดเศษขยะจากอาหาร หลายคนมีการกำหนดสัดส่วนบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อทิ้งอาหารให้น้อยที่สุด รวมถึงมีเพจที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมากมาย เป็นข้อมูลและการร่วมกันส่งเสริมการแก้ปัญหาขยะของไทย