10 "พฤติกรรมผู้บริโภค" ยุคหลังโควิด-19 ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

10 "พฤติกรรมผู้บริโภค" ยุคหลังโควิด-19 ที่ผู้ประกอบการต้องรู้

10 ข้อคิดเกี่ยวกับ "พฤติกรรมผู้บริโภค" จากรายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์  ฉบับล่าสุด พบว่า 3 เทรนด์ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และการจัดการขยะ เป็นพฤติกรรมที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญอย่างมาก

บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รายงานเต็ดตรา แพ้ค อินเด็กซ์  ฉบับล่าสุด ซึ่งได้มีการสำรวจแรงจูงใจและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกกว่า 9 ประเทศ  สรุปข้อคิดสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค มีดังนี้

1.โควิด-19 เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคใหม่ เร่งผลักดันให้ค้นหา “การเป็นตัวเองที่ดีขึ้น” และทำให้ผู้คนมีนิสัยใหม่บางอย่างที่ “ยึดติดอยู่” ซึ่งดูเหมือนว่าจะคงอยู่ตลอดไป ความเปราะบางที่ได้เกิดขึ้นกับตัวเอง เสรฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่เราทุกคนได้ประสบในช่วงของการระบาดใหญ่ทั่วโลกกำลังก่อให้เกิดการใช้ชีวิตอย่างรอบคอบในวิถีชีวิตแบบใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ การปกป้องอาหาร รวมทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและชุมชน

2.ความปลอดภัยของอาหารจัดอยู่ในลำดับความสำคัญสูงสุดเช่นกัน ยิ่งในช่วงของการแพร่ระบาดใหญ่ที่คำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก ประกอบกับความเชื่อมั่นในระบบผลิตอาหาร ซึ่งยังคงเป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับผู้บริโภค

3.“การบริโภคอย่างรับผิดชอบ” เป็นเทรนด์ที่กําลังเติบโต ผู้ตอบแบบสอบถาม เกือบครึ่งหนึ่งเชื่อว่า ทุกการตัดสินใจในชีวิตของเราในทุก ๆ วันล้วนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องการที่จะรับมือกับความท้าทาย ด้านสภาพอากาศ และการบริโภคอาหารไม่ว่าจะด้วยตัวเองหรือร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อเห็นผลที่สร้างความแตกต่าง

 

  • เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคดูแลสุขภาพ

4.เทรนด์การดูแลสุขภาพ การบริโภคอย่างรอบคอบ และความเห็นอกเห็นใจกระจายออกไปทั่วโลกในวงกว้าง และดูจะจริงจังมากเป็นพิเศษในกลุ่มคุณแม่ที่มีการศึกษา ซึ่งต้องการรับมือกับสิ่งที่กำลังเผชิญและเปลี่ยนแปลงสภาพที่เป็นอยู่

5. บ้านได้รับคำนิยามใหม่ว่าเป็นทั้งสถานที่แห่งการพักผ่อน  ที่ทำงาน ห้องเรียน ห้าวสรรพสินค้า และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้กิจวัตรประจำวันและการใช้ชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมาก การที่ผู้บริโภคหันมาใส่ใจสิ่งแวดรอบตัวและเรียกร้องวิถีชีวิตที่มีความยั่งยืนและไม่สร้างขยะ ซึ่งเป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นของแบรนด์อาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยทำให้นิสัยรูปแบบใหม่นี้มีความยั่วยืน ยิ่งการใช้ชีวิตแบบนี้ง่ายมากขึ้นเท่าไหร่ การใช้ชีวิตอย่างใส่ใจก็จะอยู่นานขึ้นเท่านั้น

6.เนื่องจากการระบาดใหญ่ทำให้ผู้บริโภคถูกจำกัดเสรีภาพและทางเลือก พวกเขาจึงทำทุกหนทางที่จะได้สิ่งเหล่านั้นกลับคืนมาเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้เหมือนเคย ผู้บริโภคมีความตื่นตัวในการใช้ชีวิตมากขึ้น รวมถึงการเลือกซื้ออาหารและวัตถุดิบ ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว อาทิ เพื่อการรีไซเคิล นอกจากนี้เรายังเห็นค่านิยมของการ กลับไปใช้ชีวิตธรรมดาในแบบเดิมๆ ที่เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การทำอาหารที่บ้าน การรับประทานอาหารกับครอบครัว และลดขยะให้เหลือน้อยที่สุด

 

  • นึกถึงสิ่งแวดล้อม ลดเศษขยะจากอาหาร

7.การปรับเปลี่ยนจากการดูแลสุขภาพไปเป็นการป้องกันการเจ็บป่วยถือเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่รายงานชี้ว่าเป็นนิสัยที่ “ยึดติดอยู่” โดยผู้บริโภคกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อจิตใจและดีต่อร่างกาย นอกจากนี้ เองจาอาหารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่ดี ผู้บริโภคหันมาเลือกของว่างแบบที่ทำให้ไม่รู้สึกผิดเมื่อบริโภค ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้กับแบรนด์ที่มุ่งสร้างโปรไฟล์ของการ เป็นตัวเองที่ดีขึ้น เพื่อให้ได้เป็นหนึ่งในรายการช้อปปิ้งของผู้บริโภคยุคหลังโควิด-19

8.ผู้บริโภคหันมาลดเศษขยะจากอาหารกันอย่างจริงจังมากขึ้นเป็นพิเศษ เหตุเพราะมีการวางแผนมื้ออาหารกันมากขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 50% กล่าวว่า พวกเขาทิ้งอาหารน้อยลงกว่าช่วงก่อนเกิดกโรคระบาด โดยผู้ตอบแบบสอบถามสี่ในห้าคาดหวังที่จะยังคงทิ้งอาหารน้อยลงแบบนี้ต่อไป หรือจะพยายามทิ้งให้น้อยที่สุด เมื่อสถานการณ์โรคระบาดคลี่คลายลงถือเป็นอีกหนึ่งนิสัยการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป

9.การระบาดใหญ่ของโควิด-19นี้ทำให้ผู้บริโภคมีความรอบคอบมากขึ้น และมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากกว่าที่เคย มีการแสดงออกถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเพื่อนและครอบครัว รวมถึงผู้คนรอบๆ ตัวในรูปแบบใหม่ และการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกันได้เข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้ความสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน

10.ผู้บริโภคยังตระหนักถึงความจำเป็นในการสนับสนุนสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะในชุมชนต่างๆ มอบโอกาสที่ดีให้กับแบรนด์ทั้งหลายสร้างจุดยืนที่สอดคล้องกับสิ่งที่ชูความเป็นท้องถิ่น เพื่อเอาชนะความเชื่อถือของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์