ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า "แรงงานต่างด้าว" ถูกกฎหมาย

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า "แรงงานต่างด้าว" ถูกกฎหมาย

ศบค. ย้ำนายจ้างขึ้นทะเบียน "แรงงานต่างด้าว" ถูกกฎหมาย เตรียมหารือรายละเอียด 7 ข้อปฏิบัติรับแรงงานต่างด้าว ศุกร์นี้ เผย 5 จังหวัดติดเชื้อต่อเนื่อง ภาพรวมประเทศการติดเชื้อลดลง แต่ยังพบ "คลัสเตอร์" โรงงาน สถานประกอบการ ตลาด โรงเรียน

วันนี้ (24 พ.ย. 64) ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค แถลงข่าวศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวถึงประเด็น จากการประชุม ศบค. เมื่อวันที่ 12 พ.ย ที่ผ่านมา มีมติ การรับ แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เข้ามาโดยระบบ MOU อย่างถูกกฎหมาย 7 ขั้นตอน ที่เป็นมาตรฐานในการดำเนินการ เพื่อให้ประชาชนคนไทยมีความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ลดการแพร่ระบาดเมื่อแรงงานต่างด้าวเข้ามาอย่างถูกต้อง

 

ขณะเดียวกัน "แรงงานต่างด้าว" จะได้ดูแลสุขภาพภายใต้มาตรฐานสาธารณสุข โดยไม่ถูกละเลย แต่เนื่องจากในรายละเอียดจำเป็นต้องมีการหารือ ประชุม ทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ และตัวแทนผู้ประกอบการ หรือนายจ้าง ซึ่งทุกคนสำคัญให้ความร่วมมือ 

 

พญ.สุมนี กล่าวต่อไปว่า ศบค. ชุดเล็ก มีการติดตามความก้าวหน้าเป็นระยะ ทั้งนี้ประเด็นที่มีการพูดคุยและห่วงใยต่อเนื่อง เช่น ถ้ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวเข้ามาต่อวันจำนวนมาก ได้มีการเตรียมสถานทีกักตัว ไม่ว่าจะเป็น AQ , LQ , OQ ในพื้นที่พร้อมรับอย่างไรแค่ไหน และในเงื่อนไขการได้รับวัคซีนจากประเทศต้นทางว่า หากได้รับวัคซีนครบสองเข็ม จะกักตัว 7 วัน หากไม่ครบ กักตัว 14 วัน และมีการตรวจ RT-PCR โดยทั้งหมดจะมีการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดยนายจ้าง โดยจะมีการพูดคุยในรายละเอียดเหล่านี้จะมีการติดต่อประสานงานกันอย่างไร เตรียมพร้อมแค่ไหน 

ซึ่งขณะนี้ มีนายจ้างหลายเจ้าเข้ามายื่นเรื่องเพื่อดำเนินการจำนวนมาก หากท่านเป็นนายจ้างเจ้าของผู้ประกอบการที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม ยังมีเวลาตั้งแต่วันนี้ – 1 ธ.ค. 64 ให้เตรียมเอกสาร หลักฐาน และยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศอย่างถูกกฎหมาย ติดต่อได้ที่กรมการจัดหางาน สายด่วน ศูนย์มิตรไมตรี 1694 หรือสายด่วน 1506 กด 2 ทั้งนี้ ในรายละเอียด 7 ขั้นตอนจะมีการพูดคุย ประชุม ศบค. ใหญ่วันศุกร์ 26 พ.ย. นี้ 

 

 

“การดำเนินการติดต่อขอแรงงานต่างด้าวเข้ามาในบ้านเรา อาจจะมีความไม่สะดวก ติดขัด ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการหรือนายจ้างช่วยกันเพื่อให้เปิดประเทศตามมาตรการวิถีใหม่ และความปลอดภัยของตัวท่านเอง ครอบครัว และชุมชน” พญ.สุมนี กล่าว

 

สำหรับ 7 ขั้นตอน นำแรงงานต่างด้าว เข้ามาทำงานกับนายจ้างในระบบ MOU ได้แก่ 

 

1. การยื่นแบบคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ

2. การดำเนินการของประเทศต้นทาง 

3. การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแทนต่างด้าว

4. การอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ 

5. จุดผ่านแดน/ด้านตรวจคนเข้าเมือง

6. สถานที่กักตัว 

7. การอบรมและรับใบอนุญาตทำงาน 

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

 

  • ภาพรวมประเทศติดเชื้อลดลง 

 

สำหรับแนวโน้มติดเชื้อ โควิด-19 รายใหม่ภาพรวมประเทศ พบว่า ทิศทางแนวโน้ม กทม. ลดลง และค่อนข้างคงที่ราว 13% ขณะที่ปริมณฑลลดลงชัดเจนสัดส่วน 8% ที่ผ่านมา ภาพรวมประเทศที่ลดลง แต่บางจังหวัดมีการพบผู้ติดเชื้อต่อเนื่อง

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

 

  • 13 จังหวัดเฝ้าระวังใกล้ชิด 

 

จังหวัดเฝ้าระวังใกล้ชิด 13 จังหวัด คิดเป็นสัดส่วน 32% เมื่อเทียบกับภาพรวมประเทศ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

 

1. กลุ่มที่ติดเชื้อมากกว่า 100 รายต่อวัน และผลบวก ATK มากกว่า 5% ทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช 


2. กลุ่มที่ติดเชื้อมากกว่า 100 รายต่อวัน และผลบวก ATK น้อยกว่า 5% ทั้งสิ้น 3 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น สระแก้ว นครราชสีมา 


3. กลุ่มที่ติดเชื้อ 8-100 รายต่อวัน ทั้งสิ้น 5 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 

 

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

  • 5 จังหวัดรายงานติดเชื้อต่อเนื่อง

 

จังหวัดที่มีรายงานพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สัดส่วน 8% ของภาพรวมประเทศ ทั้งสิ้น 5 จังหวัด โดยกลุ่มที่มีการติดเชื้อมากกว่า 100 รายต่อวัน คือ เชียงใหม่ ขณะที่ อีก 4 จังหวัด เป็นกลุ่มที่พบผู้ติดเชื้อต่อเนื่องแต่น้อยกว่า 100 รายต่อวัน ได้แก่ เชียงราย ลำพูน พิษณุโลก สิงห์บุรี ยังต้องเฝ้าระวังและสูงต่อเนื่อง ต้องเข้มงวดมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการส่วนบุคคล แม้จะติดเชื้อไม่มาก แต่ติดเชื้อในระดับชุมชน และครอบครัว ทำให้การจำกัดการแพร่ระบาดต้องกำกับอย่างใกล้ชิดมากขึ้น 

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

 

  • 10 อันดับ ติดเชื้อรายใหม่สูงสุด 

 

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีรายงานติดเชื้อรายวันสูงสุด อันดับ 1 ยังคงเป็น กทม. 734 ราย และ อันดับ 2 สงขลา 426 รายขณะที่ นครศรีธรรมราช อยู่ในอันดับ 3 ติดต่อเป็นเวลา 6 วัน มีเคสผู้ติดเชื้อรายงาน 290 ราย มีทิศทางดีขึ้น ลดลงจากวันที่สูงสุด 426 ราย ในวันที่ 21 พ.ย. นอกจากนี้ ในอันดับ 4 เชียงใหม่ 245 ราย อันดับ 5 สุราษฎร์ธานี 237 ราย อันดับ 6 สมุทรปราการ 235 ราย อันดับที่ 7 ชลบุรี 205 ราย อันดับที่ 8 ปัตตานี  177 ราย อันดับที่ 9 ยะลา 140 ราย และ อันดับ 10 ตรัง 129 ราย

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

 

โดยจังหวัด ที่พบรายงานผู้ติดเชื้อหลักมากกว่า 100 ราย มีทั้งสิ้น 17 จังหวัด ติดเชื้อ 51-100 ราย 18 จังหวัด ติดเชื้อ 11-50 ราย 27 จังหวัด และ ติดเชื้อ 1-10 ราย 13 จังหวัด จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อ 2 จังหวัดได้แก่ แพร่ อำนาจเจริญ

 

ศบค. ย้ำนายจ้าง สถานประกอบการ นำเข้า \"แรงงานต่างด้าว\" ถูกกฎหมาย

 

  • คลัสเตอร์โรงงาน ตลาด แคมป์ โรงเรียน

 

ทั้งนี้ หากแยกผู้ป่วย โควิด-19 ตาม คลัสเตอร์ พบว่า จากคลัสเตอร์โรงงาน สถานประกอบการ พบที่ กทม. 49 ราย ปราจีนบุรี 9 ราย ลำพูน 14 ราย , คลัสเตอร์ตลาด พะเยา 8 ราย ขอนแก่น 7 ราย จันทบุรี 4 ราย อุดรธานี 2 ราย , แคมป์คนงานลำพูน 6 ราย กทม. 5 ราย สงขลา 2 ราย , โรงเรียน สถานศึกษา อุบลราชธานี 11 ราย สระแก้ว 8 ราย แม่ฮ่องสอน 7 ราย สุราษฎร์ธานี 4 ราย 

 

“ในกรณีที่พบคลัสเตอร์โรงเรียนสถานศึกษา ยังขอเน้นย้ำในเรื่องของมาตรการหลังจากที่มีการสอบสวนโรค ไม่จำเป็นต้องปิดทั้ง โรงเรียน ควรปิดตามห้องชั้นเรียนตามการสอบสวนโรค และบุคลากรอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ยังคงสามารถมาปฏิบัติงานได้ แต่ควรสุ่มตรวจ ATK ตามความเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง” 

 

"และจากรายงานการติดเชื้อยังพบในกิจการเสี่ยง โรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ตลาด การทำกิจการเหล่านี้จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ปัจจัยหลัก คือ แรงงงาน เมื่อมีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้น จะพบว่ามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น และมีการลักลอบนำเข้าแรงงานต่อเนื่อง" พญ.สุมนี กล่าว