ไทยพร้อม! 78% ใน 48 ประเทศทั่วโลก สนใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ไทยพร้อม! 78% ใน 48 ประเทศทั่วโลก สนใจเดินทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

ไทยพร้อม ปักหมุด เปิดประเทศสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ททท.เผย 78% ใน 48 ประเทศทั่วโลก มีเรื่องเดินทางเพื่อสุขภาพในใจ ไทยแลนด์หนึ่งในจุดหมาย ปลายทาง  ปรับทิศรับท่องเที่ยวเชิงคุณภาพแทนเชิงปริมาณ ขณะที่ไทยมีศักยภาพเหมาะสมสู่ "ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ”

      เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2564 ในการเสวนาออนไลน์ “การขับเคลื่อนนวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการสร้างสุขภาพ และบริการเพื่อสุขภาพแก่คนทั้งมวล” ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมจัดงาน “ Thailand International Health Expo 2022”  โดยมีการเสวนา หัวข้อ  “Empowering Smart Healthcare Innovation Thailand”

78%48ประเทศสนใจเดินทางสุขภาพ
              นายคมกริช ด้วงเงิน รองผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า  และจากการศึกษาพบว่า 78 % ใน 48 ประเทศทั่วโลก มีเรื่องการเดินทางเพื่อสุขภาพ(Wellness Tourism)อยู่ในใจ และประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญ  

    อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัจจุบันที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอน เชื่อว่าผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อหารายได้ที่แตกต่างจากอดีต โดยในปี 2564 เป็นปีของการปรับตัว และปี 2565 จะเป็นการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งททท.มุ่งหวังจะพลิกฟื้นการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยสร้างการท่องเที่ยวไทยให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูง บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ให้อยู่บนอุปทานที่เหมาะสม ลดการพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติ  เน้นการหารายได้มากกว่าปริมาณ เพื่อให้รองรับทันโลกภายหลังจากโควิด-19สงบไป

   “สิ่งสำคัญที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงคือการลดจำนวนนักท่องเที่ยว แต่เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัว ปรับภาพการท่องเที่ยวไทยจากตลาดMass สู่ตลาดคุณภาพ ภายใต้การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ สามารถขายสินค้าการท่องเที่ยวที่มีราคาดี แตกต่างจากที่ผ่านมา”
     
      ในปี 2565 จะให้ความสำคัญกับการทำการตลาดที่มีค่าใช้จ่ายสูง อย่างMedical  Tourism และ Health&Wellness Tourism ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น เป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 80,000-120,000 บาท สร้างมูลค่าเพื่มให้กับเศรษฐกิจไทยสูงถึง 80%ของรายได้ที่ได้รับ  ดังนั้น การส่งเสริมและการขยายการท่องเที่ยในกลุ่มนี้ เป็นส่วนที่จะสร้างรายได้ที่มีเสถียรภาพ 
   โอกาสไทยสู่ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ
        นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กล่าวว่า  นโยบายในการดำเนินการ และสร้างความเชื่อมั่นด้านสาธารณสุข หลังจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19  ประกอบด้วย  1.การเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค  2.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ สำหรับตรวจหาโควิด-19อย่างรวดเร็ว 3.มาตรการCovid Free Setting ในสถานประกอบการพื้นที่เปิดรับนักท่องเที่ยว 4.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยปรับรูปแบบการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และ5.เวชภัณฑ์ และการส่งกำลังบำรุงและสามารถจัดหายาและเวชภัณฑ์เพิ่มเติมต่อเนื่องตลอดเวลา 

     “Wellness เป็นธุรกิจที่มาแรงมาก ซึ่งครอบคลุมการดูแลสุขภาพทุกมิติ และเมื่อไทยเปิดประเทศ มีความมั่นใจเรื่องการดูแลคนที่เข้ามาแล้วเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นทิศทางที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเส้นทางต่างๆ รวมทั้ง ผลักดันสมุนไพรเป็นพิเศษ เช่น กัญชง กัญชา ที่สามารถนไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพได้ เป็นโอกาสที่ดีทำให้ส่งเสริมศักยภาพไทยในการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ”

       ปรับพฤติกรรม-เปลี่ยนบรรทัดฐาน
        ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า  สสส.ดำเนินการมาตั้งแต่ภาะวโควิด-19และหลังการระบาด ในการปรับพฤติกรรมในภาพรวมให้มีภูมิคุ้มกัน เพราะแม้จะหมดจากโรคอุบัติใหม่นี้ อนาคตก็อาจจะเกิดโรคใหม่ระบาดขึ้นอีก จึงต้องบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม เพื่อให้รับเชื่อโรคต่างๆยากมากขึ้น รวมถึง เมื่อเจอวิกฤติให้สามารถปรับตัวอยู่ในภาวะนั้นๆได้ ซึ่งการเชื่อมชุมชนเป็นสิ่งสำคัญมาก ในช่วงโควิดจะเห็นได้ว่าหากชุมชนที่มีความเข้มแข็ง ก็จะมีการช่วยเหลือกันและกันในการผ่านวิกฤติ ส่วนชุมชนจที่ไม่เข้มแข็งก็จะมีเรื่องการกีดกันหรือรังเกียจผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่หายป่วย อีกทั้ง ในสถานการณ์โควิด-19ระบาด และยุคที่ทุกคนเป็นผู้ส่งสารได้  ทำให้มีข้อมูลเท็จ หรือFake News พุ่งสูงมากและแพร่กระจายรวดเร็ว สสส.ได้ดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์ม Cofact เป็นพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมเป็นประชาคม เพื่อร่วมในการตรวจสอบข่าวต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตวิถีใหม่ 

แนวคิดไทยไฮยีนต์-ไฮบริด
        จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)  กล่าวว่า  การจัดงาน Thailand International Health Expo 2022” ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่  20- 23 ม.ค.2022 ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ จะเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมMICE ภายใต้แนวคิดไฮยีนต์และไฮบริด  โดยจะเน้นเมืองMICEปลอดภัยสถานประกอบการได้มาตรฐานไฮยีนต์ มุ่งให้เห็นถึงเมืองไทยปลอดภัยกว่าเพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างชาติมาจัดประชุมในประเทศไทย   ส่วนไฮบริดนั้น เนื้อหาจะครอบคลุมการจัดความปลอดภัย มีสุขลักษณะ ให้ความเชื่อด้านความปลอดภัยต่อผู้ประกอบการและผู้ร่วมงาน
      “หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มเปิดประเทศ ตั้งแต่มีกูเก็ตแซนด์บอกซ์  มีต่างประเทศหลายรายติดต่อมามากขึ้นเรื่อยๆ แต่ขณะนี้ยังเน้นกลุ่มผู้เดินทางเข้าที่เป็นนักท่องเที่ยว ในส่วนของกลุ่มMICE จะตามเข้ามาถภายในปีหน้า”จิรุตถ์กล่าว