ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยื่นรับ "เงินขาดรายได้" หลังหายป่วยโควิด เช็กที่นี่

ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยื่นรับ "เงินขาดรายได้" หลังหายป่วยโควิด เช็กที่นี่

เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แนะยื่นรับ "เงินขาดรายได้" หลังหายป่วยโควิด เช็กที่นี่

ตรวจสอบ เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แนะยื่นรับเงินขาดรายได้ หลังหายป่วยโควิด ล่าสุด นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40ที่รักษาตัวหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้ กังวลเรื่องของโควิดแพร่ระบาด

สามารถยื่นขอรับเงินขาดรายได้ภายใน 2 ปี หรือ ไม่ต้องไปที่สนง.ประกันสังคม แต่สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มแล้วส่งมาให้สำนักงานประกันสังคมตามที่อยู่ในเว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ให้เรียบร้อย ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้ตามที่ยื่นมา

 กรณีขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้
         หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
         เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้” ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่งๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่ เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ 

 เอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ 

  •   แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01 )
  •  ใบรับรองแพทย์
  •  หนังสือรับรองจากนายจ้าง
  • สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  •  สถิติวันลาของผู้ยื่นคำขอ
  •  หลักฐานอื่น ๆ ที่ทางเจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)